การประเมินคุณค่าทางโภชนะของวัตถุดิบอาหารสัตว์อินทรีย์บางชนิด:องค์ประกอบทางเคมี และกรดอะมิโน

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : สศ.-64-002
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : กำลังดำเนินการ
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การประเมินคุณค่าทางโภชนะของวัตถุดิบอาหารสัตว์อินทรีย์บางชนิด:องค์ประกอบทางเคมี และกรดอะมิโน
บทคัดย่อ :

คุณค่าทางโภชนะของวัตถุดิบอาหารเป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการพัฒนาสูตรอาหารสัตว์ การผลิตปศุสัตว์อินทรีย์ยังคงขาดข้อมูลเหล่านี้ เพื่อเพิ่มองค์ความรู้ของวัตถุดิบอาหารสัตว์อินทรีย์ งานวิจัยนี้จึงทำการประเมินองค์ประกอบทางเคมี และกรดอะมิโนในวัตถุดิบอาหารสัตว์อินทรีย์ เปรียบเทียบกับวัตถุดิบอาหารสัตว์ทั่วไป วัตถุดิบอาหารสัตว์ประกอบด้วย ข้าวโพด ถั่วเหลืองไขมันเต็ม รำ ปลายข้าว และกระถิน ผลการศึกษาพบว่าข้าวโพดอินทรีย์ มีโปรตีน ไขมัน เยื่อใย พลังงานรวม แคลเซียม และฟอสฟอรัสใกล้เคียงกับข้อมูลอ้างอิงของข้าวโพดทั่วไป โปรตีนใน

ถั่วเหลืองไขมันเต็มอินทรีย์ และถั่วเหลืองทั่วไปอยู่ในช่วง 38-39% รำ และกระถินจากทั้งสองแหล่งมีความแปรปรวน ของโภชนะโดยเฉพาะอย่างยิ่ง โปรตีน และเยื่อใย กระถินอินทรีย์มีโปรตีนสูงกว่ากระถินทั่วไป (5.18%) แต่ไม่พบ ความแตกต่างกันทางสถิติ(P>0.05) เช่นเดียวกับองค์ประกอบทางเคมีของปลายข้าวอินทรีย์ และปลายข้าวทั่วไป (P>0.05) ปริมาณกรดอะมิโนในวัตถุดิบอินทรีย์ และวัตถุดิบทั่วไปมีค่าใกล้เคียงกัน โดยมีเมธโอนีนและไลซีนค่อนข้างต่ำ จากการศึกษานี้ข้อมูลองค์ประกอบทางเคมีและกรดอะมิโนจะเป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนาสูตรอาหารสัตว์อินทรีย์ต่อไป

คำสำคัญ : กรดอะมิโน วัตถุดิบอาหารสัตว์อินทรีย์ องค์ประกอบทางเคมี
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Nutritional Evaluation of Some Organic Feed Ingredients: Chemical Composition and Amino Acid Profile
Abstract :

Nutritional value of feed ingredients is crucial as a base for the development of feed formulation. Organic livestock production is lack of this information. To increase knowledge of organically produced feed materials, the present trial was conducted to compare nutritive values and amino acid profiles of organic (O) and conventional (C) feed ingredients. These consisted of corn (OC, CC), full fat soybean (OFFSB, CFFSB), rice bran (ORB, CRB), broken rice (OBR, CBR) and Leucaena (OL, CL). The findings indicated that OC had crude protein (CP) ether extract (EE) crude fiber (CF) gross energy (GE) phosphorus (P) and calcium (Ca) similar to a reference range of CC. The CP of OFFSB and CFFSE ranged from 38 - 39%. Two sources of rice bran and Leucaena had variation of nutrient composition, especially CP and CF. OL had higher CP than CL (5.18%), but no significant difference was found (P>0.05). Likewise, there was no difference between ORB and CRB (P>0.05). The similar amino acid was indicated in this study, whereas methionine and lysine were relatively low. These findings provide useful information for developing organic feed formulation

Keyword : amino acid, organic feed ingredient, chemical composition
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทองเลียน บัวจูม
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้วิจัยหลัก
40 นักวิจัยรุ่นเก่า
2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัวเรียม มณีวรรณ์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้วิจัยร่วม
30 นักวิจัยรุ่นเก่า
3 อาจารย์สุรีรัตน์ ถือแก้ว
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้วิจัยร่วม
30 นักวิจัยรุ่นเก่า
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2565
1/10/2564 ถึง 30/9/2565
ประเภทแหล่งทุน : ทุนส่วนตัว ส่วนตัวของผู้วิจัย
0.00
   รวมจำนวนเงิน : 0.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
24 ธันวาคม 2564
วารสารที่ตีพิมพ์ : บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ
ฉบับที่ : รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติประจำปี 2564 มหาวิท
หน้า : 95-102
ระดับการนำเสนอ : ระดับชาติ
เจ้าของวารสาร :
0.2
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
วันที่ดำเนินการรายละเอียด
10 มิถุนายน 2566
ลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์ : การพัฒนาสาธารณะ
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023