ผลกระทบของภาวะธำรงสภาพต่อผลการดำเนินงาน ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้สถานการณ์โควิด 19

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : 0.2-65.4
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : กำลังดำเนินการ
วันที่ดำเนินการ : 1 มกราคม 2564 ถึง 6 มกราคม 2565
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : ผลกระทบของภาวะธำรงสภาพต่อผลการดำเนินงาน ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้สถานการณ์โควิด 19
บทคัดย่อ :

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของภาวะธำรงสภาพของผู้ประกอบการต่อผลการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สาขาธุรกิจร้านอาหาร ในจังหวัดเชียงใหม่ภายใต้สถานการณ์โควิด 19 ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน โดยสัมภาษณ์ผู้ประกอบการร้านอาหารที่มีการปรับตัวอย่างเห็นได้ชัด จำนวน 5 ท่าน วิเคราะห์โดยการจำแนกชนิดข้อมูลเพื่อพัฒนาแบบจำลองภาวะธำรงสภาพโดยใช้แบบสอบถาม 250 ชุด กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สาขาธุรกิจร้านอาหาร ในจังหวัดเชียงใหม่ ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่าภาวะธำรงสภาพประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ ความเข้มแข็ง ความมีไหวพริบ การมองโลกในแง่ดี การมีเครือข่ายสัมพันธ์ นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ จริยธรรมและการเข้าใจความรู้สึกผู้อื่น วิเคราะห์โดยวิธีการถดถอยเชิงเส้น ผลการศึกษาพบว่า ภาวะธำรงสภาพส่งผลในเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน เมื่อวิเคราะห์ผลกระทบขององค์ประกอบย่อย พบว่าภาวะธำรงสภาพที่ส่งผลต่อการดำเนินงานที่เป็นตัวเงินมี 2 องค์ประกอบ คือ การมีเครือข่ายสัมพันธ์ จริยธรรมและการเข้าใจความรู้สึกผู้อื่น องค์ประกอบที่ส่งผลต่อการดำเนินงานที่ไม่เป็นตัวเงินมี 4 องค์ประกอบ คือ ความมีไหวพริบ การมีเครือข่ายสัมพันธ์ นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ จริยธรรมและการเข้าใจความรู้สึกผู้อื่น นอกจากนี้ยังค้นพบว่าในสถานการณ์โควิด 19 จริยธรรมและการเข้าใจความรู้สึกผู้อื่นส่งผลต่อการดำเนินงานมากที่สุด และการมองโลกในแง่ดีส่งผลในทิศทางลบต่อผลการดำเนินงานที่เป็นตัวเงิน

คำสำคัญ : ภาวะธำรงสภาพ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โควิด 19
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : THE IMPACT OF ENTREPRENEURIAL RESILIENCE ON MICRO, SMALL, AND MEDIUM ENTERPRISE PERFORMANCE IN CHIANG MAI DURING COVID-19 PANDEMIC
Abstract :

The purpose of the study was to investigate the impact of entrepreneurial resilience on micro, small and medium enterprise performance in Chiang Mai during the COVID-19 pandemic. In this study, the mixed-method research model was separated into two approaches: 1) typological analysis; and 2) confirmatory factor analysis, and regression analysis. Data were collected through interviews with 5 restaurant operators and 250 MSME (Micro, Small, and Medium Enterprise) restaurant operators in Chiang Mai through questionnaires. Confirmatory factor analysis and regression analysis were used for data analysis. The results indicated that entrepreneurial resilience has 6 components, namely hardiness, resourcefulness, optimism, social connection, innovation and creativity, ethics, and empathy. There is a significantly positive effect between entrepreneurial resilience and financial and non-financial performance. Social connection, ethics, and empathy affect financial performance. Resourcefulness, social connection, innovation and creativity, ethics, and empathy affect non-financial performance. However, there is a significantly negative effect between optimism and financial performance.

Keyword : Resilience, Small and Medium Enterprise, Covid-19
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ศศิวิมล วรพันธุ์
ประเภทบุคคล : นักศึกษา
หน่วยงานต้นสังกัด : บริหารธุรกิจ บริหารธุรกิจ
ผู้วิจัยร่วม
40 นักวิจัยรุ่นใหม่
2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรีดา ศรีนฤวรรณ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะบริหารธุรกิจ
ผู้วิจัยร่วม
20 นักวิจัยรุ่นเก่า
3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กัญญ์พัสวี กล่อมธงเจริญ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะบริหารธุรกิจ
ผู้วิจัยร่วม
20 นักวิจัยรุ่นเก่า
4 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูษณิศา เตชเถกิง
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะบริหารธุรกิจ
ผู้วิจัยร่วม
20 นักวิจัยรุ่นเก่า
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2564
1/1/2564 ถึง 31/12/2564
ประเภทแหล่งทุน : อื่น ๆ อื่น ๆ
0.00
   รวมจำนวนเงิน : 0.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
25 มีนาคม 2565
วารสารที่ตีพิมพ์ : บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ
ฉบับที่ :
หน้า : 132-148
ระดับการนำเสนอ : ระดับชาติ
เจ้าของวารสาร :
0.2
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023