การนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติ ในเขตเทศบาลเมืองระนอง จังหวัดระนอง

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : ชพ.64-นศ.-007
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 มกราคม 2564 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2564
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติ ในเขตเทศบาลเมืองระนอง จังหวัดระนอง
บทคัดย่อ :

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาการนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติในเขตเทศบาลเมืองระนอง จังหวัดระนอง 2. ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการนำนโยบายไปปฏิบัติในเขตเทศบาลเมืองระนอง จังหวัดระนอง และ 3. เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาการนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติในเขตเทศบาลเมืองระนอง จังหวัดระนอง โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 คน ได้แก่ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 4 คน ผู้สูงอายุ จำนวน 8 คน จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์

ผลการวิจัย พบว่า

1. การนำนโยบายเบี้ยยังชีพผุ้สูงอายุไปปฏิบัติเป็นภารกิจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อเจ้าหน้าที่รับนโยบายมาแล้วก็จะต้องศึกษาขั้นตอนในการดำเนินนโยบาย ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยกระทรวงมหาดไทย ผลจากการนำนโยบายไปปฏิบัติทำให้ผู้สูงอายุได้รับเงินเพื่อนำมาใช้จายในชีวิตประจำวัน

2. ปัญหาในการนำนโยบายไปปฏิบัติ คือกฎระเบียบไปปฏิบัติงานที่มีจำนวนมาก ทำให้เจ้าหน้าที่เกิดความสับสน ความคลาดเคลื่อนในการแจ้งยอดเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเพราะใช้ระบบการจ่ายแบบขั้นบันได ผู้สูงอายุไม่เข้าใจกฎระเบียบเกี่ยวกับการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพ และเบี้ยยังชีพที่ผู้สูงอายุได้รับในแต่ละเดือนไม่เพียงพอต่อค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น

3. แนวทางการแก้ไขปัญหา คือ ควรมีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลในหลายช่องทางเพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าใจกฎระเบียบต่างๆ มีการดูแลผู้สูงอายุอย่างทั่วถึงโดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีข้อมูลทะเบียนราษฎร์ ควรกำหนดกฎหมายให้บุตรหลานมีหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุอย่างใกล้ชิด รัฐบาลควรเพิ่มเงิีนเบี้ยนยังชีพผู้สูงอายุให้เพียงพอต่อค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น ส่วนข้อเสนอแนะอื่นๆ ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุโดยตรง คือ การจัดระบบดูแลสุขภาพให้กับผู้สูงอายุ และจัดหาบ้านพักให้กับผู้สูงอายุที่ไร้ที่อยู่อาศัย

คำสำคัญ : ผู้สูงอายุ , เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ , การนำนโยบายไปปฏิบัติ
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title :
Abstract :
Keyword :
รูปแบบงานวิจัย : งานวิจัยเชิงคุณภาพ
ประเภทงานวิจัย : การวิจัยพื้นฐาน
สาขางานวิจัย : สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ตวงทิพย์ วงค์เลี้ยง
ประเภทบุคคล : นักศึกษา
หน่วยงานต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร รัฐศาสตร์
ผู้วิจัยหลัก
(2565)
60 ไม่ระบุ
2 อาจารย์ ดร.ภาวิดา รังษี
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร
ผู้วิจัยร่วม
40 นักวิจัยรุ่นเก่า
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2565
1/10/2564 ถึง 30/9/2565
ประเภทแหล่งทุน : ทุนส่วนตัว ส่วนตัวของผู้วิจัย
0.00
   รวมจำนวนเงิน : 0.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
28 เมษายน 2565
วารสารที่ตีพิมพ์ : บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ
ฉบับที่ : ปีที่ 2 ฉบับที่ 2
หน้า : 58-66
ระดับการนำเสนอ : ระดับชาติ
เจ้าของวารสาร :
0.2
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023