ระบบอบแห้งอัจฉริยะต้นแบบสำหรับการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-63-02-008
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 30 เมษายน 2563 ถึง 1 ตุลาคม 2563
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : ระบบอบแห้งอัจฉริยะต้นแบบสำหรับการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร
บทคัดย่อ :

แผนงานวิจัยนี้เป็นชุดโครงการที่ประกอบด้วยโครงการย่อยทั้งสิ้น 3 โครงการที่ดำเนินงาน

สอดคล้องกัน ได้แก่ 1) โครงการออกแบบ สร้าง และทดสอบระบบอบแห้งแบบผสมผสานอัจฉริยะ 2)

โครงการระบบเฝ้าตรวจวัดและควบคุมอัจฉริยะสำหรับเครื่องอบแห้งแบบผสมผสาน และ 3) โครงการ

การแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรด้วยระบบอบแห้งแบบผสมผสานอัจฉริยะ ชุดโครงการนี้มีระยะเวลา

ดำเนินงานทั้งสิ้น 2 ปี โดยรายงานฉบับนี้จะนำเสนอผลการดำเนินงานวิจัยของทุกโครงการซึ่งได้

ดำเนินงานแล้วเสร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนงานวิจัย ผลการทดสอบพบว่าระบบอบแห้งต้นแบบที่ได้

ออกแบบและสร้างสามารถทำงานได้จริงอย่างประสิทธิภาพ สามารถลดการใช้พลังงานในการอบแห้ง

ระบบอัจฉริยะดังกล่าวสามารถรายงานผลได้แบบปัจจุบัน (Real Time) ผ่านเทคโนโลยี IoT

(Internet of Things) สู่อุปกรณ์สมาร์ทโฟน แทปเลต หรือคอมพิวเตอร์ได้จากทุกที่ทั่วโลกที่มี

อินเตอร์เน็ต ผลการทดลองอบแห้งผลิตผลทางการเกษตรพบว่าความชื้นของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้เป็นไป

ตามของมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยการอบแห้งด้วยระบบร่วมลมความร้อนผสมผสานอินฟราเรด

จะส่งให้เวลาในการอบแห้งลดลง ส่งผลให้สีและคุณสมบัติทางเคมีของตัวอย่างมีค่าใกล้เคียงกับ

ผลิตภัณฑ์สดมากกว่าการอบแห้งด้วยลมความร้อนเพียงอย่างเดียว โดยปัจจุบันคณะผู้วิจัยยังคง

ดำเนินงานเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านระบบอบแห้งอัจฉริยะต้นแบบสำหรับการแปรรูปผลิตผลทาง

การเกษตรเพื่อส่งต่อเทคโนโลยีสู่ผู้สนใจและพัฒนาประเทศต่อไป

คำสำคัญ : ระบบอบแห้ง ระบบเฝ้าตรวจวัด ระบบควบคุม ระบบอัจฉริยะ การแปรรูปอาหาร
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title :
Abstract :

This research program consists of 3 consequent sub-projects which are 1) Design construction

and testing of an intelligent hybrid drying system 2) Intelligent monitoring and control system for the

hybrid dryer and 3) Processing of agricultural products using an intelligent hybrid drying system. The

overall period for the research program is 2 years. The results for the research program following the

objective of each sub-projects were shown in this report. The result showed that the intelligent hybrid

drying system was constructed and effectively run to decrease in energy consumption with IoT

technology. Moreover, the intelligent hybrid drying system was used for drying agricultural products.

The obtained results of different agricultural products will be distributed to stakeholders for developing

the country.

Keyword : drying system, monitoring system, control system, intelligent system, food processing
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
ชุดโครงการ : แผนงาน หรือชุดโครงการ
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริญ คงกระพันธ์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : วิทยาลัยพลังงานทดแทน
ผู้วิจัยหลัก
(2563)
80 ไม่ระบุ
2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย มณีชูเกตุ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : วิทยาลัยพลังงานทดแทน
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
10 ไม่ระบุ
3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หยาดฝน ทนงการกิจ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
10 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2563
30/4/2563 ถึง 1/10/2563
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
งบประมาณแผ่นดินแม่โจ้
1,574,870.00
   รวมจำนวนเงิน : 1,574,870.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023