การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเพื่อเพิ่มปริมาณแป้งทนต่อการย่อยด้วยเอนไซม์ โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-63-02-006.6
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 30 เมษายน 2563 ถึง 1 ตุลาคม 2563
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเพื่อเพิ่มปริมาณแป้งทนต่อการย่อยด้วยเอนไซม์ โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก
บทคัดย่อ :

แป้งทนต่อการย่อยด้วยเอนไซม์มีประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้บริโภค งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงพันธุ์ข้าวและพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลที่ยึดติดกับปริมาณแป้งทนต่อการย่อยด้วยเอนไซม์ในข้าว โดยหาความสัมพันธ์ของปริมาณแป้งทนต่อการย่อยด้วยเอนไซม์กับเครื่องหมายโมกุลสำหรับยีน SSIIIa ยีน Waxy และยีน SBEIIb ซึ่งมีรายงานว่ามีผลต่อปริมาณแป้งทนต่อการย่อยด้วยเอนไซม์ในประชากรข้าว F2 จำนวน 2 คู่ผสมได้แก่ กข-แม่โจ้ 2 x กข 43 ซึ่งเป็นข้าวเหนียวกับข้าวเจ้าตามลำดับ และคู่ผสมปทุมธานี 1 x เจ้าเหลือง ซึ่งเป็นข้าวเจ้าทั้งคู่ ผลการทดลองพบว่าปริมาณแป้งทนต่อการย่อยด้วยเอนไซม์ในคู่ผสมระหว่าง กข-แม่โจ้ 2 x กข 43 จำนวน 100 ตัวอย่าง มีความสัมพันธ์กับเครื่องหมายโมเลกุลของยีน Waxy อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.704, p < 0.000 ) โดยข้าวเจ้ามีปริมาณแป้งทนต่อการย่อยด้วยเอนไซม์มากกว่าข้าวเหนียว ในคู่ผสมปทุมธานี 1 x เจ้าเหลือง พบว่าปริมาณแป้งทนต่อการย่อยด้วยเอนไซม์ของ F2 จำนวน 92 ตัวอย่าง สัมพันธ์กับเครื่องหมายโมเลกุลของยีน Waxy อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.682, p < 0.000) โดยข้าวที่มีอัลลีลจากข้าวเจ้าเหลืองซึ่งมีปริมาณอะไมโลสสูงจะมีปริมาณแป้งทนต่อการย่อยด้วยเอนไซม์มากกว่าข้าวที่มีอัลลีลของข้าวปทุมธานี 1 ซึ่งมีปริมาณอะไมโลสต่ำ แสดงให้เห็นว่าปริมาณอะไมโลสมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับปริมาณแป้งทนต่อการย่อยด้วยเอนไซม์ในข้าว และเครื่องหมายโมเลกุลของยีน Waxy ยึดติดกับปริมาณแป้งทนต่อการย่อยด้วยเอนไซม์ในข้าว จึงเหมาะสมที่จะใช้คัดเลือกข้าวให้มีปริมาณแป้งทนต่อการย่อยด้วยเอนไซม์สูง นอกจากนี้ยังได้ผลิตเมล็ด BC1F1 จำนวน 100 เมล็ด

คำสำคัญ : ข้าว แป้งทนต่อการย่อยด้วยเอนไซม์ เครื่องหมายโมเลกุล
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title :
Abstract :

Resistant starch is beneficial for comsumer’s health. This research aimed to improve rice variety and develop molecular marker linked to resistant starch content in rice. The correlations between resistant starch content and molecular marker specific to SSIIIa, Waxy and SBEIIb gene which reported affecting on resistant starch content were tested in F2 population from two crossing, RD-Maejo 2 x RD 43 which are glutinous and non-glutinous rice respectively, and Pathum Thani 1 x Chao Lueang which are both non-glutinous rice. The results showed that the resistant starch content of 100 F2 samples from RD-Maejo 2 x RD 43 significantly correlated with marker specific to Waxy gene (r = 0.704, p < 0.000) and non-glutinous rice contained more resistant starch content than glutinous rice. Likewise, the resistant starch content of 92 F2 samples from Pathum Thani 1 x Chao Lueang significantly correlated with marker specific to Waxy gene (r = 0.682, p < 0.000). Rice with high amylose allele from Chao Lueang had more resistant starch content than rice with low amylose allele from Pathum Thani 1. The results indicated that the amylose content was positively related to the resistant starch content in rice. Molecular marker of Waxy gene linked to resistant starch content in rice and, therefore, it is suitable for selection of rice to increase resistant starch content. In addition, 100 seeds of BC1F1 were produced.

Keyword : Rice, Resistant starch, Molecular marker
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุพเยาว์ คบพิมาย
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยหลัก
(2563)
80 ไม่ระบุ
2 ดร.ศรัณย์ จีนะเจริญ
ประเภทบุคคล : บุคคลภายนอก
หน่วยงานต้นสังกัด : -
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
10 ไม่ระบุ
3 รองศาสตราจารย์ ดร.วิวัฒน์ หวังเจริญ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
10 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2563
1/10/2562 ถึง 30/9/2563
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
งบประมาณแผ่นดินแม่โจ้
786,079.00
   รวมจำนวนเงิน : 786,079.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023