รูปแบบการเลี้ยงสัตว์น้ำท้องถิ่นหลายชนิดร่วมกันในบ่อเลี้ยงปลานิลเชิงพาณิชย์แบบยั่งยืนในระบบน้ำหมุนเวียนแบบอะควาโปนิคส์ เพื่อรองรับการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสัตว์น้ำอินทรีย์

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-63-02-004.5
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 30 เมษายน 2563 ถึง 1 ตุลาคม 2563
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : รูปแบบการเลี้ยงสัตว์น้ำท้องถิ่นหลายชนิดร่วมกันในบ่อเลี้ยงปลานิลเชิงพาณิชย์แบบยั่งยืนในระบบน้ำหมุนเวียนแบบอะควาโปนิคส์ เพื่อรองรับการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสัตว์น้ำอินทรีย์
บทคัดย่อ :

ทดลองเลี้ยงปลานิล ปลาสลิด และปลาช่อน ร่วมกันภายใต้ระบบการเลี้ยงระบบน้ำหมุนเวียนระบบอะควาโปนิคส์ในรูปแบบฟาร์มสาธิตในพื้นที่ชุมชนที่แตกต่างกัน 3 แบบ เลี้ยงปลานิลร่วมกับปลาช่อนและปลาสลิดในระบบน้ำหมุนเวียนแบบอะควาโปนิคส์ในพื้นที่ฟาร์มสาธิต จำนวน 3 ชุดการทดลอง รวมระยะเวลา 5 เดือน แบ่งการทดลองเป็น 3 ชุดการทดลอง ชุดทดลองที่ 1 และ 2 ปล่อยปลานิล 2-3 นิ้ว อัตราปล่อย 5 ตัวต่อตารางเมตรปลาสลิด ขนาด 3-4 นิ้ว อัตราปล่อย 5 ตัวต่อตารางเมตร และปล่อยปลาช่อน ขนาด 6-7 นิ้ว อัตราปล่อย 30 ตัวต่อตารางเมตรในกระชังขนาด 3x3 ตารางเมตร โดยเลี้ยงในบ่อฟาร์มสาธิตในพื้นที่ชุมชนจำนวน 2 บ่อ และชุดทดลองที่ 3 เลี้ยงในร่องสวนปูพลาสติก ขนาด 2x30 ตารางเมตร ระยะเวลาเลี้ยง 5 เดือน ศึกษาการเจริญเติบโตของปลาแต่ละชนิดที่เลี้ยง ทุก 15 วัน และตรวจสอบคุณภาพน้ำที่สำคัญ เมื่อสิ้นสุดการทดลอง พบว่า น้ำหนักปลานิลมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 199.34+6.23, 201.82+5.81 และ 210.76+7.08 กรัม ตามลำดับ ความยาวเฉลี่ยเท่ากับ 21.20+4.90, 22.52+4.19 และ 23.25+5.91 เซนติเมตร ตามลำดับ น้ำหนักปลาช่อนเมื่อสิ้นสุดการทดลองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 198.53+15.06, 195.94+14.84 และ 209.94+15.42 กรัม ความยาวเท่ากับ 21.58+3.16, 21.07+2.25 และ 20.40+2.70 เซนติเมตร อัตราการรอดตาย 74.42, 64.54 และ61.20 % ผลผลิตปลาช่อน เท่ากับ 4.39 , 3.97 และ 4.10 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ตามลำดับ น้ำหนักปลาสลิดเมื่อสิ้นสุดการทดลองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 96.34+6.23, 98.82+5.81 และ 97.76+7.08 กรัม น้ำหนัก 21.20+3.16 ,25.52+2.25 และ 24.95+2.70 เซนติเมตร ตามลำดับ อัตราการรอดตาย 65.45, 59.54 และ63.20 % ผลผลิตปลาสลิด เท่ากับ 0.32 , 0.30 และ 0.31 กิโลกรัม/ตารางเมตร ตามลำดับ ตามลำดับ คุณภาพน้ำตลอดการทดลองเลี้ยงในฟาร์มสาธิตได้แก่ อุณหภูมิของน้ำ, ค่าความเป็นกรด- ด่าง, แอมโมเนียม ไนไตรท์, ไนเตรทและฟอสฟอรัสของแต่ละชุดการทดลองอยู่ในช่วงที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ สามรถใช้เป็นแนวทางอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ผู้สนใจ ได้ทั้งเลี้ยงในบ่อดินและร่องสวน

คำสำคัญ : ปลานิล , ปลาช่อน , ปลาสลิด , อะควาโปนิคส์ , เลี้ยงปลาหลายชนิดร่วมกัน
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title :
Abstract :

Nile tilapia, Oreochromis niloticus, Striped snakehead fish (Channa striata) and Sepat siam (Trichogaster pectoralis) were cultured in recirculating aquaponic system in the two earth pond(1000 m2 and one ditch 2.0x1.5x30 m., a total period of 5 months. Three type culture were carried out in different area. the Nile tilapia fish were raised at density 5 fish/ m2with Striped snakehead fish , Sepat siam and any vegetables . Striped snakehead fish were raised in 3x3 m2 cage at 30 individuals/m3with Sepat siam 5 individuals/m3. the Nile tilapia fish were raised at density 5 fish/ m2 . By the end of experiment, the growth performance of fish in Farm 1,2,3 were shown. The average weight of tilapia were 199.34+6.23, 201.82+5.81 and 210.76+7.08 gram, respectively. The average weight of Striped snakehead fish were 198.53+15.06, 195.94+14.84 and 209.94+15.42 gram, respectively. The average weight of Sepat siam were 96.34+6.23, 98.82+5.81 and 97.76+7.08 0.78?0.32 gram, respectively. The water quality (the temperature, pH, ammonia, nitrite , nitrate and phosphorus all treatments were suitable for fish rearing. The findings about suitable fish stocking density for recirculating aquaponic system in pond and ditch will be promoted to farmers, students, entrepreneurs or anyone who are interested in commercially raising fish in recirculating system.

Keyword : Nile Tilapia, Snake Head Fish, Sepat Siam, Aquaponic System, Co-culture
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
ชุดโครงการ : โครงการวิจัยนี้เป็นงานวิจัยภายใต้งานวิจัย มจ.1-63-02-004 : การผลิตสัตว์น้ำเศรษฐกิจในชุมชนเพื่อพัฒนาสู่วิสาหกิจชุมชน
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประจวบ ฉายบุ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ผู้วิจัยหลัก
(2563)
75 ไม่ระบุ
2 น.ส.น้ำเพชร ประกอบศิลป์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : ไม่ระบุ
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ / สำนักงานคณบดีคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ / งานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
15 ไม่ระบุ
3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.อานุภาพ วรรณคนาพล
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
5 ไม่ระบุ
4 นายสุฤทธิ์ สมบูรณ์ชัย
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : ไม่ระบุ
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ / สำนักงานคณบดีคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ / งานบริการวิชาการและวิจัย
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
5 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2563
1/10/2562 ถึง 30/9/2563
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
งบประมาณแผ่นดินแม่โจ้
972,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 972,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023