รูปแบบที่เหมาะสมในการใช้เศษเหลือปลาจากกระบวนการผลิตปลาส้มและหอยเชอรี่เป็นอาหารเลี้ยงปลาช่อนในระบบน้ำหมุนเวียนแบบอะควาโปนิคส์ เข้าสู่การเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-63-02-003.5
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 30 เมษายน 2563 ถึง 1 ตุลาคม 2563
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : รูปแบบที่เหมาะสมในการใช้เศษเหลือปลาจากกระบวนการผลิตปลาส้มและหอยเชอรี่เป็นอาหารเลี้ยงปลาช่อนในระบบน้ำหมุนเวียนแบบอะควาโปนิคส์ เข้าสู่การเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์
บทคัดย่อ :

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเหมาะสมของรูปแบบที่เหมาะสมในการใช้เศษเหลือปลาจากกระบวนการผลิตปลาส้มและหอยเชอรี่เป็นอาหารเลี้ยงปลาช่อนในระบบน้ำหมุนเวียนแบบอะควาโปนิคส์เพื่อพัฒนาสู่การเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์โดยแต่ละการทดลองเลี้ยงด้วยอาหารผสมสูตรที่มีหอยเชอรี่และของเหลือจากการแปรรูปสัดส่วนทดแทนปลาป่นร้อยละ 0, 25, 50 และชุดควบคุมเลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูป ทดลองเลี้ยงปลาช่อนภายใต้ระบบน้ำหมุนเวียนแบบระบบอะควาโปนิคส์ โดยการทดลองที่ 1 เลี้ยงปลาช่อนจากขนาด 3 นิ้วให้ได้ขนาด 6 นิ้ว ระยะเวลา 3 เดือน อัตราความหนาแน่น 100 ตัวต่อตารางเมตร เมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่าชุดควบคุมและชุดทดลองที่เลี้ยงด้วยอาหารผสมหอยเชอรี่ 25 และ 50 เปอร์เซ็นต์ ให้น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นสูงสุดเท่ากับ 78.15+2.47 กรัม และ 76.92+2.11 กรัม โดยเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยทางสถิติพบว่าไม่มีความแตกต่างกัน (p>0.05) อัตราการรอดตาย และอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะของชุดควบคุมให้ค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 67.15 เปอร์เซ็นต์ และ 2.87+1.97 เปอร์เซ็นต์ต่อวัน การทดลองที่ 2 เลี้ยงปลาช่อนจากขนาด 6 นิ้ว ให้ได้ขนาดตลาด ระยะเวลา 3 เดือน อัตราความหนาแน่น 50 ตัวต่อตารางเมตร เมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่าชุดควบคุมให้น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นสูงสุดเท่ากับ 175.28+4.12 กรัม ไม่แตกต่างกับชุดทดลองที่เลี้ยงด้วยอาหารผสมหอยเชอรี่ 25 และ 50 เปอร์เซ็นต์ ที่มีค่าเท่ากับ 160.13+4.17 และ 165.23+7.11 กรัม ตามลำดับ (p<0.05) อัตราการรอดตายของชุดควบคุมและอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะมีค่าสูงสุดเท่ากับ 62.38+1.14 เปอร์เซ็นต์ และ 2.98+2.27 เปอร์เซ็นต์ต่อวัน ตามลำดับ คุณสมบัติของคุณภาพน้ำของบ่อเลี้ยงปลาช่อนทุกชุดการทดลองให้ผลคุณภาพน้ำที่ไม่แตกต่างกัน (p>0.05) ทั้งนี้ผลการศึกษาทำให้ทราบว่าของการใช้เศษเหลือของปลาจากกระบวนการผลิตปลาส้มและหอยเชอรี่เพื่อทดแทนปลาป่นในสูตรอาหารสำหรับเลี้ยงปลาช่อนสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางการพัฒนาเลี้ยงปลากินเนื้อชนิดอื่นได้

คำสำคัญ : ปลาช่อน อะควาโปนิคส์ หอยเชอรี่ เศษเหลือปลา
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title :
Abstract :

The objective of this research was to study the suitable model for the use of fermented fish production and golden applesnail in Channa striatus cultivation in aquaponic systems for development into organic aquaculture. Each experiment was fed supplementary diets containing 0, 25, 50% replacement of fishmeal by golden applesnail and fermented fish production while the control was fed with instant food under the aquaponic system. Experiment 1 raised C. striatus from 3 inches to 6 inches over a three-month period. The density rate is 100 fish/square meter. At the end of the experiment, it was found that the control and experiments fed with 25 and 50% golden applesnail and fermented fish production gave the maximum weight gain of 78.15 + 2.47 g and 76.92 + 2.11 g. When comparing the statistical means, there was no difference (p > 0.05) in survival rates. And the specific growth rate of the control gave the highest mean of 67.15 percent and 2.87 + 1.97 percent per day. Experiment 2 Raised C. striatus fish from 6 inches in size to market demand for 3 months at a density rate of 50 fish/square meter At the end of the experiment, it was found that the control gave the maximum weight gain of 175.28 + 4.12 grams., not different from the experiments fed with 25 and 50 percent golden applesnail and fermented fish production mixtures with values of 160.13 + 4.17 and 165.23+. 7.11 g, respectively (p < 0.05), the survival rates of control and specific growth rates were 62.38 + 1.14 percent and 2.98 + 2.27 percent per day, respectively. The water quality of all experiments was not different (p > 0.05).

The results of the study show that the use of replacement of fishmeal by golden applesnail and fermented fish production in a dietary formula for C. striatus farming can be used as a guideline for the development of other carnivorous fish farming.

Keyword : Channa striatus, Aquaponic, Golden applesnail, Fermented fish by product
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
ชุดโครงการ : โครงการวิจัยนี้เป็นงานวิจัยภายใต้งานวิจัย มจ.1-63-02-003 : การผลิตสัตว์เศรษฐกิจเพื่อความมั่นคงและปลอดภัยทางอาหาร
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 น.ส.น้ำเพชร ประกอบศิลป์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : ไม่ระบุ
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ / สำนักงานคณบดีคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ / งานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา
ผู้วิจัยหลัก
(2563)
45 ไม่ระบุ
2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประจวบ ฉายบุ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
45 ไม่ระบุ
3 นายสุฤทธิ์ สมบูรณ์ชัย
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : ไม่ระบุ
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ / สำนักงานคณบดีคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ / งานบริการวิชาการและวิจัย
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
5 ไม่ระบุ
4 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.อานุภาพ วรรณคนาพล
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
5 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2563
1/10/2562 ถึง 30/9/2563
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
งบประมาณแผ่นดินแม่โจ้
982,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 982,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023