การปรับปรุงคุณภาพไข่ไก่ด้วยสาหร่ายไปรูลิน่า

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-63-02-003.4
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 30 เมษายน 2563 ถึง 1 ตุลาคม 2563
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การปรับปรุงคุณภาพไข่ไก่ด้วยสาหร่ายไปรูลิน่า
บทคัดย่อ :

การปรับปรุงคุณภาพไข่ไก่ด้วยสาหร่ายสไปรูลิน่าได้ทำการศึกษาในแม่ไก่สายพันธุ์โรมัน

บราวน์ อายุ 37 สัปดาห์ 320 ตัว วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design: CRD) แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 4 ซ้ำ ซ้ำละ 20 ตัว กลุ่มที่ 1 แม่ไก่ได้รับอาหารควบคุมไม่เสริมสาหร่ายสไปรูลิน่า (0%) กลุ่มที่ 2 และ 3 แม่ไก่ได้รับอาหารควบคุมเสริมสาหร่ายสไปรูลิน่าที่ 0.10 และ 0.15% ตามลำดับ กลุ่มที่ 4 แม่ไก่ได้รับอาหารไก่ไข่ทางการค้า ศึกษาสมรรถภาพการผลิตไข่ และคุณภาพไข่ เป็นเวลา 12 สัปดาห์ และเมื่อสิ้นสุดการทดลอง ศึกษาคุณค่าทางโภชนะของไข่ไก่ต้มสุกทั้งฟอง กรดอะมิโนในไข่ขาวต้มสุก กรดไขมันในไข่แดงต้มสุก และความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระในไข่แดงดิบ ผลการศึกษาพบว่า ตลอด 1-12 สัปดาห์ปริมาณอาหารที่กินและผลผลิตไข่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P > 0.05) อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักไข่กลุ่มที่ได้รับอาหารทางการค้าไม่แตกต่างกับกลุ่มควบคุม (P > 0.05) แต่ต่ำกว่ากลุ่มสาหร่ายสไปรูลิน่า (P < 0.05) น้ำหนักไข่ ดัชนีไข่แดง ความหนา ความแข็งแรง และสีของเปลือกไข่ และค่า Hough unit ของทุกกลุ่มทดลองไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P > 0.05) มีเพียงสีของไข่แดงที่พบว่ากลุ่มที่ได้รับอาหารผสมสาหร่ายสไปรูลิน่ามีค่าสูงกว่ากลุ่มควบคุมแต่ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับอาหารทางการค้า (P < 0.05) ไข่ไก่ทั้งฟองของแต่ละกลุ่มมีความชื้น โปรตีนรวม คาร์โบไฮเดรทที่ย่อยได้ง่าย ( NFE) ไขมันรวม เถ้ารวม เยื่อไยรวม แคลเซียม และฟอสฟอรัส ไม่แตกต่างกัน (P > 0.05) ไข่แดงดิบของกลุ่มที่ได้รับอาหารผสมสาหร่ายสไปรูลิน่า 0.10% มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระได้ 25.95% โดยไม่มีความแตกต่างกับกลุ่มความคุม (P >0.05) แต่การใช้สาหร่ายสไปรูลิน่าที่ 0.15% ทำให้ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระลดลงเหลือ 6.49%

(P < 0.05) ไม่พบความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มที่ได้รับอาหารทางการค้า จากการวิเคราะห์กรดไขมันในไข่แดงต้มสุกของกลุ่มควบคุมและกลุ่มที่ใช้สาหร่าย 0.15% พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน (P > 0.05) ยกเว้นพบ tricosylic acid เฉพาะกลุ่มที่ได้รับสาหร่าย myristic acid ของกลุ่มที่ได้รับสาหร่ายมีค่ามากกว่ากลุ่มควบคุม (P < 0.05) และ stearic acid และ docosahexaenoic acid ของกลุ่มที่ได้รับสาหร่ายสไปรูลิน่า 0.15% มีค่าต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (P < 0.05) เช่นเดียวกับกรดอะมิโนในไข่ขาวต้มสุกของกลุ่มควบคุมและกลุ่มที่ใช้สาหร่าย 0.15% พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน (P > 0.05) ยกเว้น isoleucine และ valine ของกลุ่มที่ได้รับสาหร่ายสไปรูลิน่า 0.15% มีแนวโน้มสูงกว่ากลุ่มควบคุม

(P = 0.098 และ P = 0.091) ดังนั้นสามารถใช้สาหร่ายสไปรูลิน่าที่ระดับ 0.15% ในสูตรอาหารไก่ไข่ปลอดภัยเพื่อปรับปรุงสีของไข่แดง เพิ่มปริมาณ myristic acid ในไข่แดง และเพิ่ม isoleucine และ valine ในไข่ขาว แม้ว่าสีของไข่แดงต่ำกว่าการใช้อาหารทางการค้าที่มีการเสริมสารสีสังเคราะห์

คำสำคัญ : ไก่ไข่ ผลผลิตไข่ คุณภาพไข่ สไปรูลิน่า กรดไขมัน กรดอะมิโน
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title :
Abstract :

Egg quality improvement by using Spirulina platensis was conducted in 320 Roman brown hens 17 weeks of ages. The laying hens were randomly assigned to 4 experimental groups (Completely Randomized Design; CRD), 4 replicates of 20 laying hens. Group 1, the chickens were fed control diet without S. platensis (0%). Group 2 and 3 the chickens were fed the 0.10 and 0.15% S S. platensis diets respectively. Group 4, the chickens were fed commercial laying hen diet. The egg production performance and egg quality were observed for 12 weeks. The nutritional content in boiled whole egg, amino acid profile in boiled white egg, fatty acid profile in boiler egg yolk and antioxidant activity in raw egg yolk were observed at the end of the experimental period. The overall results of the 1-12 weeks showed that the feed intake and egg production were not different (P > 0.05). The feed conversion ratio of commercial group was not different from control group (P >0.05) but higher than the S. platensis groups (P < 0.05). The egg weight, yolk index, egg shell thickness, strength and color and Hough unit of the experimental groups were not different (P > 0.05). The egg yolk color in the

S. platensis groups was higher than the control group but lower than the commercial group (P < 0.05).

The moisture, crude protein, nitrogen free extract (NFE), crude fat, crude fibre, calcium and phosphorus of whole boiled egg were not different (P > 0.05). The raw egg yolk of the 0.10% S. platensis group showed the DPPH radical-scavenging activity as 25.95% and was not different from control group (P > 0.05) but the using Spirulina platensis at 0.15% decreased the DPPH radical-scavenging activity to 6.49% (P < 0.05). The antioxidant activity was not found in the commercial diet group. The boiled egg yolk fatty acid profile in the control and 0.15% S. platensis groups were not different (P > 0.05) excepted that the tricosylic acid was detected in S. platensis group, the myristic acid of Spirulina platensis group was higher than control and the steric acid and docosahexaenoic acid in S. platensis group was lower than control (P < 0.05). The boiled white egg amino acid profile in the control and 0.15% S. platensis groups were not different (P > 0.05) excepted that the isoleucine and valine of the 0.15% S. platensis group tended to be higher than control group (P = 0.098 and P = 0.091). Therefore, the 0.15% S. platensis can be use in safety laying hen diet to improved egg yolk colour and increased mysristic acid in egg yolk and increased isoleucine and valine in white egg although the egg yolk color was lower than the using of commercial diet which the synthesis colour was added.

Keyword : laying hen, egg production, egg quality, Spirulina platensis, fatty acid, amino acid
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
ชุดโครงการ : โครงการวิจัยนี้เป็นงานวิจัยภายใต้งานวิจัย มจ.1-63-02-003 : การผลิตสัตว์เศรษฐกิจเพื่อความมั่นคงและปลอดภัยทางอาหาร
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิราพร โรจน์ทินกร
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ผู้วิจัยหลัก
(2563)
70 ไม่ระบุ
2 นายครรชิต ชมภูพันธ์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : ไม่ระบุ
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี / ฝ่ายงานฟาร์ม
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
20 ไม่ระบุ
3 รองศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.จงกล พรมยะ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
10 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2563
1/10/2562 ถึง 30/9/2563
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
งบประมาณแผ่นดินแม่โจ้
512,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 512,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023