ศักยภาพของพืชสมุนไพรไทยและจุลินทรีย์โปรไบโอติกต่อการเจริญเติบโตและภูมิคุ้มกันของปลานิลในระบบการผลิตปลานิลอินทรีย์

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-63-02-003.1
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 30 เมษายน 2563 ถึง 1 ตุลาคม 2563
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : ศักยภาพของพืชสมุนไพรไทยและจุลินทรีย์โปรไบโอติกต่อการเจริญเติบโตและภูมิคุ้มกันของปลานิลในระบบการผลิตปลานิลอินทรีย์
บทคัดย่อ :

ศึกษาการใช้สารสกัดจากพืช มะขามป้อม (Phyllanthus emblica) หอมแดง (Allium

ascalonicum)และ ดอกแค (Sesbania grandiflora) และ สารสกัดจากพืชสมุนไพร เกสรบัวหลวง

(Nelumbo nucifera) ชะเอมเทศ (Glycyrrhiza glabra) และมะแข่วน (Zanthoxylum Limonella) ร่วมกับ

การใช้ Lactobacillus acidophilus และ ยีสต์ Saccharomyces cerevisiae เสริมในอาหารทดลอง ต่อ

ประสิทธิภาพการเติบโต องค์ประกอบทางเคมีในเนื้อปลา และภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ ในการเลี้ยงปลา

นิล การทดลองแรก ใช้อาหารทดลอง 4 สูตร ได้แก่ อาหารเสริมวิตามินซี (VC) เป็นอาหารควบคุม,

อาหารเสริมด้วยมะขามป้อม (MP), อาหารเสริมด้วยหอมแดง (HD) และ อาหารเสริมด้วยดอกแค (DK)

เลี้ยงปลานิลขนาดเริ่มต้นเฉลี่ย 53 ก จำนวน 3 ซ้ำ ในกระชัง ระยะเวลาทดลอง 90 วัน ผลการทดลอง

พบว่า ปลานิลที่เลี้ยงด้วย VC, MP และ HD มีน้ำหนักสุดท้าย, น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น, อัตราการเจริญเติบโต

ต่อวัน (ADG) สูงกว่าปลาที่เลี้ยงด้วย DK อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) อัตราการแลกเนื้อ (FCR)

ของปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารเสริม DK และ HD มีค่าต่ำกว่าปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารควบคุม VC อย่างมี

นัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่ไม่แตกต่างกับปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารเสริม MP (p>0.05) อัตราการรอด

ตาย ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในอาหารทดลองทุกสูตรกับชุดควบคุม (p>0.05) หลังเสร็จสิ้น

การทดลอง พบว่า ปริมาณโปรตีนในเนื้อปลาที่เลี้ยงด้วยอาหาร HD มีค่าต่ำสุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

(p<0.05) เมื่อเทียบกับปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตรอื่น แต่ปลาที่เลี้ยงด้วยอาหาร MP มีปริมาณโปรตีนใน

เนื้อปลาไม่แตกต่างจากอาหารควบคุม (VC) นอกจากนี้ยังพบว่า ปลานิลที่เลี้ยงด้วยอาหาร MP มีปริมาณฮีมาโตครีต และปริมาณโปรตีนในซีรัม สูงกว่าปลาที่เลี้ยงด้วยอาหาร DK อย่างมีนัยสำคัญทาง

สถิติ (p<0.05) แต่ไม่แตกต่าง (p>0.05) จากชุดควบคุม (VC) สูตรอาหารที่ต่างกันในการทดลองครั้งนี้ไม่

ส่งผลต่อ ปริมาณ ซีรัมไลโซไซม์ ปริมาณเม็ดเลือดแดง และปริมาณเม็ดเลือดขาว อย่างมีนัยสำคัญทาง

สถิติ (p>0.05) การทดลองที่สอง ศึกษาการใช้สารสกัดจากพืชสมุนไพร เกสรบัวหลวง (Nelumbo

nucifera) ชะเอมเทศ (Glycyrrhiza glabra) และมะแข่วน (Zanthoxylum Limonella) เสริมในอาหาร

ทดลอง ต่อประสิทธิภาพการเติบโต และภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ ในการเลี้ยงปลานิล ใช้อาหารทดลอง

4 สูตร ได้แก่ อาหารเสริมวิตามินซี เป็นอาหารควบคุม (CT), อาหารเสริมด้วยเกสรบัวหลวง 0.05%

(NN) , อาหารเสริมด้วยชะเอมเทศ 0.05% (GG) และ อาหารเสริมด้วยมะแข่วน 0.05% (ZL) เลี้ยงปลานิล

ขนาดเริ่มต้นเฉลี่ย 46.4 ก จำนวน 3 ซ้ำ ในกระชัง ระยะเวลาทดลอง 90 วัน ผลการทดลองพบว่า ปลา

นิลที่เลี้ยงด้วย NN มีน้ำหนักสุดท้าย, น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น, อัตราการเจริญเติบโตต่อวัน (ADG) สูงกว่าปลา

ที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตร CT และ ZL อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) อัตราการแลกเนื้อ (FCR) และ

อัตราการรอดตาย ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในอาหารทดลองทุกสูตร (p>0.05) หลังเสร็จสิ้น

การทดลอง พบว่า เมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่า ปลานิลที่เลี้ยงด้วยอาหารทดลองทุกสูตร (NN, GG และ

ZL) มีปริมาณโปรตีนสูงกว่า CT อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และ ปลานิลที่เลี้ยงด้วยอาหาร NN

และ GG มีปริมาณฮีมาโตครีต สูงกว่าปลาที่เลี้ยงด้วยอาหาร ZL อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่

ไม่แตกต่าง (p>0.05) จากชุดควบคุม (CT) ปริมาณ ซีรัม ไลโซไซม์ และเม็ดเลือดแดง ในปลาที่เลี้ยงด้วย

อาหาร GG มีค่าสูงกว่า CT อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่ไม่แตกต่าง (p>0.05) จาก NN และ ZL

สูตรอาหารที่ต่างกันในการทดลองครั้งนี้ไม่ส่งผลต่อ ปริมาณ พลาสมา โปรตีน และปริมาณเม็ดเลือด

ขาว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) การทดลองที่สาม ใช้อาหารทดลอง 4 สูตร โดยใช้อาหารเสริม

เกสรบัวหลวง (NN) และอาหารเกสรบัวหลวงผสมกับ L. acidophilus 0.2% (LA) อาหารเกสรบัวหลวง

ผสมกับ ยีสต์ (S. cerevisiae) 0.2% (SC) และอาหารเกสรบัวหลวงผสมกับ L. acidophilus 0.2% ร่วมกับ

ยีสต์ (S. cerevisiae) 0.2% (LS) ตามลำดับ เลี้ยงปลานิลขนาดเริ่มต้นเฉลี่ย 47.5 กรัม จำนวน 3 ซ้ำ ใน

กระชัง ระยะเวลาทดลอง 90 วัน ผลการทดลองพบว่า ปลานิลที่เลี้ยงด้วยอาหาร SC มีน้ำหนักสุดท้าย

น้ำหนักเพิ่ม และอัตราการเจริญเติบโตต่อวัน (ADG) สูงกว่าปลาที่เลี้ยงด้วยอาหาร NN อย่างมีนัยสำคัญ

ทางสถิติ (p<0.05) แต่ไม่แตกต่างจากปลาที่เลี้ยงด้วยอาหาร LA และ LS ผลของอาหารทดลองต่อ FCR

และอัตรารอด ของปลานิลในการทดลองครั้งนี้ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p>0.05) หลัง

เสร็จสิ้นการทดลอง พบว่า ปลานิลที่เลี้ยงด้วยอาหาร LA และ SC ปริมาณโปรตีนในเนื้อสูงกว่าปลาที่เลี้ยงด้วยอาหาร CT อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และปลานิลที่เลี้ยงด้วยอาหาร SC มีปริมาณ

hematocrit (Ht) serum lysozyme และปริมาณ red blood cell (RBC) สูงกว่าปลาที่เลี้ยงด้วยอาหาร NN

อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) อย่างไรก็ตาม สูตรอาหารที่ต่างกันในการทดลองครั้งนี้ไม่ส่งผลต่อ

ปริมาณ plasma protein และ white blood cell (WBC) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ผลการทดลอง

ในครั้งนี้สรุปได้ว่า สามารถใช้สารสกัดจากมะขามป้อม เสริมในอาหารทดลองเลี้ยงปลานิลแทนการใช้

วิตามินซี โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต องค์ประกอบทางเคมีในเนื้อปลา และภูมิคุ้มกันแบบ

ไม่จำเพาะ และการใช้เกสรบัวหลวง ร่วมกับยีสต์ S. cerevisiae เสริมในอาหารทดลองส่งผลให้ปลานิลมี

อัตราการเจริญเติบโต ดีกว่าปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารควบคุม

คำสำคัญ : ปลานิล; โปรไบโอติก; พืชสมุนไพร; ภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ; องค์ประกอบทางเคมีในเนื้อปลา
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title :
Abstract :

The effect of plant extracts (Phyllanthus emblica Allium ascalonicum and Sesbania

grandiflora) and the effect of plant extracts (Nelumbo nucifera, Glycyrrhiza glabra and Zanthoxylum

Limonella) incorporated with the effect of Lactobacillus acidophilus and yeast, Saccharomyces

cerevisiae on growth performance, meat chemical composition and non-specific immune of tilapia

was investigated. The first trial, tilapia fingerlings (initial weight 53 g) were allocated into triplicate

nylon net hapas and were fed one of four treatment diets: diet supplemented with vitamin C (control),

diet supplemented with Phyllanthus emblica (MP), diet supplemented with Allium ascalonicum (HD)

and diet supplemented with Sesbania grandiflora (DK) for 90 days. The results showed that fish fed

diet of MP HD and VC significantly (p<0.05) enhanced growth performance (final weight, weight

gain, average daily weight gain – ADG) compared with DK group. There were no significant

differences on survival rate among groups fed with different diets. The fish meat protein content was

significantly (p<0.05) lower in fish fed DK diet. The hematocrit and plasma protein levels were

significantly higher (p<0.05) when fish fed with MP than those fed DK. However, serum lysozyme

red blood cell and white blood cell levels were not influenced by the treatments. The second trial,

tilapia fingerlings (46.6 g) were allocated into triplicate nylon net cages and were fed one of four

treatment diets: diet supplemented with vitamin C (CT, control diet), diet supplemented with Nelumbo

nucifera 0.05% (NN), diet supplemented with Glycyrrhiza glabra 0.05% (GG) and diet supplemented

with Zanthoxylum limonella 0.05% (ZL) for 90 days. The results showed that fish fed diet of NN

significantly (p<0.05) enhanced growth performance (final weight, weight gain, average daily weight

gain – ADG) compared with CT and ZL groups. There were no significant differences on FCR and

survival rate among groups fed with different diets. All experimental diets (NN, GT and ZL)

significantly (p<0.05) increased protein content in fish meat compared to the control group (CT). The

hematocrit levels was significantly higher (p<0.05) when fish fed with NN and GG than those fed ZL.

Serum lysozyme and red blood cell were significantly higher (p<0.05) in fish fed GG compared with

CT. However, plasma protein and white blood cell levels were not influenced by the treatments. The

third trial, tilapia fingerlings (initial weight 47.5 g) were allocated into triplicate nylon net and were

fed one of four treatment diets: diet supplemented with Nelumbo nucifera 0.05% (NN), diet

supplemented with NN and L. acidophilus 0.2% (LA), NN and Saccharomyces cerevisiae 0.2% (SC)

and NN and L. acidophilus 0.2% + S. cerevisiae 0.2% (LS) for 90 days. The results showed that fishfed diet SC significantly (p<0.05) enhanced growth performance (final weight, weight gain, average

daily weight gain – ADG) compared with NN, while there was no significant difference (p>0.05) in

growth parameters in the fish fed diets SC LA and LS. There were no significant differences on feed

conversion ratio (FCR) and survival rate among groups fed with different diets. Fish fed diets LA and

SC exhibited significant (p<0.05) higher protein in meat compared with NN. The hematocrit, serum

lysozyme and red blood cell were significantly higher (p<0.05) when fish fed with SC than those fed

NN. However, plasma protein and white blood cell levels were not influenced by the treatments. The

results presented in the current study demonstrated that Phyllanthus emblica extract can supplement

in diet replaced vitamin C without adverse effects on growth parameters, non-specific immune

response and fish meat chemical compositions of tilapia, and supplementation of NN and S. cerevisiae

0.2% (SC) enhanced growth performance of tilapia.

Keyword : Tilapia; Probiotic; Plant herb; Non-specific immune; Meat chemical composition
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
ชุดโครงการ : โครงการวิจัยนี้เป็นงานวิจัยภายใต้งานวิจัย มจ.1-63-02-003 : การผลิตสัตว์เศรษฐกิจเพื่อความมั่นคงและปลอดภัยทางอาหาร
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เทพรัตน์ อึ้งเศรษฐพันธ์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ผู้วิจัยหลัก
(2563)
70 ไม่ระบุ
2 อาจารย์ ดร.จอมสุดา ดวงวงษา
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
10 ไม่ระบุ
3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุดาพร ตงศิริ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
10 ไม่ระบุ
4 รองศาสตราจารย์ ดร.ชนกันต์ จิตมนัส
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
10 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2563
1/10/2562 ถึง 30/9/2563
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
งบประมาณแผ่นดินแม่โจ้
391,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 391,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023