การเปรียบเทียบความแม่นยำของแบบจำลองการพยากรณ์ระหว่างวิธีการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณและวิธีโครงข่ายประสาทเทียมในผลผลิตเห็ดจากโรงเรือนอัจฉริยะ

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-63-02-002.1
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 30 เมษายน 2563 ถึง 1 ตุลาคม 2563
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การเปรียบเทียบความแม่นยำของแบบจำลองการพยากรณ์ระหว่างวิธีการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณและวิธีโครงข่ายประสาทเทียมในผลผลิตเห็ดจากโรงเรือนอัจฉริยะ
บทคัดย่อ :

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อน้ำหนักของดอกเห็ดนางฟ้าจากโรงเรือนเห็ดอัจฉริยะ และสร้างตัวแบบเพื่อการพยากรณ์น้ำหนักของดอกเห็ด โดยใช้ตัวแบบ 2 ตัวแบบ ได้แก่ตัวแบบการถดถอยพหุคูณและตัวแบบโครงข่ายประสาทเทียม และทำการเปรียบเทียบความแม่นยำของตัวพยากรณ์ โดยใช้ค่าร้อยละความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย (Mean absolute percentage error; MAPE) และรากที่สองของความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (Root mean square error; RMSE) ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาคือ น้ำหนักของดอกเห็ด อุณหภูมิเฉลี่ย ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย และปริมาณน้ำที่ใช้ ทำการวิเคราะห์หาตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อน้ำหนักของดอกเห็ด โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์สหสัมพันธ์และวิธีโครงข่ายประสาทเทียม จากนั้นนำตัวแปรที่มีนัยสำคัญทางสถิติไปพัฒนาตัวแบบพยากรณ์ ผลจากการศึกษาพบว่าตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อน้ำหนักเห็ด ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และปริมาณน้ำที่ใช้ หลังจากเมื่อนำตัวแบบทั้ง 2 แบบมาเปรียบเทียบกันพบว่า วิธีโครงข่ายประสาทเทียมให้ความแม่นยำในการพยากรณ์สูงกว่าตัวแบบการถดถอยพหุคูณ ทั้งนี้เนื่องจากโครงสร้างของโครงข่ายประสาทเทียม เป็นแบบไม่ใช่เชิงเส้นจึงสามารถพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรดังกล่าวที่มีต่อน้ำหนักของดอกเห็ดว่าได้ดีกว่าตัวแบบการถดถอยพหุคูณนั่นเอง

คำสำคัญ : การพยากรณ์ ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ โครงข่ายประสาทเทียม โรงเรือนเห็ดอัจฉริยะ
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title :
Abstract :

This research aims to identify the factors that influence the weight of Grey oyster mushroom from smart farm and develop the models to predict the weight of mushroom by using two models namely Regression model and Artificial Neural Network model (ANN). And compare the accuracy of the forecasters the percentage of the mean absolute percentage error (MAPE) and the square root of the mean square error (RMSE) were used. The data used in the study were the weight of mushroom, average temperature, average humidity, and the amount of water used. The analysis was conducted for variables that influence the weight of the mushroom by using correlation analysis techniques and neural network methods. The results obtained from the comparative study reveals that ANN provide higher accuracy than Regress Model as ANN structure is non-linear, and it can capture the pattern of relationship between input variables and the weight of mushroom better than Regression Model.

Keyword : Forecasting, Multiple linear regression, Artificial neural network, Mushroom smart farm
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
ชุดโครงการ : โครงการวิจัยนี้เป็นงานวิจัยภายใต้งานวิจัย มจ.1-62-01-021 : การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิงกับเห็ดเศรษฐกิจและสมุนไพร
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 อาจารย์ ดร.วัชรี เลขะวิพัฒน์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ผู้วิจัยหลัก
(2563)
100 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2563
1/10/2562 ถึง 30/9/2563
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
งบประมาณแผ่นดินแม่โจ้
110,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 110,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023