การพัฒนาระบบเกษตรนาแปลงใหญ่เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-63-02-001.1
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 30 เมษายน 2563 ถึง 1 ตุลาคม 2563
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การพัฒนาระบบเกษตรนาแปลงใหญ่เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
บทคัดย่อ :

ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบแนวทางการผลิตข้าวที่สอดคล้องกับวิถีการผลิตของเกษตรกรในภาคเหนือตอนบน และเพื่อทราบประสิทธิภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรภายใต้แนวทางการผลิตที่สอดคล้องกับวิถีการผลิตในภาคเหนือตอนบน โดยใช้วิธีสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group) และวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิตด้วยแบบจาลองเส้นโอบล้อม (Data Envelopment Analysis: DEA) ในการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิต ด้วยปัจจัยด้านผลผลิต 1 ตัวแปร และปัจจัยการผลิต 8 ตัวแปร แบ่งระดับประสิทธิภาพออกเป็น 5 ระดับ (น้อยที่สุด – มากที่สุด) และใช้ Budget Analysis ในการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตของเกษตรกรเพื่อหาความคุ้มค่าในการผลิต จากเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาแปลงใหญ่จานวน 1,200 รายด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง ซึ่งจากการศึกษาพบว่า วิธีการผลิตข้าวที่สอดคล้องกับวิถีการผลิตของเกษตรกรคือการใช้วิธีเขตกรรมแบบนาดาซึ่งช่วยให้ดูแลวัชพืชและศัตรูพื้นที่เพาะปลูกง่ายกว่านาหว่าน ซึ่งเกษตรกรทุกรายก็ยอมรับว่าการทานาดาให้ผลผลิตที่ดีกว่าแต่ที่เลือกใช้นาหว่านเนื่องจากต้นทุนแรงงานของนาดาสูงกว่านาหว่าน อีกทั้งการปลูกแบบนาดายังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ดีนาดาสามารถจัดการกับขั้นตอนการผลิตได้โดยอาศัยการใช้แรงงานแลกเปลี่ยนมียังมีผลผลิตพลอยได้อีกด้วย

สาหรับการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิตพบว่า เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาแปลงใหญ่มีประสิทธิภาพการผลิตที่สูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการผลิตเดิมก่อนที่เกษตรกรจะปรับรูปแบบวิธีเขตกรรม ซึ่งส่วนใหญ่มีประสิทธิภาพระดับมากที่สุด มีปัจจัยการผลิตส่วนเกิน (input slack) สูงสุดเพียง 4 ปัจจัย และส่วนใหญ่ควรปรับลดปัจจัยส่วนเกินเพียง 2-3 ปัจจัย โดยเฉพาะจานวนแรงงานในการผลิตและปุ๋ยเคมี ขณะที่ผลได้ต่อขนาด (Economy of Scale) ในภาพรวมอยู่ในระยะผลได้ต่อขนาดที่เพิ่มขึ้น (IRS)

สาหรับการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน พบว่า เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาแปลงใหญ่ได้รับผลตอบแทนเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 5,121.83 บาทต่อไร่ ซึ่งสูงกว่าการผลิตในรูปแบบเดิมที่มีผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 4,382.41 บาทต่อไร่ อันเนื่องมาจากต้นทุนการผลิตที่ลดลงกอปรกับผลผลิตที่สูงขึ้น โดยเมื่อปรับรูปแบบวิธีเขตกรรมแล้วทาให้ผลตอบแทนสูงขึ้นและไม่มีเกษตรกรรายใดที่มีประสบภาวะขาดทุน ซึ่งเมื่อปรับลดปัจจัยการผลิตส่วนเกิน (Input Slack) พบว่า ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ยสูงขึ้นเล็กน้อย ขณะที่เกษตรกรที่มีประสิทธิภาพการผลิตระดับปานกลางไม่มีการเปลี่ยนแปลงในต้นทุนจึงไม่ทาให้ผลตอบแทนเปลี่ยนแปลง ดังนั้นควรสร้างความตระหนักถึงการใช้ปัจจัยการผลิตที่เกินความจาเป็นให้แก่เกษตรกรเพื่อให้ผลตอบแทนสุทธิสูงขึ้นโดยไม่หวังพึ่งระดับราคาหรือปริมาณผลผลิตที่ไม่ได้คุณภาพ

คำสำคัญ : ประสิทธิภาพ การผลิต ข้าว เกษตรกร นาแปลงใหญ่
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Enhancing Efficiency of Farmer’s Rice Production by Large Size Areain Upper Northern Region
Abstract :

In this study, the objects of the study were to know the rice production guidelines in line with the farmers' production trajectory in the Upper Northern Thailand, and to know the efficiency of farmers' rice production under the production guidelines that are consistent with the production trajectory in the Upper Northern Thailand, by using Focus Group method and analyzing the production efficiency with the Envelopment Analysis (DEA) model in the production efficiency analysis with 1 yield factor and 8 inputs, the efficiency level was divided into 5 levels (least - most) and budget analysis was used to analyze farmers' cost and yields to find the cost-effectiveness of production. From farmers who planted rice in the large plots of 1,200 people using a unique method. For the study found that the method for producing rice that is consistent with the farmers' production trajectory is to use the Deep Cultivation method, which makes it easier to care for weeds and pests of farmland than those of paddy-sown field. All farmers agree that farming in seeding rice is transplanted produces better yields, but they choose to use sown as the labor cost of the field where seeding rice is transplanted is higher than that of the farm. In addition, seeding rice is transplanted cultivation is also environmentally friendly. However, a field where seeding rice is transplanted was able to handle the production process through the use of barter labor, and had by-products as well.

For the analysis of production efficiency, it was found that Farmers in large plots of rice had higher production efficiency compared to the previous production before farmers adjusted the field method, most of which had the highest efficiency. There are only four maximum input slack factors, and most should be mitigated by a few factors, especially production workers and chemical fertilizers, while the overall economy of scale is in the effect of scale (IRS) range.

For the cost and return analysis, it was found that farmers in large plots received the highest average return of 5,121.83 Baht per Rai, which is higher than the previous model with an average net return of 4,382.41 Baht per Rai due to lower production costs combined with higher productivity. By adjusting the model of the Deep Cultivation method, the yield was higher and no farmer suffered a loss when the input slack was lowered, the average net return was slightly higher. While farmers with moderate production efficiency did not change in costs, they did not change their yields. Therefore, farmers should raise awareness of the excessive use of inputs forfarmers in order to generate higher net returns without relying on the price level or the quantity of unqualified produce.

Keyword : Efficiency Production Rice Farmer Large Size of Rice Area
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 รองศาสตราจารย์ ดร.อารีย์ เชื้อเมืองพาน
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเศรษฐศาสตร์
ผู้วิจัยหลัก
(2563)
20 ไม่ระบุ
2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มนตรี สิงหะวาระ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเศรษฐศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
20 ไม่ระบุ
3 นายอัศวิน เผ่าอำนวยวิทย์
ประเภทบุคคล : บุคคลภายนอก
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะบริหารธุรกิจ
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
20 ไม่ระบุ
4 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รภัสสรณ์ คงธนจารุอนันต์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเศรษฐศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
20 ไม่ระบุ
5 นายสมชาย อารยพิทยา
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : ไม่ระบุ
หน่วยงานต้นสังกัด : สำนักงานมหาวิทยาลัย / กองเทคโนโลยีดิจิทัล / งานวิจัยและพัฒนา
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
20 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2563
1/10/2562 ถึง 30/9/2563
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
งบประมาณแผ่นดินแม่โจ้
500,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 500,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
31 ตุลาคม 2564
วารสารที่ตีพิมพ์ : Decision Science Letters
ฉบับที่ : 11(2022)
หน้า : 1-10
ระดับการนำเสนอ : ระดับนานาชาติ
เจ้าของวารสาร : Growing Science
1
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023