การพัฒนาระบบเกษตรนาแปลงใหญ่เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-63-02-001
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 30 เมษายน 2563 ถึง 1 ตุลาคม 2563
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การพัฒนาระบบเกษตรนาแปลงใหญ่เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
บทคัดย่อ :

ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิผลการผลิตข้าวนาแปลงใหญ่ วิเคราะห์แนวทางการตัดสินใจต่อการใช้ปัจจัยการผลิตอย่างเหมาะสม การเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันการค้าข้าวระบบเกษตรนาแปลงใหญ่ วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งในการบริหารจัดการกลุ่มเกษตรกร และ พัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจการผลิตของระบบเกษตรนาแปลงใหญ่ โดยใช้แนวคิด DEA กระบวนการ AHP และ Fuzzy AHP รวมถึงการใช้เทคนิคการประมวลผลในเชิงวิเคราะห์แบบออนไลน์ (OLAP)

จากการศึกษาพบว่า วิธีการผลิตข้าวที่สอดคล้องกับวิถีการผลิตของเกษตรกรคือการใช้วิธีเขตกรรมแบบนาดาซึ่งช่วยให้ดูแลวัชพืชและศัตรูพื้นที่เพาะปลูกง่ายกว่านาหว่าน ซึ่งเกษตรกรทุกรายก็ยอมรับว่าการทานาดาให้ผลผลิตที่ดีกว่าแต่ที่เลือกใช้นาหว่านเนื่องจากต้นทุนแรงงานของนาดาสูงกว่านาหว่าน อีกทั้งการปลูกแบบนาดายังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ดีนาดาสามารถจัดการกับขั้นตอนการผลิตได้โดยอาศัยการใช้แรงงานแลกเปลี่ยนมียังมีผลผลิตพลอยได้อีกด้วย สาหรับการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิตพบว่า เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาแปลงใหญ่มีประสิทธิภาพการผลิตที่สูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการผลิตเดิมก่อนที่เกษตรกรจะปรับรูปแบบวิธีเขตกรรม ซึ่งส่วนใหญ่มีประสิทธิภาพระดับมากที่สุด มีปัจจัยการผลิตส่วนเกิน (input slack) สูงสุดเพียง 4 ปัจจัย และส่วนใหญ่ควรปรับลดปัจจัยส่วนเกินเพียง 2-3 ปัจจัย โดยเฉพาะจานวนแรงงานในการผลิตและปุ๋ยเคมี ขณะที่ผลได้ต่อขนาด (Economy of Scale) ในภาพรวมอยู่ในระยะผลได้ต่อขนาดที่เพิ่มขึ้น (IRS)

การวิเคราะห์แนวทางการตัดสินใจต่อการใช้ปัจจัยการผลิตอย่างเหมาะสมคานึงถึงองค์ประกอบด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม พบว่า ค่าน้าหนักความสาคัญของพืชทางเลือกแต่ละชนิดมีค่าแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยแต่ก็ได้แสดงให้เห็นว่าเกษตรกรให้ความสาคัญกับการปลูก ข้าวญี่ปุ่น มากที่สุด รองลงมา คือ ข้าวเจ้านาดา ข้าวเหนียวนาดา กระเทียม ข้าวเจ้านาหว่าน และข้าวเหนียวนาหว่าน ตามลาดับ โดยเกษตรกรมีความเห็นร่วมกันว่าหลักเกณฑ์ย่อย (sub-criteria) ที่มีบทบาทสาคัญต่อการตัดสินใจมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ ปัจจัยราคา รองลงมา คือ การส่งเสริมจากภาครัฐบาล และต้นทุนการผลิต

พฤติกรรมการบริโภคข้าวเหนียวเขี้ยวงูและข้าวเจ้าหอมมะลิส่วนใหญ่ผู้บริโภคซื้อข้าวสารบรรจุถุงและข้าวหุงสุกเพื่อการบริโภค โดยเหตุผลที่ผู้บริโภคทานข้าวเหนียวและข้าวเจ้าหอมมะลิเนื่องจากคนในครอบครัวบริโภคเป็นประจาอยู่แล้ว ปัจจัยที่สาคัญในการตัดสินใจซื้อ คือ ปัจจัยด้านราคา ด้านผลิตภัณฑ์ ช่องทางการจาหน่าย และการส่งเสริมการตลาด ตามลาดับ และเนื่องจากผู้บริโภคให้ความสาคัญกับราคาที่สอดคล้องกับปริมาณและคุณภาพของสินค้า สามารถหาซื้อได้ง่าย การจาหน่ายผ่านทางออนไลน์เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค ดังนั้นผู้จาหน่ายจะต้องไม่ละเลยประเด็นดังกล่าวเพื่อให้เกิดความสมดุลทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค

สาหรับแนวทางการยกระดับความเข็มแข็งการดาเนินงานในการบริหารจัดการกลุ่มเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาแปลงใหญ่ จะต้องคานึงถึงปัจจัย 4 ด้าน ได้แก่ ปัจจัยด้านผู้นาที่ต้องมีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีจิตสาธารณะ สร้างสามารถสร้างแรงจูงใจให้กับสมาชิกกลุ่มให้ดาเนินกิจกรรมของกลุ่มให้อยู่รอดได้ในช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยด้านทรัพยากร การมีทรัพยากรที่เพียงพอหรือเหมาะสมจะช่วยให้กลุ่มมีการประสานงานหรือดาเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพนาไปสู่ความสาเร็จของกลุ่ม ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ กลุ่มต้องมีการวางแผนงานและดาเนินงานตามแผนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกิจกรรมนั้นๆ และปัจจัยด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร เกษตรกรจะต้องยอมรับและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และนาไปสู่การเป็น Smart Farmer ในอนาคต

การพัฒนาระบบธุรกิจอัจฉริยะสนับสนุนการตัดสินใจสาหรับระบบเกษตรนาแปลงใหญ่มีการนาเสนอข้อมูล เช่น ราคาตลาด ผลผลิต ต้นทุนการผลิตข้าว การเก็บเกี่ยว ปัจจัยการผลิต เทคนิควิธีการเพาะปลูก แหล่งทรัพยากรในชุมชน สภาพอากาศในแต่ละพื้นที่ โดยนาเสนอในรูปแบบของลูกบาศก์ข้อมูล (Data Cube) และมีการแสดงผลข้อมูลแบบเจาะลึกเฉพาะส่วน (Drill Down) และแสดงภาพรวมในรูปแบบของกราฟ ได้ทาการประเมินความพึงพอใจของระบบจากผู้ใช้บริการพบว่าผู้ใช้บริการสารสนเทศมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าระบบธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence) ที่พัฒนาขึ้นสามารถใช้เป็นข้อมูลที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจสาหรับสถานการณ์การเพาะปลูก การตลาด และการใช้เทคโนโลยี ของการปลูกข้าวในปัจจุบันได้

คำสำคัญ : ระบบนาแปลงใหญ่ ประสิทธิภาพ ขีดความสามารถ รูปแบบการบริหาร ระบบการตัดสินใจ
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : System Development of Large Agricultural Land Plot on Rice Farming to Enhance Competitiveness in the Upper Northern Region
Abstract :

In this study, the objective is to analyze the effectiveness of big rice production, to analyze the guidelines for making decisions towards the appropriate use of production factors empowering competitiveness in rice trading, large-scale agricultural system, to analyze the factors that affect the strength of farmer group management and develop the production decision support system of large-scale farming systems using the concept of DEA, AHP and Fuzzy AHP processes, as well as Online Analytical Processing (OLAP) techniques.

For the study found that the method for producing rice that is consistent with the farmers' production trajectory is to use the Deep Cultivation method, which makes it easier to care for weeds and pests of farmland than those of paddy-sown field. All farmers agree that farming in seeding rice is transplanted produces better yields, but they choose to use sown as the labor cost of the field where seeding rice is transplanted is higher than that of the farm. In addition, seeding rice is transplanted cultivation is also environmentally friendly. However, a field where seeding rice is transplanted was able to handle the production process through the use of barter labor, and had by-products as well. For the analysis of production efficiency, it was found that Farmers in large plots of rice had higher production efficiency compared to the previous production before farmers adjusted the field method, most of which had the highest efficiency. There are only four maximum input slack factors, and most should be mitigated by a few factors, especially production workers and chemical fertilizers, while the overall economy of scale is in the effect of scale (IRS) range.

The analysis of the guidelines for the decision to use appropriate production factors, considering the economic, social and environmental factors, found that the weight of importance of each alternative plant has only slightly different values, but it shows that farmers are important, followed by the planting of Japanese rice the most, followed by rice with black rice, glutinous rice, black rice with garlic, rice with rice bran, and glutinous rice, respectively, with the farmers agree that the rules (sub-criteria) play the most important role in decision making, the top 3 are price factors, followed by government promotion and production cost.

Consumption behavior of Finesse glutinous rice, and jasmine rice. Most of consumers buy bagged rice and cooked rice for consumption. The reason that consumers eat sticky rice andjasmine rice is because family members consume it on a regular basis. The key factor in purchasing decisions is the price factor. The product aspect distribution channel and marketing promotion respectively, and because consumers pay more attention to the price that is consistent with the quantity and quality of the product. It can be easily bought online distribution is one of the most popular channels for consumers. Therefore, the supplier must not ignore these issues in order to achieve a balance between producers and consumers.

For guidelines to enhance the strength of the operations in the management of the network of rice farmers in larger plots four factors must be taken into account, namely: leadership with broad vision, public mind, to create incentives for group members to carry out their activities to survive in times of change. The resource factor having adequate or appropriate resources will enable the group to coordinate or operate effectively, leading to the group's success. The management factor groups must plan and implement plans to achieve the objectives of that activity, and technology and communication factors farmers must embrace and promote the use of technology for learning and leading to the smart farmer in the future.

The Business Intelligence for the Decision Support System for the Large Agricultural Land Plot has showed the information such as market price, yield, costs of rice production, harvesting, production factors, cultivation techniques, community resources and weather conditions in each area. Those data were presented by formation of a Data Cube and were displayed only in-depth data (Drill Down) and showed the overview in the form of a graph. The research has made a satisfaction assessment found that users were satisfied at a high level. In addition, the results of the study showed that the developed system of the Business Intelligence can be used to support decision-making for the large-scale farming system of rice farmers in the upper Northern Region of Thailand. Those information were included the marketing, the current situation of rice cultivation.

Keyword : Large Agricultural Land Plot Efficiency Enhancing Advantage Management Patterns Decision System
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
ชุดโครงการ : แผนงาน หรือชุดโครงการ
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 รองศาสตราจารย์ ดร.อารีย์ เชื้อเมืองพาน
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเศรษฐศาสตร์
ผู้วิจัยหลัก
(2563)
20 ไม่ระบุ
2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มนตรี สิงหะวาระ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเศรษฐศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
20 ไม่ระบุ
3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รภัสสรณ์ คงธนจารุอนันต์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเศรษฐศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
20 ไม่ระบุ
4 อาจารย์ ดร.นทีทิพย์ สรรพตานนท์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะบริหารธุรกิจ
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
20 ไม่ระบุ
5 นายสมชาย อารยพิทยา
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : ไม่ระบุ
หน่วยงานต้นสังกัด : สำนักงานมหาวิทยาลัย / กองเทคโนโลยีดิจิทัล / งานวิจัยและพัฒนา
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
20 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2563
30/4/2563 ถึง 1/10/2563
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
งบประมาณแผ่นดินแม่โจ้
420,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 420,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023