การสำรวจศักยภาพและพัฒนาฐานข้อมูลระบบภูมิสารสนเทศเมืองโบราณในแอ่งเชียงใหม่-ลำพูน เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงพื้นที่อย่างยั่งยืน

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-63-03-003
รหัสอ้างอิง วช. : 63A111000030
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 30 เมษายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การสำรวจศักยภาพและพัฒนาฐานข้อมูลระบบภูมิสารสนเทศเมืองโบราณในแอ่งเชียงใหม่-ลำพูน เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงพื้นที่อย่างยั่งยืน
บทคัดย่อ :

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและวิเคราะห์ศักยภาพเมืองโบราณในแอ่งเชียงใหม่-ลำพูน พัฒนาระบบฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศเมืองโบราณ และเสนอแนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงพื้นที่กลุ่มเมืองโบราณในแอ่งเชียงใหม่-ลำพูน ใช้วิธีการวิจัยโดยการวิเคราะห์เรื่องราวจากเอกสาร (Content analysis) การสำรวจพื้นที่ การสังเกตการณ์ การพัฒนาระบบฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศ และการวิเคราะห์โดยการซ้อนทับชั้นข้อมูล (Overlay analysis) ผลวิจัยจำแนกกลุ่มเมืองโบราณจากการวิเคราะห์เรื่องราวเอกสาร คือ ช่วงเวลาสมัยหริภุญไชย พุทธศตวรรษที่ 13-19 ช่วงเวลาก่อตั้งอาณาจักรล้านนาและพัฒนาการสูงสุด พุทธศตวรรษรายที่ 19-21 ช่วงเวลาล้านนาภายใต้การปกครองของพม่า พุทธศตวรรษที่ 21-23 และช่วงเวลาฟื้นฟูบ้านเมืองล้านนา ตั้งแต่ พ.ศ.2317 เป็นต้นมา ผลวิเคราะห์ปัจจัยที่ตั้ง เส้นทางคมนาคมเข้าถึง และองค์ประกอบเมืองโบราณ ร่วมกับปัจจัยสิ่งสนับสนุนการท่องเที่ยวของสิ่งดึงดูดใจ (Attraction) ความสะดวกในการเดินทางเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว (Access) สิ่งอำนวยความสะดวก (Amenities) ที่พัก (Accommodation) และกิจกรรม (Activities) บนระบบภูมิสารสนเทศ ของระยะเวลาเดินทางเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่เมืองโบราณ จำแนกศักยภาพเชิงพื้นที่ของกลุ่มเมืองโบราณเพื่อการท่องเที่ยว ได้แก่ 1) กลุ่มเมืองโบราณในบริบทเมืองเชียงใหม่ เป็นกลุ่มเมืองโบราณในช่วงเวลาก่อตั้งอาณาจักรล้านนาและพัฒนาการสูงสุด กลุ่มเมืองมีศักยภาพและการพัฒนาเชื่อมโยงได้กับการท่องเที่ยวเมืองเชียงใหม่ในปัจจุบัน ได้แก่ เวียงสวนดอก เวียงเจ็ดลิน เวียงบัว เวียงกุมกาม เวียงป่าแงะ และเวียงด้ง 2) กลุ่มเมืองโบราณในบริบทเมืองลำพูนและชานเมืองเชียงใหม่ ได้แก่ เมืองหริภุญไชย เวียงมโน เวียงท่ากาน เวียงเถาะ เวียงแม เมืองขาน เมืองควก เวียงป่าซาง และเวียงหนองผำ เป็นกลุ่มเมืองโบราณในช่วงเวลาหริภุญไชย ช่วงเวลาก่อตั้งอาณาจักรล้านนาและพัฒนาการสูงสุด และช่วงเวลาฟื้นฟูบ้านเมืองล้านนา มีศักยภาพและการพัฒนาเชื่อมโยงได้กับเมืองหลักเมืองเชียงใหม่ และเมืองรองเมืองลำพูน และ 3) กลุ่มเมืองโบราณพื้นที่ชายขอบในบริบทท้องถิ่น มีลักษณะสอดคล้องเชื่อมโยงกับศักยภาพและการพัฒนาภายใต้บริบทและทรัพยากรท้องถิ่น ได้แก่ กลุ่มเมืองย่อย เวียงหนองล่อง เวียงสะแกง เวียงหวาย และเมืองกลาง เมืองเดี่ยว ได้แก่ เมืองแกน เมืองกื้ด เวียงแก่น เมืองออน และเวียงหอด เกือบทั้งหมดเป็นเมืองในช่วงเวลาก่อตั้งอาณาจักรล้านนาและพัฒนาการสูงสุด ยกเว้นเวียงหอดที่อยู่ในช่วงเวลาหริภุญไชย อย่างไรก็ดีการพัฒนาศักยภาพกลุ่มเมืองโบราณทั้งหมดจำเป็นต้องพิจารณาความเชื่อมโยงระบบเมืองในแอ่งเชียงใหม่-ลำพูน อย่างบูรณาการร่วมกับการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ตอบสนองความต้องการของทุกฝ่าย คำนึงถึงการดูและรักษามรดกวัฒนธรรมและระบบนิเวศพื้นที่เมืองโบราณในแอ่งเชียงใหม่-ลำพูน เพื่อความอย่างยั่งยืนต่อไป

คำสำคัญ : ฐานข้อมูลระบบภูมิสารสนเทศ , การท่องเที่ยว , แอ่งเชียงใหม่-ลำพูน
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Potential Survey and Geo-Informatics System Development of Ancient city in the Chiang mai – Lumphun Basin for Spatial Smart City and Sustainable Tourism
Abstract :

This research study aimed to explore and analyze the potential of ancient cities in the Chiang Mai-Lamphun basin, to develop a geospatial database system of the ancient cities, and to propose guidelines for the development of spatial tourism in the ancient city groups in the Chiang Mai-Lamphun basin. The study was conducted by using research methods of content analysis, area surveys, observations, development of a geospatial database system, and overlay analysis. Based on the content analysis, the ancient cities could be classified into 4 periods, namely, Hariphunchai Period during the Buddhist centuries 13-19, Lanna Kingdom Establishment Period during the Buddhist centuries 19–21 which was the peak of its development, Burma-Governed Lanna Period during the Buddhist centuries 21–23, and Lanna Restoration Period starting from B.E. 2317 onwards. Based on location factors, transport routes, ancient city elements, and factors that support the tourism such as attractions, ease of accessibility to tourist attractions, amenities, accommodations, and activities on the GIS of the traveling period between the ancient city areas, the spatial potential of the ancient cities for tourism could be classified as follows:

1) The ancient city group in the context of Chiang Mai was a group of ancient cities during the time of the Lanna Empire and its highest development. The urban group has potential and development linked to the current Chiang Mai tourism, such as Wiang Suan Dok, Wiang Chet Lin, Wiang Bua, Wiang Kum Kam, Wiang Pa Ngae, and Wiang Dong.

2) Ancient cities in the context of Lamphun and Chiang Mai suburbs were Hariphunchai, Wiang Manoe, Wiang Tha Kan, Wieng Thao, Wiang Mae, Maung Khan, Mueang Quok, Wiang, Pa Sang, and Wiang Nong Pham. This is a group of ancient cities during the Hariphunchai Period during the establishment of the Lanna Kingdom and its highest development. Besides, it was during the restoration of Lanna country. It has potential and development linked to the main city of Chiang Mai and the second city of Lamphun.

3) Ancient city groups on marginal areas in the local context are consistent with potential and development under local context and resources, such as sub-urban groups, namely, Wiang Nong Long, Wiang Sakaeng, Wiang Wai, and Maung Klang. As for single cities, they are Maung Kaen, Maung Kut, Wiang Kaen, Maung On, and Wiang Hod. Most of them were cities during the time of the establishment of the Lanna Kingdom and its highest development, except Wiang Hod which was a city during the Hariphunchai Period.

However, the development of the potential of all ancient cities needs to consider the interconnection of the urban system in the Chiang Mai-Lamphun basin integratively with tourism development that meets the needs of all parties. It should take into account the viewing and preservation of cultural heritage and ecology in the ancient city areas in the Chiang Mai-Lamphun basin for further sustainability.

Keyword : Geo-Informatics System, Tourism, Chiang Mai-Lamphun basin
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ลักษณา สัมมานิธิ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม
ผู้วิจัยหลัก
(2563)
80 ไม่ระบุ
2 นายสิริวัฒก์ สัมมานิธิ
ประเภทบุคคล : บุคคลภายนอก
หน่วยงานต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ผู้วิจัยร่วม
20 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2563
1/10/2562 ถึง 30/9/2563
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
465,600.00
   รวมจำนวนเงิน : 465,600.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
4 กรกฎาคม 2565
วารสารที่ตีพิมพ์ : วารสารสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย 
ฉบับที่ : 2
หน้า : 39-56
ระดับการนำเสนอ : ระดับชาติ
เจ้าของวารสาร : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
0.8
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023