เภสัชภัณฑ์จากน้ำมันหอมระเหยสำหรับกำจัดพยาธิภายนอกในสุนัข

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-63-07-003
รหัสอ้างอิง วช. : 63A111000002
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 30 เมษายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : เภสัชภัณฑ์จากน้ำมันหอมระเหยสำหรับกำจัดพยาธิภายนอกในสุนัข
บทคัดย่อ :

การเลี้ยงสุนัขมักพบปัญหาปรสิตภายนอกโดยเฉพาะเห็บและหมัด โดยทั่วไปนิยมใช้ยาที่เป็นสารเคมีการกำจัดปรสิตภายนอก หากใช้ในปริมาณไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดอาการไม่พึง ประสงค์ต่างๆ และสารพิษนั้นอาจต้องค้างในสิ่งแวดล้อม วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและความเข้มข้นของน้ำมันหอมระเหย 5 ชนิด ได้แก่ น้ำมันมะแขว่น น้ำมันตะไคร้หอม น้ำมันกานพลู น้ำมันสะระแหน่ และน้ำมันขิงต่อการกำจัดเห็บและหมัดที่ได้จากสุนัข ในห้องปฏิบัติการและศึกษาความพึงพอใจของการใช้น้ำมันหอมระเหยบนตัวสุนัข โดยนำเห็บและหมัดเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของน้ำมันหอมระเหย ทั้ง 5 ชนิดในห้องปฏิบัติ และเลือกน้ำมันหอม ระเหย 2 ชนิดที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดเพื่อทดสอบบนผิวหนังสุนัข ผลการศึกษาพบว่า น้ำมันมะแขว่น ตะไคร้หอม กานพลู สะระแหน่ ที่ระดับความเข้มข้น 16% มีประสิทธิภาพดีที่สุดในการยับยั้งการวางไข่ของเห็บตัวเมียระยะ engorged tick นอกจากนี้มันหอมระเหยทั้ง 5 ชนิดมี ความสามารถในการกำจัดเห็บระยะตัวอ่อนได้สูงตั้งแต่ความเข้มข้นที่ 2% ในส่วนของประสิทธิภาพการกำจัดหมัด พบว่าน้ำมันหอมระเหยที่ระดับความเข้มข้นที่ 4% สามารถกำจัดหมัดได้เร็วที่สุด โดยเฉพาะน้ำมันกานพลูสามารถกำจัดหมัดได้ 100% ภายใน 1 ชั่วโมง และพบว่าน้ำมัน กานพลูที่ระดับความเข้มข้นที่ 16% ได้รับความพึงพอใจในการใช้บนตัวสุนัขดีที่สุด พบอาการข้างเคียงระดับต่ำ ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นเภสัชภัณฑ์ในการกำจัดเห็บและหมัดได้อย่างดีในสัตว์เลี้ยง และในการผลิตปศุสัตว์เพื่อทดแทนการใช้สารเคมีกลุ่มยาฆ่าแมลงจะเกิดประโยชน์เป็นอย่างมาก ทั้งต่อผู้บริโภคและปลอดภัยสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้าจากพืชสมุนไพรพื้นบ้านได้ต่อไป

คำสำคัญ : น้ำมันหอมระเหย , เห็บ , หมัด , สุนัข , สมุนไพร
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Pharmaceutics from essential oil for killing ectoparasites on dogs
Abstract :

The most common problem in dogs is the presence of external parasites, especially ticks

and fleas. In general, the prevention and removal of external parasites in dogs are commonly used

chemical medicine to get rid of external parasites. Improper usage of chemical medicine can cause

adverse reactions and the toxin may have to remain in the environment. The objective of this study

were to investigate the in vitro efficacy of Zanthoxylum limonella oil, citronella oil, clove oil,

peppermint oil and ginger oil against ticks and fleas from dogs and to evaluate the satisfaction of

using essential oils on dogs. Five essential oil were tested for in vitro efficacy against ticks and

fleas. Then choose 2 of the most effective essential oils to test on your dog’s skin. The results

revealed 16% of Zanthoxylum limonella oil, citronella oil, clove oil, peppermint oil and ginger oil

oils exhibited the effective in inhibiting the spawning of female engorged tick period. Moreover, 5

essential oils at the concentration exhibited the effective in inhibiting the spawning of female

engorged tick period. In addition, all five essential oils had a high ability to kill tick larvae start

from a concentration of 2%. Furthermore, 4% of 5 essential oils were the the fastest effective in

eliminating fleas especially clove oil which can kill flea 100% within an hour. aSixteen percent of

clove oil were most satisfied with the application on the dog’s skin with the low percent of adverse

effects. This can be developed as a Pharmaceutical product for ticks and fleas control in pets as

well as livestock. This can replace the use of chemical pesticides that will be very beneficial for

both consumers and environment. Additionally, it also increases the value of local herbal products.

Keyword : essential oil, ticks, fleas, herb, dog
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Green
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดร.พชรพร ตาดี
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้วิจัยหลัก
(2563)
50 ไม่ระบุ
2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดร.กฤดา ชูเกียรติศิริ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้วิจัยร่วม
30 ไม่ระบุ
3 ผศ.ดร.ภญ. สุนีย์ จันทร์สกาว
ประเภทบุคคล : บุคคลภายนอก
หน่วยงานต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะเภสัชศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
10 ไม่ระบุ
4 รศ.ภก. ปราโมทย์ ทิพย์ดวงตา
ประเภทบุคคล : บุคคลภายนอก
หน่วยงานต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้วิจัยร่วม
10 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2563
1/10/2562 ถึง 30/9/2563
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
417,800.00
   รวมจำนวนเงิน : 417,800.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
18 ธันวาคม 2566
วารสารที่ตีพิมพ์ : Journal of Veterinary Science
ฉบับที่ : 25(1)
หน้า :
ระดับการนำเสนอ : ระดับนานาชาติ
เจ้าของวารสาร : KOREAN SOC VETERINARY SCIENCE
1
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023