การบริหารการเงินของการท่องเที่ยวชุมชนเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจร ตำบลแม่เจดีย์ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-62-02-005.1
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : กำลังดำเนินการ
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2562
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การบริหารการเงินของการท่องเที่ยวชุมชนเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจร ตำบลแม่เจดีย์ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
บทคัดย่อ :

การบริหารการเงินของการท่องเที่ยวชุมชนเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจร ตาบลแม่เจดีย์ อาเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางการเงิน และ การบริหารการเงินของเกษตรกรและผู้ประอบการเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางการเงินแก่ชุมชน โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การประชุมกลุ่มย่อย และการแบบสอบสอบ ผลวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า เกษตรกรและผู้ประกอบการ มีรายได้จากการขายผักแลผลไม้ รายได้จากการขายสินค้าเกษตรแปรรูป และรายได้ค่าที่พักนักท่องเที่ยว ส่วนค่าใช้จ่ายได้แก่ ค่าน้า ค่าไฟ ค่าน้ามัน ค่าแรง ค่าแก๊ส ค่าขนส่ง ค่าซ่อมบารุง และ ค่าเครื่องมือ การจดบันทึกข้อมูลการเงินยังไม่ครบถ้วน ส่วนด้านการบริหารการเงินของเกษตรกรและผู้ประกอบการ ได้แก่ 1) การวางแผนการเงิน เกษตรกรและผู้ประกอบการยังไม่มีการวางแผนการเงิน แต่มีเพียงบางส่วนมีการวางแผนการวางแผน การวางแผนการจัดหาเงินทุน และการวางแผนการจัดสรรเงินทุน โดยใช้วิธีการคาดประมาณการจานวนเงินที่ต้องใช้ 2) การจัดหาเงินทุน เป็นการจัดหาเงินทุนจากเงินทุนส่วนตัว การกู้ยืมกองจากกองทุนหมู่บ้าน และการกู้ยืมธนาคาร 3) การจัดสรรเงินทุน ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน และการซื้อสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 4) การควบคุมทางการเงิน เกษตรกรและผู้ประกอบการไม่มีเปรียบเทียบข้อมูลที่วางแผนกับข้อมูลจริงที่เกิดขึ้น ด้านปัญหาและอุปสรรค ราคาพืชตกต่า ขาดแคลนเงินทุนการ ขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียน การเงินกู้นอกระบบ ขาดตลาดรองรับสินค้าที่จะการขาย ขาดความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการ ข้อเสนอแนะ มีความต้องการงบประมาณในการส่งเสริมอาชีพ การซ่อมแซมพัฒนาหมู่บ้าน สนับสนุนประเพณีต่างๆ และต้องการให้มีการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน

ส่วนผลการวิจัยเชิงปริมาณจากจานวนแบบสอบถาม 300 ราย พบว่า เป็นเกษตรกรและผู้ประกอบการ เป็นชาย ร้อยละ 59 และเป็นหญิง ร้อยละ 41 ช่วงอายุมากที่สุดอยู่ที่ 50-55 ปี คิดเป็นร้อยละ 24 รายได้จากการขายข้าวมากที่สุดคือ 5,000-20,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 46.60 รายได้จากการขายชามากที่สุดคือ 90,001-100,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 21.05 และ รายได้จากการขายข้าวโพดมากที่สุดคือ 20,001-30,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 28.30 ค่าใช้จ่ายรวมมากที่สุดคือ < 5,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 35.59 กาไรจาการเกษตรมากที่สุดคือ 10,001-20,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 27.88 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน บ้านมีมูลค่ารวมมากที่สุดคือ 100,001-200,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 18.92 จานวนเงินกู้ยืมธนาคาร มากที่สุดคือ <50,000 คิดเป็นร้อยละ 50.45 ระยะเวลาการกู้ยืมเงิน มีจานวนระยะเวลาการกู้ยืมมากที่สุดคือ 1 ปี คิดเป็นร้อยละ 13 ส่วนการจัดการการเงินมีค่าเฉลี่ยอยู่ระดับกลาง ประกอบด้วยการ 1) การวางแผนการเงิน มีค่าเฉลี่ยอยู่ระดับปานกลางถึงมาก ประกอบด้วย การวางแผนการจัดหาเงินทุน การวาแผนการจัดสรรเงินทุน และการ การวางแผนการควบคุมทางการเงิน 2) การจัดหาเงินทุนอยู่ในระดับกลาง ได้แก่ การกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์ การลงใช้ทุนตนเอง 3)การจัดสรรเงินทุนเงินทุน อยู่ในระดับปานกลาง ประกอบด้วย การจัดสรรสินทรัพย์หมุนเวียน และ การซื้อสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 4)การควบคุมทางการเงิน อยู่ในระดับปานกลาง ประกอบด้วย การควบคุมการวางแผนการเงิน การควบคุมการจัดหาเงินทุน และการควบคุมการจัดสรรเงินทุน

คำสำคัญ : การจัดหาเงินทุนอยู่ในระดับกลาง
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Community Tourism Activities Financial Management towards integrated Organic agriculture in Mae Jedi Sub District, Veiang-pah-pao, Chiang Rai
Abstract :

Community tourism activities financial management towards integrated organic agriculture in Mae Jedi sub district, Veiang-pah-pao, Chiang Rai, This research have objectives are: to study on finance and financial management of farmers and entrepreneurs to created financial strength in community by using in-depth interviews, focus groups, and questionnaires. The qualitative research found that farmers and entrepreneurs have earning income from vegetable and fruit selling, agricultural products selling, and tourist accommodation income. For expenses are water, electricity, fuel oil, labor, gas, transportation, maintenance and tools. The financial data recording is not complete. Financial management of farmers and entrepreneurs are 1) Financial planning, They do not have financial planning, but some have estimating amount of money for spending of a production plan, financing planning, and investment planning. 2) Financing, they are using private capital, village funds loan, and bank loan. 3) Investment, they are allocated for working capital and fix assets purchasing 4) Financial control, they do not comparing between the planned data and the actual data which happened. Problems and obstacles are: the crop price fell, lake of capital, lack of working capital, informal loan, lack of market to be sold products, lack of knowledge about management. The suggestions, they need a government budget to promote their careers, develop and support village traditional and want to develop of tourist attractions in their community.

The quantitative research results found that 300 questionnaire had 59% were male and 41% female. The most of age range was 50-55 years old, 24%. The most of rice selling was 5,000-20,000 baht, 46.60%. The most tea selling was 90,001-100,000 baht, 21.05% and the most corn selling of was 20,001-30,000 baht, 28.30%. The most total expense is less than 5,000 baht .35.59%. The most profit from agriculture is 10,001-20,000 baht, 27.88 percent. The most value of a house was100,001-200,000 baht,18.92 percent, the most bank loan amount was less than 50,000, 50.45 percent. The loan period was the most was a year, 13%. Moreover, financial managements were: 1) financial planning average had a moderate to high level which including financing planning, investment planning, and financial control planning. 2) Financings average had moderate level such as borrowing commercial banks and own capitals. 3) Investments had moderate level include current assets and fix asset purchases. 4) Financial controls had moderate level consisted of financial planning controls, financing controls, and investment controls.

Keyword : Investments had moderate level include current assets and fix asset purchases
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริกุล ตุลาสมบัติ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะบริหารธุรกิจ
ผู้วิจัยหลัก
(2562)
50 ไม่ระบุ
2 น.ส.บุษบงค์ ฝั้นแจ้ง
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : ไม่ระบุ
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะบริหารธุรกิจ / สำนักงานคณบดีคณะบริหารธุรกิจ / งานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา
ผู้วิจัยร่วม
25 ไม่ระบุ
3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูษณิศา เตชเถกิง
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะบริหารธุรกิจ
ผู้วิจัยร่วม
25 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2562
1/10/2561 ถึง 30/9/2562
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
900,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 900,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023