การพัฒนารูปแบบการสื่อความหมายของเครือข่ายวิสาหกิจการท่องเที่ยวชุมชนอย่างสร้างสรรค์ในเขตพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย -ศรีสัชนาลัย - กำแพงเพชรโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-62-02-004.2
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2562
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การพัฒนารูปแบบการสื่อความหมายของเครือข่ายวิสาหกิจการท่องเที่ยวชุมชนอย่างสร้างสรรค์ในเขตพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย -ศรีสัชนาลัย - กำแพงเพชรโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
บทคัดย่อ :

การพัฒนารูปแบบการสื่อความหมายของเครือข่ายวิสาหกิจการท่องเที่ยวชุมชนในเขตพื้นที่

พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชรโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น

เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาถึงบริบทในการสื่อความหมายของ

เครือข่ายวิสาหกิจการท่องเที่ยวชุมชนอย่างสร้างสรรค์ของชุมชนต้นแบบ ในเขตพื้นที่พิเศษอุทยาน

ประวัติศาสตร์สุโขทัย -ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร 2) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนารูปแบบการสื่อ

ความหมายในเขตพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร โดยการมี

ส่วนร่วมของชุมชน และ 3) เพื่อกำหนดรูปแบบการสื่อความหมายในเขตพื้นที่พิเศษอุทยาน

ประวัติศาสตร์สุโขทัย -ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

งานวิจัยนี้ใช้รูปแบบการวิจัยแบบไม่มีการทดลอง (non –experimental design) โดยผู้วิจัย

ได้ผสมผสานวิธีการแบบเชิงคุณภาพ (qualitative method) โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะจงมีการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key informants) ซึ่งใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (in-depth interview) ที่

เผชิญหน้ากัน (face to face) โดยมีแบบสัมภาษณ์ซึ่งประกอบด้วยคำถามปลายเปิ ด ซักไซ้ติดตาม

ประเด็นตามหัวข้อหลัก (key topic) และวิธีการเชิงปริมาณ (quantitative method) ผู้ให้ข้อมูล

เป็นผู้แทนจากลุ่มการท่องเที่ยว บ้านคุกพัฒนา ตำบลสารจิตร อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

และ ผุ้แทนจากลุ่มการท่องเที่ยวบ้านนครชุม ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร

ชุมชนละ 50 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง เก็บข้อมูลด้วยการจัดประชุม เสวนา และใช้

แบบสอบถาม

ผลการวิจัยพบว่า จากการศึกษาบริบทชุมชน เกี่ยวกับ ทรัพยากรการท่องเที่ยวของชุมชน

สำหรับการพัฒนาการรูปแบบการสื่อความหมายเพื่อการท่องเที่ยว ทั้งสองชุมชนเป้าหมาย พบ

ทรัพยากรการการท่องเที่ยวทั้งธรรมชาติและวัฒนธรรมที่หลากหลาย และมีจุดเด่นด้านการ

ท่องเที่ยวมากมายสำหรับสถานภาพของการจัดทำโปรแกรมสื่อความหมายชนิดต่าง ๆ ของทั้งสอง

พื้นที่ พบว่า ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด (ร้อยละ 100) ของทั้งสองพื้นที่ ระบุว่า มีการพัฒนาการสื่อ

ความหมาย ประเภทใช้บุคคลและการสื่อความหมายประเภทไม่ใช้บุคคล มาบ้างแล้วในพื้นที่ โดย

การสื่อความหมายประเภทใช้บุคคล ที่มีได้แก่ ผู้ให้ข้อมูล ประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยว นัก

สื่อความหมาย หรือมัคคุเทศก์ท้องถิ่น การสาธิต / การแสดง การสื่อความหมายประเภทไม่ใช้

บุคคล ที่มีได้แก่ แผ่นป้ายสื่อความหมายหรือป้ายอธิบายข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว แผ่นพับ โปสเตอร์

การท่องเที่ยวเส้นทางท่องเที่ยวในชุมชน ซึ่งสื่อที่มีในชุมชน ได้มีการพัฒนาจาก หน่วยงาน

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)( อพท.) สุโขทัย

โดยผู้ให้ข้อมูลระบุว่า ต้องการพัฒนาการสื่อความหมายของชุมชนใหม่ทั้งหมด เพื่อปรับปรุง

ข้อมูลให้ทันสมัย และพัฒนาสื่อให้มีความสมบูรณ์ มากขึ้น โดย ผู้ให้ข้อมูลมีส่วนร่วมในการ

พัฒนา

สำหรับผลการวิจัย กระบวนการพัฒนารูปแบบการสื่อความหมาย ทั้งสองพื้นพบว่าทั้งสอง

พื้นที่มีกระบวนการพัฒนารูปแบบการสื่อความหมายดังนี้

1.กำหนดประเด็นการสื่อความหมายด้วยการมีส่วนร่วมชุมชน ของทั้งสองชุมชน จาก

ทรัพยากรการท่องเที่ยวทั้งธรรมชาติและวัฒนธรรมของชุมชน

2.การผลิตสื่อเพื่อประกอบการสื่อความหมายในสองพื้นที่ ทั้งการสื่อแบบอาศัยบุคคล และ

ไม่อาศัยบุคคล

3.จัดอบรมนักสื่อความหมายชุมชน

4. จัดตั้งคณะทำงานฝ่ ายสื่อความหมายโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน การกำหนดรูปแบบ

การสื่อความหมายในชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนสำหรับผลการวิจัย การกำหนดรูปแบบการสื่อความหมายในเขตพื้นที่พิเศษอุทยาน

ประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ได้ กำหนดรูปแบบ

การสื่อความหมายร่วมกับ ชุมชม ดังนี้

องค์ประกอบที่ 1 ผู้นำชุมชน (leader)

องค์ประกอบที่ 2 คณะทำงานหรือทีมงาน (team)

องค์ประกอบที่ 3 การวิเคราะห์พื้นที่หรือทรัพยากรการท่องเที่ยว (tourism area)

องค์ประกอบที่ 4 การวิเคราะห์นักท่องเที่ยวหรือผู้มาเยือน (tourists)

องค์ประกอบที่ 5 การกำหนดเค้าโครงและแผนการสื่อความหมาย (theme)

องค์ประกอบที่ 6 การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น (participation)

องค์ประกอบที่ 7 การออกแบบและจัดทำโปรแกรมสื่อความหมาย (interpretation design

and media)

องค์ประกอบที่ 8 เครือข่าย (network)

องค์ประกอบที่ 9 การประเมินผล (evaluation)

กระบวนการพัฒนารูปแบบการสื่อความหมายในแหล่งท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์ที่มีการ

ส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมนี้ จะเป็ นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนกิจกรรมการ

ท่องเที่ยวชองชุมชนทั้งสองพื้นที่ เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนต่อไป

คำสำคัญ : รูปแบบการสื่อความหมาย การมีส่วนร่วม เครือข่ายวิสาหกิจการท่องเที่ยวชุมชน พื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Development of The Interpretation Model for CBT Enterprise Networking in Specialized Monumental Areas of Historical Districts-Sukhothai, Si Satchanalai, and Kamphaeng Phet Based on Local People Participation for Sustainable Creative Tourism
Abstract :

In the development of the interpretation model for CBT enterprise networking in the

Specialized Monumental Areas of Historical Districts-Sukhothai, Si Satchanalai, and Kamphaeng

Phet by participation of local communities for sustainable development, this research had the

following objectives: 1) to study the context of interpretation of the creative community-based

tourism enterprise network of the model community in the Specialized Monumental Areas of

Historical districts-Sukhothai, Si Satchanalai, and Kamphaeng Phet; 2) to study the process of

developing interpretation in the Specialized Monumental Areas of Historical Districts-Sukhothai,

Si Satchanalai, and Kamphaeng Phet by the participation of local communities, and 3) to definethe pattern of interpretation in the Specialized Monumental Areas of Historical Districts-Sukhothai,

Si Satchanalai, and Kamphaeng Phet with community participation

Applying non–experimental design model, qualitative methods employed included face to

face in- depth interview asking open ended questions on key topics. Fifty key informants or

respondents per community were selected using random sampling that represented Ban Cook

Pattana Tourism Group, Sarajit Sub-district, and Si Satchanalai District Sukhothai Province as well

as Ban Nakhon Chum Tourism Group, Nakhon Chum Sub-district, Mueang District, Kamphaeng

Phet Province. Data were collected from meetings, discussions and completed questionnaires.

The study showed that on the community context about community tourism resources for

the development of a format/model for interpreting tourism, both target communities met various

natural and cultural tourism resources that have various outstanding points on tourism. For creating

different types of programs on interpretation, it was found that all contributors (100%) of both areas

indicated a meaningful improvement of both personal and non-personal interpretation. People in

the area for personal interpretation were the following: tourism public relations provider, interpreter

or local guides; while non-personal interpretations/ performances available included: meaningful

banners or banners describing tourist sites, brochures, travel posters, community tour routes. These

media in the community have been developed from the Special Area Management Organization for

Sustainable Tourism. (Public Organization) (DASTA) Sukhothai. Informants or respondents had

the intention to develop the media showing the meaning or interpretation of the whole community

by bringing up to date information as well as with contributors participating in the development.

The two study areas applied the following steps in the process of developing interpretation:

1) finalization of the points of interpretation of both natural and cultural tourism resources, through

participation of both communities; 2) production of media from two areas both personal and nonpersonal

interpretation; 3) organizing a training course for community communicators; 4)

establishing a working group on the interpretation with community participation; and 5)

formulation of interpretation model with community participation

The interpretation model by the participation of local communities in the Specialized

Monumental Areas of Historical Districts-Sukhothai, Si Satchanalai, and Kamphaeng Phet had the

following components: : 1) community leader, 2) working group/team, 3) analysis of tourist

destination areas or tourism resources, 4) analysis of tourists or visitors (tourists), 5) formulationof meaningful plans ( theme) , 6) local community participation, 7) designing and creating a

meaningful program, 8) network, and 9) evaluation. The local communities were encouraged to

participate in the process of developing a creative means of interpreting the tourism sites/ tourist

destination areas and will be part of supporting tourism activities in both communities that would

contribute to sustainable tourism development.

Keyword : interpretation model, participation, community tourism enterprise network, Specialized Monumental Areas of Historical Districts-Sukhothai, Si Satchanalai, and Kamphaeng Phet, sustainable tourism
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 อาจารย์ ดร.เกษราพร ทิราวงศ์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ผู้วิจัยหลัก
(2562)
60 ไม่ระบุ
2 อาจารย์ ดร.อำนวยพร ใหญ่ยิ่ง
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ผู้วิจัยร่วม
40 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2562
1/10/2561 ถึง 30/9/2562
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
565,500.00
   รวมจำนวนเงิน : 565,500.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
วันที่ดำเนินการรายละเอียด
19 พฤษภาคม 2564
ลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์ : การพัฒนาสาธารณะ
19 พฤษภาคม 2564
ลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์ : การพัฒนาสาธารณะ
20 ตุลาคม 2564
ลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์ : การพัฒนาสาธารณะ
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023