การพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับเครือข่ายวิสาหกิจการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับมาตรฐานการบริการการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย -ศรีสัชนาลัย - กำแพงเพชร

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-62-02-004.1
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2562
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับเครือข่ายวิสาหกิจการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับมาตรฐานการบริการการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย -ศรีสัชนาลัย - กำแพงเพชร
บทคัดย่อ :

โครงการนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์การจัดการท่องเที่ยว ในเขตพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กาแพงเพชร 2) เพื่อศึกษาสมรรถนะหลักที่จาเป็นด้านมาตรฐานการท่องเที่ยวของบุคลากรทางการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กาแพงเพชร 3) เพื่อพัฒนาสมรรถนะหลักที่จาเป็นด้านมาตรฐานการท่องเที่ยวของเครือข่ายชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างมีส่วนร่วม ในเขตพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กาแพงเพชร และ4) ประเมินผลการพัฒนาสมรรถนะหลักที่จาเป็นด้านมาตรฐานการท่องเที่ยวของบุคลากรทางการท่องเที่ยว ในเขตพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กาแพงเพชร

พื้นที่วิจัย เป็นพื้นที่ต้นแบบ 2 พื้นที่ ประกอบด้วย ชุมชนนครชุม จังหวัดกาแพงเพชร และชุมชนบ้านคุกพัฒนา จังหวัดสุโขทัย โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วน และใช้เทคนิคชุมชนแห่งการเรียนรู้บนฐานการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นหลักการในการขับเคลื่อนงานวิจัย โดยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมคิด ร่วมดาเนินการ ร่วมพัฒนา ร่วมติดตามประเมินผลตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการวิจัย

ผลการวิจัย พบว่า สถานการณ์การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนและศักยภาพของเครือข่ายวิสาหกิจการท่องเที่ยวชุมชนทั้ง 2 พื้นที่มีความโดดเด่นด้านภูมิวัฒนธรรมเกษตรอินทรีย์ อาหารถิ่นศิลปะ หัตถกรรม ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นอัตลักษณ์ เช่น การทาว่าว การทาพระเครื่อง การทาการเกษตรวิถีอินทรีย์ และตารับอาหารถิ่นที่เป็นอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่จากการศึกษาสมรรถนะหลักที่จาเป็นผ่านการศึกษาปัญหาและวิเคราะห์ความต้องการจาเป็น พบว่า มี 5 สมรรถนะ ประกอบด้วย 1) การปรับกระบวนทัศน์การท่องเที่ยวสีเขียว 2) การจัดทาแผนธุรกิจท่องเที่ยวชุมชนโดยใช้โมเดล Canvas 3) การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การสร้างนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ 4) การทางานเป็นทีม 5) การประเมินเสริมพลังอย่างมีส่วนร่วมสู่การขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบาย และดาเนินการพัฒนาสมรรถนะแก่คณะกรรมการเครือข่ายท่องเที่ยวชุมชนทั้ง 2 พื้นที่ รวมจานวน 100 คน โดยใช้รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้แนวคิด Active learning ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม ทั้งภาคบรรยาย และภาคปฏิบัติการผ่านเทคนิคการจัดการความรู้และชุมชนแห่งการเรียนรู้ ทั้งนี้ผลการพัฒนาสมรรถนะหลักที่จาเป็นด้านมาตรฐานการท่องเที่ยวสีเขียวของบุคลากรทางการท่องเที่ยว ในเขตพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กาแพงเพชร โดยสรุปในภาพรวมหลังการอบรมหลักสูตรฯทั้ง 5 โมดูล ของสมาชิกเครือข่ายชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนทั้ง 2 พื้นที่ พบว่า มีค่าคะแนนเฉลี่ยโดยรวมเพิ่มสูงขึ้นจากค่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01

คำสำคัญ : การพัฒนาสมรรถนะที่จาเป็น เครือข่ายวิสาหกิจการท่องเที่ยวโดยชุมชน กระบวนการมีส่วนร่วม มาตรฐานการบริการการท่องเที่ยว
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : The Essential Competency Development for CBT Enterprise Networking by Using Participatory Process to Enhance Tourism Service Standard in Specialized Monumental Areas of Historical Districts-Sukhothai, Si Satchanalai, and Kamphaeng Phet
Abstract :

The purposes of this research were to :1) study and analyze the situation of community-based tourism management, 2) study the essential competency development for CBT enterprise networking, 3) develop the essential competency for CBT enterprise networking, and 4) evaluate the essential competency for CBT enterprise networking , to enhance tourism service standard in specialized monumental areas of historical districts-Sukhothai, Si Satchanalai, and Kamphaeng Phet. Research areas were two areas consisting of Nakhon Chum Community, Kamphaeng Phet province and Ban-Cook-Pattana community, Sukhothai province. This research used participatory action research (PAR) with learning community based on knowledgemanagement of local wisdom by all stakeholders participated to think, to do, to develop, and to evaluate from beginning until the end processes.

The research results revealed that the situation and the potential of CBT enterprise networking in both areas were outstanding in geocultural, organic agriculture, local food, folk arts and crafts, local history and cultural traditions that are unique, such as kite making, Buddha amulet making, and recipes of local food of each areas. Moreover, from the study of problems and need analysis to develop the essential competency for CBT enterprise networking, it was found that there were 5 competencies: 1) the green tourism paradigm shift 2) the business plan for CBT by using Canvas model 3) knowledge management of local wisdom to create innovation 4) teamwork management 5) participatory empowerment assessment to drive policy proposals and perform competency development for CBT committees in both areas, totaling 100 people by using participatory learning process with lecture part and workshop part through knowledge management techniques and learning community. In summary, the results of five essential competencies development found that the overall average score, the post-training was significantly higher than the pre-training at the 0.01.

Keyword : Essential competency development, CBT enterprise networking, participatory process, tourism service standard
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริพร พันธุลี
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ผู้วิจัยหลัก
(2562)
60 ไม่ระบุ
2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา วณิชชานนท์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ผู้วิจัยร่วม
10 ไม่ระบุ
3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.นิโรจน์ สินณรงค์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเศรษฐศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
10 ไม่ระบุ
4 ดร.ชุติพนธ์ ศรีสวัสดิ์
ประเภทบุคคล : บุคคลภายนอก
หน่วยงานต้นสังกัด : -
ผู้วิจัยร่วม
10 ไม่ระบุ
5 ผศ.ดร.กวินธร เสถียร
ประเภทบุคคล : บุคคลภายนอก
หน่วยงานต้นสังกัด : -
ผู้วิจัยร่วม
10 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2562
1/10/2561 ถึง 30/9/2562
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
1,039,610.00
   รวมจำนวนเงิน : 1,039,610.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023