การเสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายวิสาหกิจการท่องเที่ยวชุมชนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านมาตรฐานและบริการในเขตพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย -ศรีสัชนาลัย - กำแพงเพชร

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-62-02-004
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2562
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การเสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายวิสาหกิจการท่องเที่ยวชุมชนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านมาตรฐานและบริการในเขตพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย -ศรีสัชนาลัย - กำแพงเพชร
บทคัดย่อ :

โครงการนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายวิสาหกิจการท่องเที่ยวชุมชนสู่มาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนในเขตพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย -ศรีสัชนาลัย – กาแพงเพชร 2) เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายวิสาหกิจการท่องเที่ยวชุมชนสู่มาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนในเขตพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย -ศรีสัชนาลัย – กาแพงเพชร และ 3) เพื่อเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายในการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจการท่อง เที่ยวชุมชนสู่มาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนในเขตพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย -ศรีสัชนาลัย – กาแพงเพชร พื้นที่วิจัย เป็นพื้นที่ต้นแบบ 2 พื้นที่ ประกอบด้วย ชุมชนนครชุม จังหวัดกาแพงเพชร และชุมชนบ้านคุกพัฒนา จังหวัดสุโขทัย โดยใช้กระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่นอย่างมีส่วนร่วม และการจัดการเชิงกลยุทธ์สู่ชุมชนแห่งการเรียนรู้ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายท่องเที่ยวชุมชน โดยมีวิธีการดาเนินงาน 3 ขั้นตอนหลัก ดังนี้ 1) ขั้นเตรียมการ : ประชุมแกนนาชี้แจงวัตถุประสงค์ สนทนากลุ่มร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในพื้นทิ่ทุกภาคส่วนสาหรับการดาเนินการพัฒนาเครือข่ายท่องเที่ยวขุมชนที่ผ่านมาในพื้นที่นาร่องทั้ง 2 พื้นที่ จัดเวทีประชุมค้นหาความต้องการและจัดลาดับความสาคัญในการพัฒนาในการบริหารจัดการเครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชน 2) ขั้นดาเนินการ : จัดเวทีศึกษาบริบท วิเคราะห์ปัญหา กาหนดแนวทางพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม พัฒนาศักยภาพเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการเพื่อเพื่อขับเคลื่อนสุขภาวะในชุมชน และ3) ขั้นติดตามประเมินผลและถ่ายทอดความรู้: จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ประเมินผลการเรียนรู้ จัดทาข้อเสนอเชิงนโยบายอย่างมีส่วนร่วม คืนข้อมูลชุมชนและถ่ายทอดองค์ความรู้สู่การใช้ประโยชน์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางที่หลากหลาย เช่น เว็บไซต์ วิทยุชุมชน เฟสบุ๊ค และคู่มือองค์ความรู้ เป็นต้น

ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายวิสาหกิจการท่องเที่ยวชุมชนสู่มาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนในเขตพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย -ศรีสัชนาลัย – กาแพงเพชร ประกอบด้วย 5 รูปแบบ คือ 1) พัฒนาทุนมนุษย์ : เสริมสร้างพลังกลุ่มเครือข่ายท่องเที่ยวชุมชน 2) พัฒนารูปแบบการสื่อความหมาย 3) พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ 4) สร้างกลยุทธ์พัฒนาอาหารพื้นถิ่น และ 5) พัฒนาโฮมสเตย์เพื่อรองรับท่องเที่ยวชุมชน

ด้านกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายวิสาหกิจการท่องเที่ยวชุมชนสู่มาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน พบว่า มี 3 กลไก 6 มิติ ประกอบด้วย 1) ภาครัฐระดับท้องที่ท้องถิ่น 2) ภาควิชาการ 3) ภาคประชาสังคมและผู้ประกอบการ โดยมีส่วนร่วม 1) มิติสนับสนุนงบประมาณ 2) มิติการพัฒนาศักยภาพทีม 3) มิติจัดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนและนอกชุมชนสู่การขยายเครือข่าย 4) มิติการพัฒนานวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์สู่การยกระดับองค์ความรู้ในชุมชนและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น 5) มิติประเมินเสริมพลังกลุ่ม และ6) มิติกาหนดข้อเสนอเชิงนโยบาย เป้าหมายและทิศทางในการดาเนินงานท่องเที่ยวชุมชนเชิงรุกบนฐานความยั่งยืนอย่างมีส่วนร่วม

สาหรับข้อเสนอเชิงนโยบายในการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจท่องเที่ยวชุมชนสู่มาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน2พื้นที่ มีข้อเสนอเชิงนโยบาย 7 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการ เสริมความเข้มแข็งการบริหารจัดการ 2) ด้านการเสริมสร้างนักสื่อความหมาย 3) ด้านการจัดการตลาด4) ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ สินค้าและการบริการ 5) ด้านการพัฒนาที่พักโฮมสเตย์ 6) ด้านการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย 7) ด้านการจัดการความรู้ทั้งภายในและภายนอก เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ เศรษฐกิจการท่องเที่ยวชุมชนและการแข่งขันด้านมาตรฐานและการบริการการท่องเที่ยวได้อย่างยั่งยืน

คำสำคัญ : การเสริมสร้างความเข้มแข็ง เครือข่ายวิสาหกิจการท่องเที่ยวชุมชน การเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขัน มาตรฐานและบริการการท่องเที่ยว พื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย -ศรีสัชนาลัย - กาแพงเพชร
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Strengthening Community-Based Tourism Enterprise Networking for Building Competitive Advantage on Tourism Standard and Hospitality in Specialized Monumental Areas of Historical Districts-Sukhothai, Si Satchanalai, and Kamphaeng Phet
Abstract :

The purposes of this research were to :1) study the pattern of strengthening community-based tourism enterprise networking, 2) study the process of community participation, and 3) propose policy recommendations, for building competitive advantage on tourism standard and hospitality in specialized monumental areas of historical districts-Sukhothai, Si Satchanalai, and Kamphaeng Phet. Research areas were two prototype areas consisting of Nakhon Chum Community, Kamphaeng Phet province and Ban-Cook-Pattana community, Sukhothai province. This research used community based research (CBR) plus strategic management to learning community (SMLC) in strengthening community tourism networks. There were 3 main steps of operation as follows: 1) preparation step: arrage leader meeting stage to clarify the objectives, arrange group discussion with relevant network partners in all areas for the development of the previous folk tourism network in the two pilot areas, organize a forum, find out the needs and prioritize the development of manage the community-based tourism network, 2) operation Step: study a context study, analyze the problem, determine the process with particiation, develop the capacity of CBT networking through operational learning processes to drive well-being in the community, and 3) monitoring & evaluation and transfer of knowledge step: arrange learning exchanging stage, evaluate learning outcomes, make participatory policy for development, return the research result to community, transfer knowledge to use, and disseminate the result through various channels such as website, community radio, facebook and knowledge manual.

The research results revealed that there were 5 patterns of strengthening community-based tourism networking towards sustainable community-based tourism standards in the special area of Sukhothai-Si Satchanalai-Kamphaeng Phet Historical Park including 1) human capital development through leader empowerment of the CBT networks 2) interpretation development for CBT enterprise networking, 3) English communication skills developemnt, 4) strategies development for local creative food products and 5) homestay development to support community tourism.

The participatory process of community in strengthening the CBT enterprise network towards sustainable standards, it was found that there were 3 mechanisms and 6 dimensions: 1) government sector, 2) academic sector, and 3) civil and society sector. All 3 sectorsparticipated within 6 dimensions including 1) budget support dimension 2) team capacity development dimension 3) learning process exchanging dimension both of inside and outside to expand the network 4) creative innovation development dimension to reskill and upskill in CBT management. 5) assessment dimension with group empowerment and 6) policy proposed dimension including goals and directions for proactive CBT management with participation and sustainability.

The policy for strengthening community-based tourism networking for building competitive advantage on tourism standard in 2 areas. There were 7 sections consisting of 1) management strengthening, 2) interpretation enhancing for CBT enterprise networking, 3) marketing management, 4) products and services development 5) homestay management 6) policy driving for action plan, 7) knowledge management both of inside and outside for strengthening and developing human capital, social capital, economy in community, enviroment towards sustainable community-based tourism standards service.

Keyword : Strengthening, community-based tourism enterprise networking, building competitive advantage, tourism standard and hospitality, specialized monumental areas of Historical Districts – Sukhothai - Si Satchanalai - Kamphaeng Phet
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
ชุดโครงการ : แผนงาน หรือชุดโครงการ
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริพร พันธุลี
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ผู้วิจัยหลัก
(2562)
35 ไม่ระบุ
2 อาจารย์ ดร.อำนวยพร ใหญ่ยิ่ง
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ผู้วิจัยร่วม
15 ไม่ระบุ
3 อาจารย์ ดร.เกษราพร ทิราวงศ์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ผู้วิจัยร่วม
15 ไม่ระบุ
4 อาจารย์อโนชา สุภาวกุล
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ผู้วิจัยร่วม
15 ไม่ระบุ
5 อาจารย์ ดร.สมบัติ กันบุตร
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ผู้วิจัยร่วม
15 ไม่ระบุ
6 ดร.อาชว์บารมี มณีตระกูลทอง
ประเภทบุคคล : บุคคลภายนอก
หน่วยงานต้นสังกัด : -
ผู้วิจัยร่วม
5 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2562
1/10/2561 ถึง 30/9/2562
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
285,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 285,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023