การพัฒนาตัวแบบโรงงานต้นแบบของการเพาะเลี้ยงแมลงศัตรูธรรมชาติ สาหรับการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธีในเชิงพานิชย์

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-62-01-031
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2562
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การพัฒนาตัวแบบโรงงานต้นแบบของการเพาะเลี้ยงแมลงศัตรูธรรมชาติ สาหรับการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธีในเชิงพานิชย์
บทคัดย่อ :

ชุดโครงการวิจัยเรื่องการพัฒนาตัวแบบโรงงานต้นแบบของการเพาะเลี้ยงแมลงศัตรูธรรมชาติ สำหรับการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธีในเชิงพาณิชย์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 (ปีงบประมาณแรกในการวิจัย) ได้ดำเนินการพัฒนาโรงงานต้นแบบฯ ตามกรอบการดำเนินกิจการของโรงงานสอดคล้องกับมาตรฐานด้านการผลิตแมลงศัตรูธรรมชาติของ International Organization for Biological Control (IOBC) ครบถ้วนทั้งในด้านปัจจัยนํ้าเข้า และกระบวนการผลิต โครงการฯ ได้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและจัดหาปัจจัยการผลิตโดยนำผลจากการวิเคราะห์จากข้อมูลด้านกีฏวิทยาและนิเวศวิทยา ของโรงงานฯ ซึ่งตั้งอยู่ ณ ศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พิกัดเส้นรุ้ง (latitude) 18.9264 เส้นแวง (longitude) 99.0532 มีพื้นที่รวมโดยประมาณ 6 ไร่ ประกอบด้วยหน่วยผลิต วิจัย พัฒนาและควบคุมคุณภาพ รวมทั้ง หน่วยบริหารจัดการ ซึ่งในภาพรวมสามารถดำเนินกิจการของโรงงานได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีกำลังการผลิตแมลงศัตรูธรรมชาติในเป้าหมาย ได้แก่ มวนพิฆาต (stink bug, Eocanthecona furcellata, Hemiptera: Pentatomidae) ในระยะไข่ เฉลี่ย 236,860.93 ฟองต่อวัน ตัวอ่อนในจำนวน 230,418.31 และ ตัวเต็มวัย 226,040.37 ตัวต่อวัน ส่วนแตนเบียน ไข่ Trichogramma sp. (Hymenoptera: Trichogrammatidae) มีกำลังผลิต เฉลี่ยวันละ 4, 666 ตัวต่อวัน ทั้งนี้ผลการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตต่อหน่วย พบว่าต้นทุนการผลิตตัวอ่อนมวนพิฆาตมีต้นทุนต่อหน่วยตํ่าที่สุด เท่ากับ 2.97 บาท โดยโรงงานต้นแบบฯ มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value - NPV) เป็นบวก อัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) เท่ากับ 14.52 เปอร์เซ็นต์ ระยะเวลาคืนทุน (Payback Period) เท่ากับ 4 ปี 9 เดือน อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน(

Benefit/Cost Ratio - BCR) เท่ากับ 1.83 ทำให้สรุปได้ว่าการลงทุนมีผลตอบแทนคุ้มค่าในการลงทุน ส่วน การวิเคราะห์ความต้องการเชิงนิเวศวิทยาประชากรของแมลงศัตรูธรรมชาติกับแมลงศัตรูที่เป็นเป้าหมายในการไปจำหน่าย กรณีศึกษา ในนาข้าวและพืชผักวงศ์กะหลํ่า ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน รวม 8 จังหวัด พบว่าชนิดของแมลงศัตรูพืชที่เป็นเป้าหมายการใช้ประโยชน์ของแมลงตัวหํ้าในเป้าหมาย ได้แก่หนอนผีเสื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงศ์ Crambidae และ Noctuidae ซึ่งมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และระยะไข่ของแมลงทุกชนิดสำหรับแตนเบียนไข่ไตรโคแกรมม่า ซึ่งแม้ว่าจะพบแมลงศัตรูธรรมชาติในเป้าหมายในแปลงปลูก แต่ยังมีปริมาณไม่สูงเพียงพอสำหรับการควบคุมการระบาดของศัตรูพืช จึงเป็นการชี้ให้เห็นความจำเป็นของการปลดปล่อยเพิมเติม รวมทั้งมีความเป็นไปได้ในการผลิตเพื่อจำหน่าย และควบคู่ไปกับการดำเนินกิจกรรมด้านการผลิต และการตลาด โรงงานได้การพัฒนาระบบการติดตามและประเมินผล การบริหารจัดการด้านการผลิต การตลาด และการให้บริการ ผลิตภัณฑ์เชื้อพันธุ์แมลงศัตรูธรรมชาติ เพื่อใช้ในการตัดสินใจลงทุนโดยใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ผลปรากฎว่า ระบบประเมินการดำเนินกิจการของโรงงานในด้านศักยภาพการผลิตที่พัฒนาขึ้นมานี้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับสูงพอสมควรและสามารถนำไปใช้งานจริงได้ต่อไป

คำสำคัญ : โรงงานต้นแบบ , แมลงศัตรูธรรมชาติ , การควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีเชิงพาณิชย์
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Development of Modular Pilot Plant for Mass rearing of Insect Natural Enemies for Commercial Biological Control
Abstract :

Development of Modular Pilot Plant for mass rearing of Insect Natural Enemies for commercial biological control purpose was conducted on the biscol year 2019. It is an adoption to insect natural enemy mass rearing standard of the International Organization for Biological Control (IOBC) as input and output based on entomological, ecological and geographical analysis. The pilot plant was developed at MJU- Biological Control Technology Learning Center located on Mae Jo University farm at latitude 18.9264 N longitude 99.0532 E. The total area of 6 rai was divided for production, research and development and quality control as well as administration units. Production performances test showed the productivity for Stink bug, Eocanthecona furcellata, Hemiptera: Pentatomidae)of the egg, nymphal and adult stages at 236,860.93, 230,418.31 and 226,040.37 per day respectively while of an egg parasitoid, Trichogramma sp. (Hymenoptera: Trichogrammatidae) was 4, 666 in average per day. The cost analysis associated with fixed and variable costs obtained showed lowest cost per unit for the production of nymphal stage at 2.97 BTH and Net Present Value (NPV) was positive. Accordingly, Internal Rate of Return (IRR), Payback Period and Benefit cost ratio (BCR) were 14.52 percent, 4 years and 9 months, and 1.83, respectively indicating thr cost effectiveness of the pilot plant. Evaluation of population ecology of target insect natural enemies and their target insect pests for further demand and supply analysis was conducted in eight northernprovinces

. It was found that target pests for the insect predators were all Lepidopteran larva damaging rice and crusiferous crops especially in family Crambidae and Noctuidae. While all the egg stage of all insect pests were target host of the egg parasite, Trichogramma sp. Although, the insect natural enemies were found naturally, but their populations were not high enough for biological control in monocropping practices indicating possibility for commercial natural enemy mass production and augmentative biological control. Finally, development of monitoring and evaluation system for the pilot plant operation was conducted by means of information technology (IT). The evaluation system indicated high level of productivity and capacity of the pilot plant and the system was promising for the implementation.

Keyword : pilot plant, insect natural enemies, commercial biological control
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
ชุดโครงการ : แผนงาน หรือชุดโครงการ
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศมาพร แสงยศ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะผลิตกรรมการเกษตร
ผู้วิจัยหลัก
(2562)
40 ไม่ระบุ
2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัชนียา บังเมฆ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะบริหารธุรกิจ
ผู้วิจัยร่วม
40 ไม่ระบุ
3 นายสุรเดช ไชยมงคล
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : ไม่ระบุ
หน่วยงานต้นสังกัด : สำนักงานมหาวิทยาลัย / กองเทคโนโลยีดิจิทัล / งานวิจัยและพัฒนา
ผู้วิจัยร่วม
20 ไม่ระบุ
4 นายบัณฑิต ต๊ะเสาร์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : ไม่ระบุ
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะผลิตกรรมการเกษตร / สำนักงานคณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร / งานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา
ผู้วิจัยร่วม
20 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2562
1/10/2561 ถึง 30/9/2562
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
386,400.00
   รวมจำนวนเงิน : 386,400.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023