การตลาดยุคดิจิทัลของผลิตภัณฑ์ลำไยอบแห้งเนื้อสีทอง

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-62-01-027.2
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2562
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การตลาดยุคดิจิทัลของผลิตภัณฑ์ลำไยอบแห้งเนื้อสีทอง
บทคัดย่อ :

การศึกษาเรื่อง การตลาดยุคดิจิทัลของผลิตภัณฑ์ลำไยอบแห้งเนื้อสีทอง (Digital Marketing of Golden Dried Longan) มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 4 ประการ ได้แก่ (1) เพื่อวิเคราะห์การตลาดของลำไยอบแห้งเนื้อสีทอง ทั้งตลาดกายภาพ (Physical Market) และตลาดดิจิทัล (Digital Market) (2) เพื่อคาดการณ์แนวโน้มความต้องการผลิตภัณฑ์ลำไยอบแห้งเนื้อสีทองในอนาคต ทั้งตลาดกายภาพ (Physical Market) และตลาดดิจิทัล (Digital Market) (3) เพื่อนาเสนอกลยุทธ์ทางการตลาดในยุคดิจิทัลของผลิตภัณฑ์ลำไยอบแห้งเนื้อสีทอง และ (4) เพื่อนำเสนอระบบสนับสนุนการบริหารการตลาดในยุคดิจิทัลของผลิตภัณฑ์ลำไยอบแห้งเนื้อสีทองข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ พฤติกรรมและการรับรู้ของผู้บริโภคชาวจีน ปริมาณการส่งออกลำไยอบแห้ง และข้อมูลบนสื่อออนไลน์ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ แบบจำลองARIMA และ เทคนิค Scraping Data การศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างรู้จักลำไยอบแห้งและเคยทานตั้งแต่อยู่ที่ประเทศจีน ส่วนใหญ่ทุกเพศ ทุกวัย เคยทานทั้งลำไยอบแห้งทั้งเปลือกและลำไยอบแห้งเฉพาะเนื้อ (ลำไยอบแห้งเนื้อสีทอง) สัดส่วนของคนที่ซื้อมาทานเองและมีคนซื้อมาฝากไม่แตกต่างกันนัก กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 20 ซื้อลำไยอบแห้งผ่านช่องทางออนไลน์ในประเทศจีน อย่างไรก็ดี กว่าร้อยละ 60 ของกลุ่มตัวอย่างคิดว่ามีโอกาสที่พวกเขาจะซื้อลำไยอบแห้งผ่านช่องทางออนไลน์กับผู้ขายในประเทศไทยโดยตรงการคาดการณ์แนวโน้มความต้องการลำไยอบแห้งในตลาดกายภาพด้วย แบบจำลอง ARIMA พบว่า ความต้องการลำไยอบแห้งมีแนวโน้มคงตัว อย่างไรก็ดีสัดส่วนการค้าในตลาดดิจิทัลมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะภายหลังการแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 คาดการณ์ว่าในปี 2567 ตลาดดิจิทัลน่าจะมีขนาดประมาณร้อยละ 50 ของตลาดกายภาพการตลาดออนไลน์ในประเทศไทย แพลตฟอร์มที่เหมาะสมในการทาการตลาดได้แก่ Facebook และ E-commerce ต่าง ๆ อาทิ Shopee, Lazada, Amazon สาหรับการตลาดออนไลน์ระหว่างประเทศ แพลตฟอร์มที่เหมาะสมที่สุดได้แก่ Alibaba สาหรับข้อมูลภาพรวมบริษัทที่ทำการตลาดบนโลกออนไลน์ ทั้งตลาดในประเทศ ตลาดเอเชีย หรือตลาดอื่น ประเทศไทยถือว่ามีการใช้งานจานวนพอสมควร และสามารถแข่งขันได้ โดยเป็นผู้ตามอันดับสองของตลาดรองจากจีน การวิเคราะห์ Word Cloud ความคิดเห็นจาก Feedback ทั้งตลาดในประเทศไทยและตลาดต่างประเทศ ผู้บริโภคออนไลน์ต่างให้ความสาคัญกับ 3 ปัจจัย ได้แก่ คุณภาพ ราคา และความเร็วในการจัดส่ง

คำสำคัญ : ลำไยอบแห้ง ลาไยอบแห้งเนื้อสีทอง ตลาดดิจิทัล เทคนิค Scraping Data
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Digital Marketing of Golden Dried Longan
Abstract :

This study is mainly about the Digital Marketing of Golden Dried Longan. The aims of this study are (1) to analyze both physical and digital marketing of Golden Dried Longan, (2) to anticipate the trend of demand for Golden Dried Longan in both of physical market and digital market in the future, (3) to propose the marketing strategy in the era of digital for Golden Dried Longan, lastly, (4) to propose the support system of digital marketing for Golden Dried Longan. Data used in this study were behavior and cognition of Chinese consumers, export quantity of Golden Dried Longan, and data via social media by using the qualitative data analysis, ARIMA model model and Scraping data technique. The study found that the samples knew the dried longan and had eaten since they were in China. Most of them have tasted both dried longan with shell and dried longan without shell (Golden Dried Longan). The proportion of samples who bought by oneself are not difference from who received from others. 20 percent used to order dried longan online in their country, however, more than 60 percent of the sample will be order dried longan online from Thailand in the future. The analysis of ARIMA model present that there is a stable trend in the demand for Dried Longan in physical market while increasingly in the proportion of trade in digital market particularly after the worldwide Covid-19 pandemic. In 2024, digital market size should be approximately 50 percent of the physical market. The appropriate platforms for online marketing in Thailand are Facebook and other Ecommerce such as Shopee, Lazada, Amazon. The most appropriate platform for international trade online is Alibaba. According to online dried longan company in domestic market, Asian market and other market. Thailand is considered a fair amount of use and be able to compete by being the second market follower after China. Word Cloud Analysis reveals customer feedback in both domestic and foreign markets that online consumers pay attention on top 3 factors influencing consumers purchasing including quality, price, and delivery speed.

Keyword : Dried Longan, Golden Dried Longan, Digital Market, Scraping Data Technique
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิศาชล ลีรัตนากร
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเศรษฐศาสตร์
ผู้วิจัยหลัก
(2562)
40 นักวิจัยรุ่นเก่า
2 อาจารย์ ดร.กันตพร ช่วงชิด
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเศรษฐศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
30 นักวิจัยรุ่นเก่า
3 อาจารย์ ดร.เกวลิน สมบูรณ์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเศรษฐศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
30 นักวิจัยรุ่นเก่า
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2562
1/10/2561 ถึง 30/9/2562
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
300,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 300,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
1 ธันวาคม 2564
วารสารที่ตีพิมพ์ : วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 
ฉบับที่ : Vol. 7 No. 2 (2021): กรกฎาคม - ธันวาคม 2564
หน้า : 1-17
ระดับการนำเสนอ : ระดับชาติ
เจ้าของวารสาร : โครงการจัดทำวารสารวิชาการมหาวิทลัยราชภัฏธนบุรี
0.6
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023