การพัฒนาระบบการจัดการการผลิตลำไยอบแห้งเนื้อสีทองด้วยเครือข่ายดิจิตอลและสมาร์ทฟาร์มมิ่ง

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-62-01-027.1
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2562
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การพัฒนาระบบการจัดการการผลิตลำไยอบแห้งเนื้อสีทองด้วยเครือข่ายดิจิตอลและสมาร์ทฟาร์มมิ่ง
บทคัดย่อ :

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดหาปัจจัยการผลิต การจัดการผลิต ระบบการ

ประเมินสถานการณ์จำลองด้านการจัดการการผลิตของวิสาหกิจชุมชนลำไยอบแห้งเนื้อสีทอง และการ

พัฒนาระบบการบริหารจัดการด้านการผลิตด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะช่วยให้ทราบถึงระบบการ

บริหารจัดการด้านการผลิตลำไยอบแห้งเนื้อสีทองของผู้ประกอบการ/ผู้ผลิต และนำมาใช้เป็นฐานข้อมูล

สำหรับผู้ผลิตในการประเมินสถานการณ์จำลองสำหรับการตัดสินใจวางแผนบริหารจัดการผลิตในกลุ่ม/

วิสาหกิจชุมชนในอนาคต การคำนวณต้นทุนการผลิตลำไยอบแห้งเนื้อสีทองล่วงหน้า เพื่อประโยชน์

สำหรับผู้ผลิตในการวางแผนทางการเงินและประโยชน์ทางการตลาดสำหรับผู้ผลิตและคู่ค้าในการ

ติดต่อเจรจาการค้าผลิตภัณฑ์แปรรูปลำไยอบแห้งเนื้อสีทอง โดยทำการศึกษากลุ่มผู้ประกอบการ/ผู้ผลิต

ลำไยอบแห้งในอำเภอเมือง จังหวัดลำพูน และอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่

ผลการศึกษา พบว่า การรวมกลุ่มยังเป็นการรวมตัวกันจัดตั้งกันอย่างหลวม ๆ ตามเงื่อนไขของ

การสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานของรัฐเป็นหลัก ผู้ผลิตมีเงินลงทุนจำนวนน้อยจึงใช้วัสดุและอุปกรณ์ที่หาได้ภายในท้องถิ่นซึ่งทำให้การผลิตไม่เป็ นไปตามมาตรฐาน การผลิตผลิตภัณฑ์ลำไย

อบแห้งส่วนใหญ่อยู่ในช่วงฤดูกาลผลิต โดยเฉลี่ย 1 รอบการผลิตจะอยู่ระหว่าง 20 – 30 วัน กระบวนการ

ผลิตลำไยอบแห้งผู้ผลิตจะอาศัยประสบการณ์และความชำนาญในการผลิต ซึ่งการผลิตลำไยอบแห้งจะมี

ทั้งแบบการรับคำสั่งซื้อล่วงหน้าจากล้งและแบบการผลิตควบคู่ไปกับการรับคำสั่งซื้อ และจะจัดจำหน่าย

สินค้าทันทีเพื่อรักษาคุณภาพเรื่องสี กลิ่น รสชาติของผลิตภัณฑ์ลำไยอบแห้ง และการคิดต้นทุนผู้ผลิตจะ

มีวิธีการคำนวณจาก ราคาขาย = ต้นทุน + กำไร ขึ้นอยู่กับการเจรจาต่อรองกับคู่ค้า/พ่อค้าคนกลาง

อย่างไรก็ตามแม้ว่าลำไยอบแห้งเนื้อสีทองจะเป็ นที่ต้องการของผู้บริโภคอยู่มากในตลาดส่งออก

ต่างประเทศโดยเฉพาะจีน แต่ก็ยังไม่สามารถผลิตลำไยอบแห้งได้เพียงพอกับความต้องการได้ เนื่องจาก

ผลผลิตลำไยสดมีไม่เพียงพอต่อการผลิต ราคาลำไยสดมีความผันผวนเป็นรายวันและถูกกดราคาจากล้ง/

พ่อค้าคนกลาง ทำให้แบกรับความเสี่ยงต้นทุนในการผลิตที่สูง ในบางปีหากผู้ผลิตไม่ได้รับการ

สนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐก็จะหยุดทำการผลิตในปีนั้นๆ

นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณการผลิตลำไยอบแห้งเนื้อสีทองด้วย

แบบจำลองสมการหลายตัวแปรเพื่อนำมาประเมินสถานการณ์จำลองด้านการจัดการการผลิตลำไย

อบแห้งพบว่า ผลผลิตลำไยสด เนื้อที่ให้ผลผลิตลำไยสดและปริมาณน้ำฝนเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิต

ลำไยอบแห้งเนื้อสีทอง เมื่อนำตัวแปรนั้นมาพยากรณ์แนวโน้มปริมาณผลผลิตลำไยอบแห้งเนื้อสีทอง

จะเห็นได้ว่าในปี 2563 – 2570 ปริมาณความต้องการผลผลิตลำไยอบแห้งเนื้อสีทองมีแนวโน้มเพิ่ม

สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ข้ออมูลดังกล่าวจะทำให้ผู้ผลิตสามารถนำไปวางแผนบริหารจัดการผลิต การ

วางแผนทางการเงินในกลุ่ม/วิสาหกิจชุมชน และนำข้อมูลไปคำนวณต้นทุนปัจจัยการผลิต/ต้นทุนการ

ผลิตลำไยอบแห้งเนื้อสีทองล่วงหน้าซึ่งจะช่วยผู้ผลิตในการบริหารจัดการระบบการผลิตต่างๆ และเป็น

ข้อมูลในการติดต่อเจรจาการค้าผลิตภัณฑ์แปรรูปลำไยอบแห้งเนื้อสีทองกับคู่ค้าได้

คำสำคัญ : ลำไยอบแห้งเนื้อสีทอง ระบบการจัดการการผลิต เครือข่ายดิจิตอลและสมาร์ทฟาร์มมิ่ง
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Development of Golden Dried Longan Production System Management with Digital Network and Smart Farming
Abstract :

This research aims to study the model of sourcing of production factors, production

management, assessment system for production management of golden dried longan community

enterprise, and the development of electronic production management system. Which will help to

know the production management system for golden dried longan of entrepreneurs / producers, and

use it as a database for manufacturers in evaluating simulations for future production planning

decisions within the group/ community enterprises, to calculate the production cost of golden dried

longan in advance for the benefit of manufacturers in financial planning and marketing, and trading

partners in negotiating trade for dried golden longan products by studying the group of entrepreneurs /

manufacturers of dried longan in Mueang District, Lamphun Province, and Saraphi District, Chiang

Mai Province.

The results of the study revealed that the integration was loosely organized in accordance

with the conditions of budget support from government agencies. Manufacturers have a small

investment and therefore use materials and equipment that are locally available, which makes the

production does not meet the standards. Mostly the production of dried longan is during the

production season. On average, the production cycle will be between 20 - 30 days. The production

process of dried longan is based on experience and expertise in the production, which the production

of dried longan will include both pre-orders from the customers and production drawings in parallel

with receiving orders, and will distribute the products immediately in order to maintain the quality,

color, aroma, and taste of the dried longan products. The manufacturer's costing method is calculated

based on sales price = cost+profit, depending on negotiation with partners / middlemen. However,

although golden dried longan is in high demand among consumers in foreign markets, especially

China, it is still unable to produce enough to meet demand, since raw fresh longan production is not

sufficient, the price of raw fresh longan fluctuates daily and underprice from merchants / middlemen,

causing manufacturers to bear the risk of high production costs. Sometimes, if the manufacturer does

not receive financial support from the government, they will stop the production in that year.In addition, the results of the analysis of factors affecting the production of golden dried

longan by using the Multiple Regression Model in order to assess the management situation of dried

longan production, found that raw fresh longan, harvested area of fresh longan, and the amount of

rainfall are the factors that affect the production of golden dried longan. When taking these variables

to predict the trend of the quantity of golden dried longan, can be seen that in 2020-2027, the demand

for golden dried longan tends to continuously increase. This result will enable manufacturers to plan

production management, financial planning in groups / community enterprises, and use the data to

calculate the cost of production factors / production cost of golden dried longan in advance, which

will help the manufacturer to manage the various production systems and to use information to

negotiate with the trade partners.

Keyword : Golden Dried Longan, Production System Management, Digital Network and Smart Farming
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิวรัตน์ กุศล
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเศรษฐศาสตร์
ผู้วิจัยหลัก
(2562)
50 ไม่ระบุ
2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤตวิทย์ อัจฉริยะพานิชกุล
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเศรษฐศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
50 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2562
1/10/2561 ถึง 30/9/2562
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
300,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 300,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023