การนำภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนา มาแปรรูปข้าวอินทรีย์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-62-01-026.1
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2562
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การนำภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนา มาแปรรูปข้าวอินทรีย์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
บทคัดย่อ :

งานวิจัยเรื่อง การนาภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนามาแปรรูปข้าวอินทรีย์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในพื้นที่อาเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการแปรรูปข้าวของกลุ่มเกษตรผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ในพื้นที่อาเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มเกษตรกร (ผู้ปลูกข้าว) กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มเยาวชน ที่ผ่านการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จานวน 60 คน โดยการใช้การสนทนากลุ่ม (Group interview) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) กับกลุ่มค้าสินค้าอินทรีย์ และใช้การสุ่มแบบแบบบังเอิญ (Accidental Sampling)ด้วยแบบสอบถาม (Questionnaire) จานวน 120 ชุดกับกลุ่มลูกค้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) และการวิเคราะห์การวิจัยเชิงปริมาณใช้การวิเคราะห์สถิติพรรณนา (Descriptive Analysis) ผลการศึกษาพบว่า ผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์ที่เกษตรได้แปรรูป ประกอบด้วย ข้าวแต๋น ข้าวล้อมเหรียญ และข้าวควบไทลื้อ โดยกลุ่มเกษตรมีความเชี่ยวชาญด้านการผลิต ขณะที่การแปรรูปและการจาหน่ายโดยเฉพาะการจาหน่ายแบบออนไลน์ไม่มีความถนัด กลุ่มแม่บ้านและกลุ่มผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มที่มีความพร้อมและศักยภาพในการแปรรูป แต่ไม่ถนัดเรื่องการปลูกและการจาหน่าย ส่วนกลุ่มนักเรียนนักศึกษามีความถนัดเรื่องการขายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการขายออนไลน์แต่ไม่มีความถนัดและความสนใจด้านการผลิตและการแปรรูป ซึ่งการนาภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนามาแปรรูปข้าวอินทรีย์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรอาจอยู่ในลักษณะของของพ่อแม่ปลูก ลูกหลานขาย ตายายแปรรูป ส่วนผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแปรรูปข้าวอินทรีย์และได้นาไปวางจาหน่ายในตลาดพบว่า สินค้าที่ผู้บริโภคมีความต้องการส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่มีความแปลกใหม่ ไม่เหมือนหรือไม่ซ้ากับสินค้าที่มีวางจาหน่ายในตลาดทั่วไป หากเป็นประเภทของที่รับประทานได้ ประเด็นเรื่องรสชาติเป็นปัจจัยสาคัญที่สุดที่ผู้บริโภคคานึงถึง รองลงมาคือเรื่องความปลอดภัยต่อสุขภาพ เพราะเป็นผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์ หากเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทของฝาก แม้จะมีความสวยงาม แปลกใหม่และเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน ผู้ผลิตอาจต้องคานึงถึงการใช้ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ที่แปรรูป ส่วนสินค้าที่มีทั่วไปตามท้องตลาดส่วนมากจะไม่ค่อยได้รับความสนใจจากผู้บริโภค

คำสำคัญ : ภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนา ข้าวอินทรีย์ การแปรรูป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Incorporating Lanna Wisdom to process Organic Rice to promote value-added to Organic Rice.
Abstract :

The objective of this research is to study the rice processing of the organic rice farmers in Doi Saket District, Chiang Mai Province. The participants in the data collection were the rice farmers, housewives, the elderly and the youth. There were 60 participants in the data collection. The researcher used the following instruments in collecting the qualitative and quantitative data, including purposive sampling, group interviews, and accidental sampling The results showed that farmers were good at rice production but lack of knowledge in rice processing and online sales. The housewives and the elderly specialized in processing but lack of knowledge in rice production and online sales. The youth specialize in online sales but lack of knowledge in rice production and processing. It is suggested that the parents be the rice producers and the children be the sellers. Grandparents are processors. The products sold in the market must be exotic, unique, tasty and can be used for real purposes. The rice products that are too general and can be found easily do not attract the buyers.

Keyword : Lanna folk wisdom, organic rice, processing
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
ชุดโครงการ : โครงการวิจัยนี้เป็นงานวิจัยภายใต้งานวิจัย มจ.1-62-01-026 : การสร้างมูลค่าเพิ่มข้าวอินทรีย์ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชยุตภัฎ คำมูล
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะศิลปศาสตร์
ผู้วิจัยหลัก
(2562)
100 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2562
1/10/2561 ถึง 30/9/2562
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
320,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 320,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023