การเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันการค้าข้าวของระบบเกษตรนาแปลงใหญ่ใน เขตภาคเหนือตอนบน

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-62-01-025.3
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2562
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันการค้าข้าวของระบบเกษตรนาแปลงใหญ่ใน เขตภาคเหนือตอนบน
บทคัดย่อ :

การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีการตลาดข้าวเปลือกและข้าวสารของระบบเกษตรนา

แปลงใหญ่ ด้วยสถิติเชิงพรรณนา พฤติกรรมและความต้องการซื้อข้าวสารของผู้บริโภคในตลาดสำหรับ

การกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดด้วยมาตรวัดของลิเคิร์ท และปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการซื้อข้าวสาร

ของครัวเรือนผู้บริโภคภายใต้แบบจำลอง Tobit regression ดำเนินการสุ่มตัวอย่างในพื้นที่จังหวัด

เชียงราย และพะเยาแบ่งออกเป็น เกษตรกรสมาชิกกลุ่มนาแปลงใหญ่ จำนวนจังหวัดละ 5 กลุ่ม

ผู้ประกอบการค้าข้าว จำนวน 10 ราย และผู้บริโภคโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive

sampling) จำนวน 810 ตัวอย่าง

ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรนำข้าวเปลือกแปรสภาพเป็นข้าวสารด้วยตนเอง หรือส่งผ่านการ

แปรสภาพไปยังพ่อค้าคนกลาง กลุ่มเกษตรกร ตลาดกลาง โรงสี และสหกรณ์การเกษตร หลังจากนั้น

ข้าวสารจะถูกส่งต่อไปยังพ่อค้าส่งออก หยง และพ่อค้าขายส่ง โดยพ่อค้าขายส่งจะดำเนินการบรรจุ

ข้าวสารเป็นหน่วยย่อยและส่งต่อให้พ่อค้าขายปลีก เพื่อดำเนินการขายข้าวสารภายในประเทศต่อไป

และการจัดจำหน่ายข้าวสารบรรจุถุง ได้แก่ ร้านค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade) ร้านค้าทั่วไป ร้าน

ขายข้าวสาร และช่องทางอื่นๆ เช่น ขายผ่านสหกรณ์ ออนไลน์ เป็นต้น พฤติกรรมและความต้องการซื้อ

ข้าวสารของผู้บริโภคตามส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ ราคา การจัดจำหน่าย และการ

ส่งเสริมการตลาด มีระดับความพอใจเฉลี่ยมากที่สุดเกี่ยวกับความสะอาดของผลิตภัณฑ์ คุณภาพความ

สมบูรณ์ของเมล็ดข้าว และรสชาติ กลิ่น สี ขณะที่ลูกค้ามีความต้องการให้เกิดการพัฒนาส่วนประสมทาง

การตลาดด้านผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับความต้องการบรรจุภัณฑ์ที่มีความทันสมัยสะดวกต่อการใช้งาน ด้าน

การส่งเสริมการตลาดเกี่ยวกับการโฆษณาในสื่อต่างๆ เพื่อให้เห็นประโยชน์ของการบริโภคข้าวแต่ละนิดและสร้างความน่าเชื่อถือ และการมีพนักงานขายแนะนำข้อมูลสินค้าให้เกิดการตัดสินใจซื้อแก่

ผู้บริโภค

นอกจากนี้การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการซื้อข้าวสารของครัวเรือนผู้บริโภค ภายใต้

แบบจำลอง Tobit regression สามารถสรุปได้ว่าตัวแปรอิสระที่มีผลต่อโอกาสการตัดสินใจซื้อข้าวสาร

ในทิศทางที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ช่วงอายุของผู้บริโภค ระดับการศึกษาของผู้บริโภค จำนวนสมาชิกในครัวเรือน

ของผู้บริโภค ราคาข้าวสารต่อหน่วย รสนิยมการเลือกซื้อข้าวสารที่ปลูกโดยกระบวนการปลอดสารเคมี

และรสนิยมการเลือกซื้อข้าวสารที่มี ตรา ยี่ห้อ หรือมาตรฐานการรับรองที่น่าเชื่อถือ อย่างไรก็ตาม

รสนิยมการเลือกซื้อในห้างสรรพสินค้าทั่วไป กลยุทธ์ทางการตลาดเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของตราสินค้า

หรือยี่ห้อ และกลยุทธ์ทางการตลาดเกี่ยวกับความสะดวกการหาซื้อในร้านขายของชำทั่วไป กลับลด

โอกาสการตัดสินซื้อข้าวสารของผู้บริโภค ดังนั้นแบบจำลองสามารถนำมาสู่การสร้างความได้เปรียบ

ทางการแข่งขันการตลาดเพื่อเพิ่มกำไรให้แก่ผู้ค้า

คำสำคัญ : กลยุทธ์ การค้าข้าว และระบบเกษตรนาแปลงใหญ่
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Enhancing Competitiveness Advantage for Rice Trading of Large Agricultural Land Plot on Rice Farming in the Upper Northern Region
Abstract :

The objectives of this study were to study marketing channels of paddy and rice

in large agricultural land plot on rice farming with descriptive statistics, identify behavior

and demand of rice for determining marketing strategies with likert scale, and to analyze

factor affecting demand for rice by means of Tobit regression. The samples of this study

were randomized by purposive sampling in Chiang Rai and Phayao provinces. Data was

collected using the questionnaires administered to the sampled members in large

agricultural land plot on rice farming with 5 groups/ province, 10 entrepreneur, and 400

consumers/province.

It can be concluded that famers could process rice by themselves or take paddy

to middlemen, farmer groups, central market, rice mills, and agricultural cooperatives

for processing. Next, rice was delivered to retailer, agent as call yong, and wholesaler

who packed rice in terms of bags or sack to retailer for sale domestic. Modern trade,

grocer’s shops, rice shops, others such as agricultural cooperatives or online. In addition,

behavior and demand of rice for determining marketing strategies according to marketing

mixes (product, price, place, and promotion) had an average satisfaction at the highest

level, especially in cleanness of rice, quality and richness of rice grain, and taste, smell,

and color of rice. However, the packages of product should be modern and easy to use.

Advertisement should display the benefits of each type of rice consumption and

reliability and salesmen could introduce rice to decision making.

Besides, the factor affecting demand for rice was analyzed by Tobit regression

model. It indicated that age period, education levels, members in households, price per

unit of rice, taste of choosing to buy rice that is grown by chemical- free process, and

that have brand and reliable certified standard impacted on the increased possibility of

occurrence of purchase decision for rice, while taste of choosing to buy rice in

department stores and marketing strategies related to reliability of brand, convenience

of buying in grocer’ s shops influenced the possibility of occurrence of a decrease in

purchase decision for rice. Hence, the model can result in creating competitive

advantage in the market to increase profits for traders.

Keyword : Strategy, Rice Trading, and Large Agricultural Land Plot
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ดร.วีร์ พวงเพิกศึก
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเศรษฐศาสตร์ / สำนักงานคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ / งานบริการวิชาการและวิจัย
ผู้วิจัยหลัก
(2562)
50 ไม่ระบุ
2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัชรินทร์ สุภาพันธ์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเศรษฐศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
40 ไม่ระบุ
3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รภัสสรณ์ คงธนจารุอนันต์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเศรษฐศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
10 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2562
1/10/2561 ถึง 30/9/2562
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
300,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 300,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023