ประสิทธิผลการผลิตข้าวแปลงใหญ่ของเกษตรกรในเขตภาคเหนือตอนบน

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-62-01-025.1
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2562
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : ประสิทธิผลการผลิตข้าวแปลงใหญ่ของเกษตรกรในเขตภาคเหนือตอนบน
บทคัดย่อ :

ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อทราบประสิทธิภาพการผลิตข้าวนาแปลงใหญ่และนาแปลงย่อย 2) เพื่อทราบต้นทุนและผลตอบแทนของการผลิตข้าวนาแปลงใหญ่ และ 3) เพื่อทราบความแตกต่างของประสิทธิภาพการผลิตและต้นทุน ผลตอบแทนของนาแปลงใหญ่และแปลงย่อย โดยใช้แบบจำลอง Data Envelopment Analysis (DEA) ในการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิตด้วยปัจจัยด้านผลผลิต 1 ตัวแปร และปัจจัยการผลิต 8 ตัวแปร แบ่งระดับประสิทธิภาพออกเป็น 5 ระดับ (น้อยที่สุด – มากที่สุด) และใช้ Budget Analysis ในการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตของเกษตรกรเพื่อหาความคุ้มค่าในการผลิต ซึ่งจากการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีระดับ

การศึกษาในช่วงชั้นประถมศึกษา มีรถไถและเครื่องสูบน้ำเป็นทรัพย์สินหลักทางการเกษตร มีพื้นที่เพาะปลูกเป็นของตนเองโดยใช้น้ำจากลำเหมืองและน้ำชลประทานเพื่อการเพาะปลูก เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาแปลงใหญ่มีประสิทธิภาพการผลิตสูงกว่าเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาแปลงย่อยเล็กน้อย (0.9213 > 0.9065) ซึ่งส่วนใหญ่มีประสิทธิภาพระดับมากที่สุด แต่การปลูกข้าวทั้งสองกลุ่มควรปรับลดปัจจัย 2-3 ปัจจัย โดยเฉพาะจำนวนแรงงานในการผลิตและเงินลงทุนทางการเกษตร ขณะที่ผลไต้ต่อขนาด (Economy of Scale) ในภาพรวมอยู่ในระยะผลได้ต่อขนาดที่ลดลงสำหรับการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน พบว่า เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาแปลงใหญ่ได้รับผลตอบแทนเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4,382.41 บาทต่อไร่ ซึ่งสูงกว่าเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาแปลงย่อยที่มีผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 4,105.51 บาทต่อไร่ อันเนื่องมาจากปริมาณผลผลิตที่สูงกว่า ขณะที่ต้นทุนการผลิตไม่แตกต่างกันมากนัก ยกเว้นเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาแปลงใหญ่ที่มีประสิทธิภาพการผลิตระดับน้อยมีต้นทุนการผลิตสูงกว่าต้นทุนการผลิตข้าวของเกษตรกรผู้ข้าวนาแปลงย่อยถึง 4.8 เท่า ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาแปลงใหญ่กลุ่มนี้ขาดทุน ซึ่งเมื่อปรับลดปัจจัยการผลิตส่วนเกิน (Input Slack) พบว่า ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ยของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาแปลงใหญ่สูงสุดถึง 4,904.33 บาทต่อไร่ ขณะที่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาแปลงย่อยมีผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ยสูงสุดถึง 5,123.00 บาทต่อไร่ และเมื่อปรับลดปัจจัยการผลิตส่วนเกินลงทำให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาแปลงใหญ่กลุ่มที่มีประสิทธิภาพระดับน้อยซึ่งเดิมประสบภาวะขาดทุนกลับมีผลตอบแทนสุทธิที่เพิ่มขึ้นและไม่ขาดทุนดังกรณีการใช้ปัจจัยการผลิตตามที่เกิดขึ้นจริงของเกษตรกร

คำสำคัญ : 1) ประสิทธิภาพ 2) การผลิต 3) ข้าว 4) เกษตรกร 5) นาแปลงใหญ่
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Effectiveness of Farmer’s Rice Production by Large Size Areain Upper Northern Region
Abstract :

In this study, the three main objectives of this study were to 1) to know the production efficiency of big rice fields and small rice fields, 2) to know the cost and the return of the slow rice cultivation, and 3) to know the differences in production efficiency, and cost compensation of big rice fields and small rice fields by using “ Data Envelopment Analysis” model to analyze production efficiency with 1 variable of production factor and 8 variables of production factors, divide the efficiency level into 5 levels ( the least – the most) and use “ Budget Analysis” to analyze the cost and production return of farmers in order to find value in production. From this study, we found that most of the farmers have education levels during primary education, they have tractors and pumps as main agricultural property, have their own planting area by using water from the mine and irrigation water for cultivation, and we found that big rice fields of farmers have slightly higher than small rice fields ( 0.9213> 0.9065) , and most of production efficiency has the highest level of efficiency, but by the way rice cultivation in both groups should reduce 2-3 factors, especially the amount of labor for production and agricultural investment while the overall economy of scale is in the decreasing phase of the scale effect. For the analysis of costs and returns, we found that the big rice field of farmers receives the highest average return of 4,382. 41 Baht per Rai, which is higher than the small rice field of farmers with the average net return of 4,105.51 Baht per Rai, due to from higher productivity while the production cost is not much different, except the big rice field of farmers who have a low level of production efficiency, have production costs higher than the rice production cost of sub-rice farmers by 4.8 times, causing this group of large rice farmers to lose when reducing the input slack, the average net return of the rice growers of the big field rice is 4,904.33 Baht per Rai while the small field rice have the highest return of 5,123. 00, and by reducing the excess production factors, the big field rice of farmers with low efficiency levels, which had previously suffered a loss, net return increases and the loss of the use of the means of production by the actual farmers.

Keyword : 1) Efficiency 2) Production 3) Rice 4) Farmer 5) Large Size of Rice Area
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 รองศาสตราจารย์ ดร.อารีย์ เชื้อเมืองพาน
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเศรษฐศาสตร์
ผู้วิจัยหลัก
(2562)
60 ไม่ระบุ
2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มนตรี สิงหะวาระ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเศรษฐศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
10 ไม่ระบุ
3 นายอศวิน เผ่าอำนวยวิทย์
ประเภทบุคคล : บุคคลภายนอก
หน่วยงานต้นสังกัด : -
ผู้วิจัยร่วม
10 ไม่ระบุ
4 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รภัสสรณ์ คงธนจารุอนันต์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเศรษฐศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
10 ไม่ระบุ
5 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัชรินทร์ สุภาพันธ์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเศรษฐศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
10 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2562
1/10/2561 ถึง 30/9/2562
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
400,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 400,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023