การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรด้วยระบบอบแห้งแบบผสมผสานอัจฉริยะ

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-62-01-023.3
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : กำลังดำเนินการ
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2562
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรด้วยระบบอบแห้งแบบผสมผสานอัจฉริยะ
บทคัดย่อ :

ในงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมในการอบแห้งใบมะกรูดด้วยระบบปั๊ม

ความร้อนและขดลวดความร้อนที่อุณหภูมิ 45 50 และ 55 องศาเซลเซียสโดยพิจารณาจากสมบัติทาง

กายภาพได้แก่ ความชื้น ค่ากิจกรรมของน้ำ ค่าสี และอัตราส่วนการคืนตัว และสมบัติทางเคมีได้แก่

ปริมาณเบต้าแคโรทีน ฟี นอลิกทั้งหมดและฤทธ์ิการต้านอนุมูลอิสระ โดยผลการศึกษาพบว่า เมื่อ

อุณหภูมิการอบแห้งสูงขึ้นส่งผลให้ความชื้นและเวลาอบแห้ง (ที่ทำให้ความชื้นต่ำกว่าร้อยละ 12 ฐาน

เปียก) ลดลง ค่า aw อยู่ในช่วง 0.397-0.522 และค่าความแตกต่างของสีของใบมะกรูดอบแห้งเมื่อเทียบ

กับใบสดและอัตราส่วนการคืนตัวของตัวอย่างในแต่ละอุณหภูมิไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

นอกจากนี้ยังพบว่า ใบมะกรูดอบแห้งที่อุณหภูมิ 50 และ 55 องศาเซลเซียส มีปริมาณเบต้าแคโรทีน

สารประกอบฟี นอลิกทั้งหมด และฤทธ์ิสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่า 45 องศาเซลเซียส ดังนั้นเมื่อ

พิจารณาจากผลการทดลองทั้งหมดพบว่าอุณหภูมิที่เหมาะสมในการอบแห้งด้วยระบบปั๊มความร้อน

และขดลวดความร้อนคือ 55 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 270 และ 240 นาที ตามลำดับ เนื่องจากเป็นสภาวะ

ที่มีปริมาณเบต้าแคโรทีน สารประกอบฟี นอลิกทั้งหมด และฤทธ์ิสารต้านอนุมูลอิสระมากที่สุดโดยที่ใช้

เวลาในการอบแห้งสั้นที่สุด

คำสำคัญ : ขดลวดความร้อน; ใบมะกรูด; ปั๊มความร้อน; สมบัติกายกาพ; สมบัติทางเคมี
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Processing of Agricultural Products using an Intelligent Hybrid Drying System
Abstract :

The objective of this research was to investigate suitable condition for drying kaffir lime leaves

with heat pump and heater at temperature of 45, 50 and 55?C. The changes of physical properties

including moisture content, water activity, rehydration ratio, color and chemical properties including

?-carotene, total phenolic content and antioxidant activity of kaffir lime leaves were determined. The

results showed that the moisture content and drying time to reach the final moisture content below 12%

wb. decreased with higher drying temperature. Water activity of dried samples were in the range of

0.397-0.522. Drying temperatures did not give significant effects on total color difference value and

rehydration ratio of dried samples. Moreover, it was found that the drying at 50 and 55?C exhibited the

higher content of ?-carotene, total phenolic and antioxidant activity than 45?C. Overall, our findings

suggest that drying of kaffir lime leaves with heat pump and heater at 55?C for 270 and 240 min are the

best condition, respectively.

Keyword : Chemical properties; Kaffir lime leaves; Physical properties; Heater; Heat pump
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
ชุดโครงการ : โครงการวิจัยนี้เป็นงานวิจัยภายใต้งานวิจัย มจ.1-62-01-023 : ระบบอบแห้งอัจฉริยะต้นแบบสาหรับการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หยาดฝน ทนงการกิจ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
ผู้วิจัยหลัก
(2562)
60 ไม่ระบุ
2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริญ คงกระพันธ์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : วิทยาลัยพลังงานทดแทน
ผู้วิจัยร่วม
40 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2562
1/10/2561 ถึง 30/9/2562
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
400,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 400,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
24 กรกฎาคม 2563
วารสารที่ตีพิมพ์ : บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ
ฉบับที่ : The 12th Internation conference on Science, Techno
หน้า :
ระดับการนำเสนอ :
เจ้าของวารสาร :
0.4
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023