ผลของพลาสมาอุณหภูมิต่ำต่อสารสกัดออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากข้าวเหนียวก่ำพื้นเมืองเพื่อเป็นส่วนผสมตำรับเซรั่มบำรุงผิว

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-62-01-022.3
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2562
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : ผลของพลาสมาอุณหภูมิต่ำต่อสารสกัดออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากข้าวเหนียวก่ำพื้นเมืองเพื่อเป็นส่วนผสมตำรับเซรั่มบำรุงผิว
บทคัดย่อ :

ข้าวเหนียวกํ่า คือ ข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีม่วงดำ ที่มีองค์ประกอบของแหล่งของสารพฤกษเคมีที่สำคัญเป็นสารแอนโทไซยานิน ซึ่งมีคุณสมบัติในการกำจัดอนุมูลอิสระ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาตำรับเซรั่มจากสารสกัดข้าวเหนียวกํ่าพื้นเมือง โดยแบ่งการศึกษาเป็น 4 ส่วน ได้แก่ 1) เปรียบเทียบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ยับยั้งเอมไซม์ไทโรซิเนสของสารสกัดข้าวเหนียวกํ่าดอยสะเก็ด กํ่าพะเยา และกํ่าลืมผัว 2) ศึกษาสภาวะการผลิตผงสารสกัดที่เหมาะสมต่อปริมาณสารสำคัญชนิด cyanidin-3-O-glucoside และสารสกัดที่มีฤทธิ์ยับยั้งอนุมูลอิสระ 3) ศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดข้าวเหนียวกํ่าที่ผ่านกระบวนการอาบพลาสมาเปรียบเทียบกับข้าวเหนียวกํ่าลืมผัวที่ไม่ผ่านกระบวนการอาบพลาสมา และ 4) พัฒนาตำรับเซรั่มบำรุงผิวจากสารสกัดข้าวเหนียวกํ่าพื้นเมืองสำหรับช่วยชะลอความแก่ของผิว จากการศึกษาพบว่า สารสกัดจากนํ้าของข้าวเหนียวกํ่าลืมผัวมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสได้ดีที่สุด แตกต่างจากสารสกัดข้าวเหนียวกํ่าดอยสะเก็ด และกํ่าพะเยา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และสารสกัดนํ้าข้าวเหนียวกํ่าลืมผัวยังมีปริมาณ Cyanidin-3-O-glucoside สูงที่สุด จึงได้คัดเลือกสารสกัดนํ้าจากข้าวเหนียวกํ่าลืมผัวมาพัฒนาต่อยอดเป็นเครื่องสำอาง จากนั้นนำมาเปรียบเทียบวิธีการสกัดสารสำคัญจากข้าวเหนียวกํ่าลืมผัวที่ผ่านกระบวนการอาบด้วยพลาสมา เปรียบเทียบกับการสกัดแบบไม่ผ่านกระบวนการอาบ พบว่าสารสกัดจากข้าวที่ผ่านการอาบพลาสมานั้นมีฤทธิ์ทางชีวภาพต่างๆ ดีกว่าสารสกัดจากข้าวเหนียวกํ่าลืมผัวธรรมดา อีกทั้งยังมีปริมาณสารสำคัญสูงกว่าถึง 5 เท่า ดังนั้นเซรั่มจากสารสกัดข้าวเหนียวกํ่าลืมผัวที่ผ่านการอาบพลาสมาจึงเหมาะที่จะนำไปทำการศึกษาต่อไป

เนื่องจากเป็นตำรับที่มีประสิทธิภาพและเสถียรภาพที่ดี

คำสำคัญ : พลาสมาอุณหภูมิตํ่า ข้าวเหนียวกํ่า สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ เครื่องสำอาง
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Effect of Low Temperature Plasma Treatment on Bioactive Compounds of Black Glutinous Rice as Active Ingredient in Cosmetic
Abstract :

Black glutinous rice has black or purple layer of rice bran which contains a source of phytochemical including, cyanidin 3-glucoside and peonoidin 3-glucoside, the dominant anthocyanins as antioxidant properties. The objective of this study was to develop serum containing black rice extracted. The research is classified into four parts: 1) To compare the antioxidant activity and the tyrosinase inhibitory activity of black rice extracted (Doi Saket Kam Phayao and Leum Pua) were investigated. 2) To study the suitability of producing spray-dried black rice extracted powder which is present in the quantity of cyanidin-3-O-glucoside and the quality of antioxidant activity. Then, the bioactive compound of untreated and plasma-treated black rice extracted were compared. Finally, to develop serum containing black rice extract for anti-skin-aging. The study revealed that black glutinous rice (Oryza sativa L, variety Leum Pua) extracted using distilled water exhibited the higher anti-tyrosinase activity when compared with the Doi Saket and Kam Phayao (p < 0.05). The Leum Pua extracted was highest in Cyanidin-3-O-glucoside. Leum Pua extracted was selected to develop anti-skin-aging serum. Moreover, the bioactive compound of the plasma-treated black rice extracted was 5 times greater than that of the untread extracts. Therefore, the development of serum from plasma-treated black rice extracted by modifying pharmaceutical excipients and type of plasma-treated black rice extracted affected the stability of serum.

Keyword : low temperature plasma, black glutinous rice, bioactive compound, cosmetic
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 อาจารย์ ดร.วาศิณี ปานจันทร์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ผู้วิจัยหลัก
(2562)
40 ไม่ระบุ
2 นางสาวกนกวรรณ เกียรติสิน
ประเภทบุคคล : บุคคลภายนอก
หน่วยงานต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ผู้วิจัยร่วม
60 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2562
1/10/2561 ถึง 30/9/2562
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
392,700.00
   รวมจำนวนเงิน : 392,700.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023