รูปแบบการพัฒนาระบบแปลงเกษตรอินทรีย์ที่เหมาะสมต่อการทำเกษตรของผู้พิการในจังหวัดเชียงใหม่

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-62-01-019.1
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2562
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : รูปแบบการพัฒนาระบบแปลงเกษตรอินทรีย์ที่เหมาะสมต่อการทำเกษตรของผู้พิการในจังหวัดเชียงใหม่
บทคัดย่อ :

การศึกษาวิจัยเรื่อง รูปแบบการพัฒนาระบบแปลงเกษตรอินทรีย์ที่เหมาะสมต่อการทำเกษตรของผู้พิการในจังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาระบบแปลงเกษตรอินทรีย์ที่เหมาะสมต่อการทำเกษตรของผู้พิการในจังหวัดเชียงใหม่และเพื่อส่งเสริมการจัดทำฟาร์มต้นแบบที่ทันสมัย สร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรอย่างเป็นระบบ

ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาออกแบบชุดควบคุมระบบพ่นหมอกแรงดันตํ่าอัจฉริยะสำหรับโรงเรือนเปิดเห็ดนางฟ้า และทดสอบการทำงานโดยทำการเปิดเครื่องตลอด 24 ชั่วโมง เป็นเวลา 30 วัน พบว่า ระบบควบคุมสามารถทำงานเป็นไปตามเงื่อนไขที่ออกแบบไว้เป็นปกติตลอดทั้ง 30 วัน แนวทางการส่งเสริมการจัดทำฟาร์มต้นแบบที่ทันสมัยเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรอย่างเป็นระบบ พบว่า ผู้พิการมีความต้องการพัฒนาชุดควบคุมระบบพ่นหมอกแรงดันตํ่าอัจฉริยะให้สามารถใช้งานกับกิจกรรมอื่นในแปลงเกษตรควบคู่กัน เพื่อเพิ่มผลผลิตให้มีประสิทธิภาพ และลดต้นทุนแรงงาน และการได้รับองค์ความรู้ด้านการใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นความรู้ในการต่อยอดและประกอบอาชีพต่อไป

คำสำคัญ : การพัฒนา , ชุดควบคุมระบบพ่นหมอกแรงดันตํ่า , ระบบ
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Model of Organic Farming Development for People with Disabilities in Chiang Mai Province
Abstract :

The objective of this research on Model of Organic Farming Development for People with Disabilities in Chiang Mai Province was to create a model for the development of organic agricultural plots that are suitable for agricultural practices of the disabled in Chiang Mai Province and to promote modern model farming also systematically strengthen farmers.

The results of the research showed that the development of the intelligent low-pressure fogging system control unit for the mushroom open house and testing the operation by turning on the machine 24 hours a day for 30 days, showed that the control system could work according to the designed conditions throughout the 30- day. However, the approach to promote the modern farming model and strengthen the farmers systematically showed that people with disabilities need to develop an intelligent low-pressure fogging system controller that can be used for other activities in the agricultural field at the same time, this will increase productivity effectively and reduce labor costs, and gain more knowledge on how to use technology. This will serve as a method of transferring knowledge to others for a career future.

Keyword : Development, Control Unit, Low-Pressure Fogging System, System
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 อาจารย์นนท์ ปิ่นเงิน
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะบริหารธุรกิจ
ผู้วิจัยหลัก
(2562)
100 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2562
1/10/2561 ถึง 30/9/2562
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
355,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 355,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023