การพัฒนากระบวนการถ่ายทอดนวัตกรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของเกษตรกรชนเผ่าเพื่อพัฒนาการเกษตรและการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนบนพื้นที่สูงในพื้นที่โครงการหลวง

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-62-01-015.3
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2562
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การพัฒนากระบวนการถ่ายทอดนวัตกรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของเกษตรกรชนเผ่าเพื่อพัฒนาการเกษตรและการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนบนพื้นที่สูงในพื้นที่โครงการหลวง
บทคัดย่อ :

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทและทัศนคติของเกษตรกรชนเผ่าที่มีต่อการถ่ายทอดนวัตกรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของเกษตรกร 2) เพื่อศึกษาการถ่ายทอดนวัตกรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของเกษตรกรชนเผ่า 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการถ่ายทอดนวัตกรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของเกษตรกรชนเผ่า 4) เพื่อพัฒนากระบวนการถ่ายทอดนวัตกรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของเกษตรกรชนเผ่า และ 5) เพื่อสร้างรูปแบบที่เหมาะสมในการถ่ายทอดนวัตกรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของเกษตรกรชนเผ่าเพื่อพัฒนาการเกษตรและการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนบนพื้นที่สูงในพื้นที่โครงการหลวง รวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 231 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์พหุถดถอย

ผลการวิจัย พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย เผ่ากะเหรี่ยง มีอายุเฉลี่ย 42.95 ปี สถานภาพสมรสแล้ว มีการศึกษาในระดับประถมศึกษาตอนต้น มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5.5 คน มีพื้นที่ถือครองในครัวเรือนเฉลี่ย 7.83 ไร่ มีรายได้ในครัวเรือนเฉลี่ย 127,113 บาทต่อปี จำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 3 คน มีหนี้สินในครัวเรือนเฉลี่ย 48,123 บาท มีประสบการณ์ในการทำการเกษตรเฉลี่ย 13.14 ปี ส่วนใหญ่ไม่มีตำแหน่งทางสังคม เข้าร่วมประเพณีของหมู่บ้านหรือชุมชนเฉลี่ย 2.38 ครั้งต่อปี เข้าร่วมฝึกอบรมหรือดูงานเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เฉลี่ย 2 ครั้งต่อปี รับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นเฉลี่ย 17.36 ครั้งต่อเดือน โดยได้รับข่าวสารจากสื่อบุคคลเฉลี่ย 4.67 ครั้งต่อเดือน ได้รับข่าวสารแบบกลุ่มเฉลี่ย 2.06 ครั้งต่อเดือนและได้รับข่าวสารจากสื่อมวลชนเฉลี่ย 10.66 ครั้งต่อเดือน เกษตรกรมีทัศนคติต่อการถ่ายทอดนวัตกรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการศึกษาการถ่ายทอดนวัตกรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาการเกษตรของเกษตรกรชนเผ่าบนพื้นที่สูง พบว่ามีการถ่ายทอดนวัตกรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นอยู่ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการถ่ายทอดนวัตกรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของเกษตรกรชนเผ่าบนพื้นที่สูงในพื้นที่โครงการหลวงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ อายุ และการเข้าร่วมประเพณีของหมู่บ้านหรือชุมชน ส่วนแนวทางการพัฒนากระบวนการถ่ายทอดนวัตกรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของเกษตรกรชนเผ่า ได้แก่ 1) ควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนการถ่ายทอดนวัตกรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยเน้นการถ่ายทอดจากการปฏิบัติจริง 2) การจัดแสดงและการสาธิต 3) การจัดทำศูนย์เรียนรู้ในชุมชน 4) ควรมีการจัดทำสื่อและเอกสารเผยแพร่ที่เป็นภาษาท้องถิ่น 5) ควรมีการจัดฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น และ 6) ควรกระตุ้น ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดคนบนพื้นที่สูงเกิดความตระหนักรักและหวงแหนภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเอง สำหรับ รูปแบบที่เหมาะสมในการส่งเสริมการถ่ายทอดนวัตกรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของเกษตรกรชนเผ่า ประกอบด้วย1) มีการส่งเสริมองค์ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิธีการถ่ายทอดองค์ความรู้ 2) มีการสร้างทัศนคติที่ดีให้แก่เกษตรกรชนเผ่า 3) มีการส่งเสริมและพัฒนาวิธีการถ่ายทอดนวัตกรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่น 4) มีการสร้างความพร้อมให้แก่เกษตรกรชนเผ่าบนพื้นที่สูงในการรับการส่งเสริมและถ่ายทอดนวัตกรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นจากบรรพบุรุษและ5) มีการจัดประชุม จัดการฝึกอบรมและนำเกษตรกรชนเผ่าไปศึกษาดูงานนอกพื้นที่ ตลอดจนต้องมีการติดตามให้คำแนะนำโดยนักส่งเสริมและนักพัฒนาอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง

คำสำคัญ : การส่งเสริมการเกษตร , เกษตรกรชนเผ่า , การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น , พื้นที่สูง
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Development of Innovation for Local wisdom Translated Process of Hill tribe for Agricultural Development and Sustainable Self-Reliance on Highland in the Royal Project Area
Abstract :

The objective of this study were to : 1) explore context and attitude of hill ethnic farmers having an affection innovation transfer from local wisdoms ; 2) explore the innovation transfer from local wisdom of the hill ethnic farmers ; 3) investigate factors effecting the innovation transfer from local wisdoms of the hill ethnic farmers ; 4) develop the process of the innovation transfer from local wisdoms of the hill ethnic farmers ; and 5) construct an appropriate model for the innovation transfer from the hill ethnic farmers for agricultural development and self-reliance. Data were collected from a sample group of 231 hill ethnic famers in a high land royal project. Obtained data were analyzed by using descriptive statistics and multiple regression analysis.

Results of the study revealed that most of the respondents Karen, mole, 42.95 years old, single, lower elementary school graduates and they had 5.5 family members on overage. They had 7.83 rai of land holding, 127,113 bath of an annual income, 48,123 bath of household debts and 13.14 years of experience informing. Most of therespondents had no social position. They participated in their village traditions 2.38 times a year and training/educational trip about local wisdoms twice a year on average. The respondents received news/information about local wisdoms 7.36 times per month on average (group 2.06 times and mass communication 10.66 times per month on average). As a whole, they had a high level of attitude towards local wisdoms/innovation transfer.

Findings showed that factors effecting local wisdoms transfer of the respondents with a statistical significance level were age and participation in village traditions. The following were guidelines for developing the process innovation transfer from local wisdom of the respondents included: 1) promotion and support on innovation transfer from local wisdoms focusing on actual practice; 2) exhibition holding and demonstration; 3) establishment of a community learning center; 4) preparing media and leaflet (dialect); 5) training about local wisdoms; and 6) encouraging highland people to be aware of the importance of their local wisdoms. In addition an appropriate model for promoting innovation transfer from local wisdoms of the ethnic farmers were; 1) promotion of the body of knowledge about innovation and methods of knowledge transfer; 2) creating good attitude of the ethnic farmers; 3) promotion and development of innovation transfer methods; 4) creating readiness to the ethnic farmers based on the acceptance of innovation transfer from local wisdoms; and 5) holding a meeting seminar and educational trip as well as agricultural extension worker contact.

Keyword : agricultural extension, ethnic farmers, local wisdom translated, high land
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 รองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์ เครือคำ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะผลิตกรรมการเกษตร
ผู้วิจัยหลัก
(2562)
55 ไม่ระบุ
2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สายสกุล ฟองมูล
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะผลิตกรรมการเกษตร
ผู้วิจัยร่วม
15 ไม่ระบุ
3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กังสดาล กนกหงษ์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะผลิตกรรมการเกษตร
ผู้วิจัยร่วม
15 ไม่ระบุ
4 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พหล ศักดิ์คะทัศน์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะผลิตกรรมการเกษตร
ผู้วิจัยร่วม
15 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2562
1/10/2561 ถึง 30/9/2562
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
300,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 300,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023