การจัดการตนเองของเกษตรกรชนเผ่าบนพื้นที่สูงภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่โครงการหลวง

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-62-01-015.2
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2562
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การจัดการตนเองของเกษตรกรชนเผ่าบนพื้นที่สูงภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่โครงการหลวง
บทคัดย่อ :

การศึกษาวิจัยเรื่อง“การจัดการตนเองของเกษตรกรชนเผ่าบนพื้นที่สูงภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่โครงการหลวง”มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 1) เพื่อศึกษาการจัดการตนเองของเกษตรกรชนเผ่าภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่โครงการหลวง 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการจัดการตนเองของเกษตรกรชนเผ่าภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่โครงการหลวง 3) เพื่อนาเสนอรูปแบบการจัดการตนเองของเกษตรกรชนเผ่าภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่โครงการหลวง การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

จากการศึกษาการจัดการตนเองของเกษตรกรชนเผ่าภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นทีโครงการหลวง พบว่า ระดับการปฏิบัติการจัดการตนเองภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรชนเผ่าบนพื้นที่สูงในพื้นที่โครงการหลวง พบว่า เกษตรกรชนเผ่าบนพื้นที่สูงมีการปฏิบัติการจัดการตนเองภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นประจา ซึ่งจากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ และปัจจัยทางด้านสังคมของเกษตรกรชนเผ่าบนพื้นที่สูงในพื้นที่โครงการหลวง ผู้วิจัยใช้สถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุ (Multiple Regression) ปรากฏว่าได้ค่า F = 3.301; Sig = 0.000 หมายความว่ามีตัวแปรอิสระอย่างน้อย 1 ตัวแปร ที่มีความสัมพันธ์กับตัวแปรตามในรูปเชิงเส้น เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์ตัดสินใจเชิงพหุ (multiple coefficient of determination,R2) ปรากฏว่า R2 มีความเท่ากับ 0.111 หมายความว่าตัวแปรอิสระทั้งหมดสามารถอธิบายการผันแปร (การเปลี่ยนแปลง) ของตัวแปรตาม (การปฏิบัติการจัดการตนเองภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรชนเผ่าบนพื้นที่สูงในพื้นที่โครงการหลวง) ได้ร้อยละ 11.1 ในบรรดาตัวแปรอิสระทั้ง 13 ตัวแปร มีตัวแปรอิสระจานวน 2 ตัวแปร ที่มีผลต่อตัวแปรตามอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ สถานภาพการถือครองที่ดินและภาระหนี้สิน

ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการตนเองของเกษตรกรชนเผ่าภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่โครงการหลวง พบว่า ด้านเงินทุน เกษตรกรมีการลงทุนที่มากขึ้น เงินทุนอาจไม่เพียงพอ ทางด้านภาระหนี้สินที่ต้องกู้ยืมเงินมาเพื่อความจาเป็นในการซื้อสินของจาเป็น ด้านค่านิยมในการดาเนินชีวิตคือความต้องการสิ่งอานวยความสะดวกมากขึ้นส่งผลให้ค่านิยมในการดาเนินชีวิตเปลี่ยนไป ด้านการประกอบอาชีพเกษตรกรต้องเจอกับปัญหาตลาดรองรับผลผลิต พ่อค้าคนกลาง และราคาผลผลิตที่ไม่แน่นอน ด้านการดาเนินชีวิตประจาวัน เกษตรกรต้องมีรายจ่ายที่สูงขั้นเนื่องจากค่าครองชีพในปัจจุบันสูงขึ้นทาให้เกิดรายจ่ายในการดาเนินชีวิตประจาวันเพิ่มมากขึ้น

รูปแบบการจัดการตนเองของเกษตรกรชนเผ่าภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่โครงการหลวง ด้านการลงทุนทางการเกษตร 1) เกษตรกรมีการกู้ยืมเงินเพื่อนามาหมุนเวียนเงินทุน 2) เกษตรกรมีการปลูกพืชที่หลากหลายในพื้นที่ 3) เกษตรกรมีการปลูกพืชตามการวางแผนของศูนย์พัฒนาโครงการหลวง 4) เกษตรกรมีการกู้ยืมเงินจากแหล่งสินเชื่อต่าง ๆมาเพื่อลงทุน 5) เกษตรกรมีการแบ่งรายได้ที่ได้จากการจาหน่ายผลผลิตมาเป็นต้นทุน ด้านภาระหนี้สิน 1) เกษตรกรมีการกู้ยืมเงินตามศักยภาพของตนเองที่สามารถจัดการได้ 2) เมื่อเกษตรกรมีหนี้สิน เกษตรกรจะหารายได้เพิ่ม 3) เกษตรกรมีการออมเงินและจัดสรรเงินไว้ใช้ยามฉุกเฉิน 4) เกษตรกรมีการวางแผนก่อนการกู้ยืม 5) เกษตรกรมีวินัยในการแบ่งส่วนรายได้เพื่อเก็บไว้ในส่วนของการชาระหนี้สินที่กู้ยืมมา ด้านการประกอบอาชีพ 1) เกษตรกรมีการเพิ่มทางเลือกการขนส่งผลผลิตให้แก่ลูกค้า 2) เกษตรกรมีการหาความรู้และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการนามาปรับใช้ในด้านการประกอบอาชีพ 3) เกษตรกรมีการรวมกลุ่มกันภายในชุมชน 4) เกษตรกรมีการปรับตัวในการประกอบอาชีพอยู่เสมอ 5) เกษตรกรมีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการทาการเกษตร ด้านการดาเนินชีวิตประจาวัน 1) เกษตรกรมีการใช้ถุงผ้าแทนการใช้ถุงพลาสติก 2) เกษตรกรมีการสร้างกฎเกณฑ์และมาตรการภายในชุมชนที่ยอมรับกันได้ 3) เกษตรกรมีการคิดก่อนที่จะใช้จ่ายทุกครั้ง 4) เกษตรกรมีความสุขกับสิ่งที่มีอยู่ 5) เกษตรกรมีการใช้สมุนไพรที่ตนเองมีความรู้ ด้านการวางแผนจัดการตนเองและครอบครัวในอนาคต 1) เกษตรกรมีการวางแผนปลูกพืชให้กับตลาดภายนอก 2) เกษตรกรมีการให้ความรู้แก่บุตรหลานของตน 3) เกษตรกรมีการวางแผนให้บุตรหลานเรียนในด้านการเกษตร

คำสำคัญ : การจัดการตนเอง เศรษฐกิจพอเพียง
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Self-management of Hill tribe farmers under Philosophy of Sufficiency Economy on Highland in the Royal Project
Abstract :

The research on "Self-management of Hill Tribe Farmers under the Sufficiency Economy Philosophy in the Royal Project" was conducted to study the hill tribe farmers under the Sufficiency Economy Philosophy in the Royal Project area on the following aspects: 1) self-management of hill tribe farmers, 2) problems and obstacles in self-management of hill tribe farmers, and 3) self-management model of hill tribe farmers. This study was both quantitative and qualitative research. The study showed that hill tribe farmers practiced self-management under the philosophy of sufficiency economy on a regular basis. On the relationship between respondents’ demographic characteristics and economic and social factors of hill tribe farmers in the Royal Project area using multiple regression analysis, the values were F = 3.301; Sig = 0.000. These values meant that there was at least 1 independent variable that is related to the dependent variable in a linear form. When considering the multiple coefficient of determination (R2), R2 is equal to 0.111, which meant that all independent variables can explain the variation (change) of the variables under self-management practices under the philosophy of sufficiency economy of the hill tribe farmers in the highland areas of the Royal Project as 11.1 percent. Of the 13 independent variables, there were 2 independent variables affecting the variables with statistical significance at the level of 0.05, namely, land ownership status and debts.

Concerning problems and obstacles on self-management of tribal farmers under the philosophy of sufficiency economy in the Royal Project area, the study found that on the capital investment, farmers had spent more, where funding was not enough. On debts the farmers had to borrow money for buying necessary items. Life values and lifestyle had changed due to the acquired practice of purchasing from convenience stores. Regarding carrying on the occupation, the farmers had to encounter with the market problems such as dealing with the middlemen and the unreliable prices of agricultural produce. Lastly, on daily expenses, the farmers had to tackle increasing prices of goods.

Keyword :
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สายสกุล ฟองมูล
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะผลิตกรรมการเกษตร
ผู้วิจัยหลัก
(2562)
55 ไม่ระบุ
2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กังสดาล กนกหงษ์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะผลิตกรรมการเกษตร
ผู้วิจัยร่วม
15 ไม่ระบุ
3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พหล ศักดิ์คะทัศน์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะผลิตกรรมการเกษตร
ผู้วิจัยร่วม
15 ไม่ระบุ
4 รองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์ เครือคำ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะผลิตกรรมการเกษตร
ผู้วิจัยร่วม
15 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2562
1/10/2561 ถึง 30/9/2562
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
300,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 300,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
6 กันยายน 2565
วารสารที่ตีพิมพ์ : วารสารผลิตกรรมการเกษตร 
ฉบับที่ : 4(3)
หน้า : 108-117
ระดับการนำเสนอ : ระดับชาติ
เจ้าของวารสาร :
0.8
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023