การปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศของเกษตรกรชนเผ่าบนพื้นที่สูง ในพื้นที่โครงการหลวง

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-62-01-015.1
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2562
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศของเกษตรกรชนเผ่าบนพื้นที่สูง ในพื้นที่โครงการหลวง
บทคัดย่อ :

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาลักษณะส่วนบุคคล เศรษฐกิจ สังคม ของเกษตรกรชนเผ่าบนที่สูงในพื้นที่โครงการหลวงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ 2) เพื่อศึกษาการปรับตัวการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของเกษตรกรชนเผ่าบนที่สูงในพื้นที่โครงการหลวง 3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการปรับตัวของเกษตรกรชนเผ่าบนพื้นที่สูงในพื้นที่โครงการหลวงภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ 4) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะในปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของเกษตรกรชนเผ่าบนที่สูงในพื้นที่โครงการหลวง โดยทำการรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรชนเผ่าบนที่สูงที่เป็นสมาชิกโครงการหลวง 4 แห่ง ในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย จำนวน 244 คน ใช้แบบสอบถามการวิจัยเป็นเครื่องมือ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์การถดถอยพหุ ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ

ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรชนเผ่าบนที่สูงที่เป็นสมาชิกโครงการหลวงพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 72.1 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 41 ปี มีการศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาหรือต่ำกว่าประถมศึกษา มีสถานภาพสมรส มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนจำนวน 4-6 คน มีรายได้เฉลี่ย 5,368.85 บาทต่อเดือน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเพียงอย่างเดียวโดยไม่มีการประกอบอาชีพรอง มีจำนวนพื้นที่ทำการเกษตร 5.38 ไร่ มีประสบการณ์ในการทำการเกษตรระหว่าง 10.93 ปี มีระยะเวลาในการเป็นสมาชิกโครงการหลวงระหว่าง 8 ปี มีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่โครงการหลวงในรอบสองปีที่ผ่านมาจำนวนระหว่าง 5 ครั้ง

มีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอยู่ในระดับปานกลางทั้งในภาวะปริมาณน้ำฝนมากและภาวะภัยแล้ง ในส่วนของปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของเกษตรกรชนเผ่าบนที่สูงในพื้นที่โครงการหลวง กรณีฝนตกหนัก คือ เพศ อายุ สถานภาพสมรส จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ประสบการณ์ด้านการเกษตร ระยะเวลาในการเป็นสมาชิกโครงการหลวง การได้รับข้อมูลข่าวสารสภาพอากาศ และการติดต่อกับเจ้าหน้าที่โครงการหลวง และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของเกษตรกรชนเผ่าบนที่สูงในพื้นที่โครงการหลวง กรณีภัยแล้ง คือ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส จำนวนสมาชิกในครัวเรือน รายได้ ประสบการณ์ด้านการเกษตร ระยะเวลาในการเป็นสมาชิกโครงการหลวง และการได้รับข้อมูลข่าวสารสภาพอากาศเกษตรกรชนเผ่าบนพื้นที่สูงมีข้อเสนอแนะในปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ดังนี้ 1) โครงการหลวงควรมีการจัดให้คำแนะนำวิธีการผลิตให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในแต่ละช่วงให้เกษตรกรชนเผ่าอย่างสม่ำเสมอ 2) ควรหาช่องทางการจำหน่ายให้เกษตรกรอย่างเหมาะสมในเรื่องของราคาและปริมาณผลผลิตภายใต้การเกิดภัยแล้งและฝนตกหนักหรือน้ำท่วม และ 3) ควรมีการประกาศเตือนภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศเพื่อให้เกษตรกรได้มีการเตรียมความพร้อมได้ทันท่วงที

คำสำคัญ : การปรับตัว สภาวะภัยแล้ง สภาพฝนตกหนัก เกษตรกรชนเผ่าบนพื้นที่สูง
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Climate Changing Adaptation of Highland Tripe Farmers in Royal Project Area
Abstract :

This study was conducted to investigate: 1) personnel, socio-economic attributes; 2) adaptation; 3) factors affecting on adaptation; and 4) suggestions in adaptation of highland tripe farmers (HTF) in Royal project area. Interview schedule was used for data collection administrated with 244 cases of HTF for 4 places of Royal project area in Chiang Mai and Chiang Rai. The data was analyzed in descriptive statistics and multiple regression by statistics programming.

Results revealed that most of the informants 72.1 % were male, 41 years old on average, compulsory education, married, 4-6 household members, 5368.85 baht per month on average, main agriculture only 5.38 rai land on average, experience in agriculture was 10.93 years, 8.39 years in Royal project member, and 4.74 times per year on average in official connection.

Adaptation of HTF on climate change were in moderate both much rain and dry situations. Factors affecting adaption of HTF (sig<0.05) in much rain situation were sex, age, status, household member, experience, length of Royal project member, information receipts, and official connections. In dry situation were age, education, status, household member, income, experience, and information receipts.

The suggestions of HTF were; 1) recommendations guidelines for adaptation in climate changes by continuous and always; 2) made market or distribute channel for agricultural products in high price and volume; and 3) announcing in climate changes continue for prep raring of farmers in suddenly situations.

Keyword : adaptation, dry, heavy rain, highland tribe farmers (HTF)
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พหล ศักดิ์คะทัศน์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะผลิตกรรมการเกษตร
ผู้วิจัยหลัก
(2562)
55 ไม่ระบุ
2 รองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์ เครือคำ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะผลิตกรรมการเกษตร
ผู้วิจัยร่วม
15 ไม่ระบุ
3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สายสกุล ฟองมูล
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะผลิตกรรมการเกษตร
ผู้วิจัยร่วม
15 ไม่ระบุ
4 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กังสดาล กนกหงษ์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะผลิตกรรมการเกษตร
ผู้วิจัยร่วม
15 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2562
1/10/2561 ถึง 30/9/2562
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
300,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 300,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023