โครงการศึกษาผลของปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ ต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณธาตุอาหารในดิน ของข้าวไรซ์เบอร์รี่อินทรีย์

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-62-01-014
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2562
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : โครงการศึกษาผลของปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ ต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณธาตุอาหารในดิน ของข้าวไรซ์เบอร์รี่อินทรีย์
บทคัดย่อ :

การศึกษาผลการวิจัย เรื่อง ผลของปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณธาตุอาหาร

ในดินของข้าวไรซ์เบอร์รี่อินทรีย์ ทดลองที่ แปลงปลูกพืชไร่อินทรีย์ พื้นที่รับผิดชอบของ ฟาร์มพืชไร่

สาขาวิชาพืชไร่ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีการ วางแผนการทดลองแบบ

Randomized Complete Block Design : RCBD มีจำนวนซ้ำทั้งหมด 3 ซ้ำ 6 กรรมวิธี (สิ่งทดลอง) คือ

วิธีการที่ 1 ไม่มีการใช้ปุ๋ย (Control) วิธีการที่ 2 ใส่ปุ๋ยอินทรีย์วัตถุหมักจากมูลวัว วิธีการที่ 3 ใส่ปุ๋ย

อินทรีย์วัตถุหมักจากมูลไก่ วิธีการที่ 4 ใส่ปุ๋ยอินทรีย์วัตถุหมักจากมูลไก่อัดเม็ด (ปุ๋ยอินทรีย์สำเร็จรูป)

วิธีการที่ 5 ใส่ปุ๋ยอินทรีย์หมักจากมูลวัว (ปุ๋ยอินทรีย์สำเร็จรูป) วิธีการที่ 6 ใส่ปุ๋ยเคมี โดยใส่ปุ๋ยสูตร

46-0-0 และปุ๋ยสูตร 16-20-0 โดยจะแบ่งใส่จำนวน 2 ครั้งที่อายุ 40 และ 70 วัน ผลการทดลองพบว่า การ

ใส่ปุ๋ยแบบวิธีการที่ 4 คือการใส่ปุ๋ยอินทรี ย์วัตถุสำเร็จรูปหมักจากมูลไก่อัดเม็ด ส่งผลทำให้ข้าว

ไรซ์เบอร์รี่ มีการเจริญเติบโตที่ดีและให้ผลผลิตสูงที่สุด เท่ากับ 364 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งอาจเป็นเพราะปุ๋ย

อินทรีย์ชนิดดังกล่าวเป็นปุ๋ยอินทรีย์รูปแบบอัดเม็ด ซึ่งกระบวนการผลิตจำเป็นต้องย่อยชิ้นส่วนปุ๋ยให้มี

ขนาดเล็กที่สุดถึงจะสามารถขึ้นรูปอัดเป็ นเม็ดได้ การใส่ปุ๋ยชนิดนี้จึงทำให้ข้าวสามารถดูดซึมปุ๋ย

ดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ได้ดีกว่าปุ๋ยชนิดอื่นๆ ส่วนผลด้านการวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารในดิน พบว่าตัวอย่างดินในแปลงจากการใส่ปุ๋ยอินทรีย์หมักมูลวัวในท้องถิ่น (T2) มีผลทำให้ปริมาณอินทรีย์วัตถุใน

ดินเพิ่มขึ้นสูงที่สุด ซึ่งอาจเป็นเพราะว่าปุ๋ยอินทรีย์หมักมูลวัวใช้เวลาในการย่อยสลายมากกว่าปุ๋ยอินทรีย์

ชนิดอื่นๆ จึงทำให้เหลือตกค้างในดินมากกว่าปุ๋ยอินทรีย์ชนิดอื่นๆ

คำสำคัญ : ปุ๋ยอินทรีย์ ธาตุอาหารในดิน ข้าวไรซ์เบอร์รี่
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Effects of Various Organic Fertilizers to change Soil Nutrients of Organic Rice berry
Abstract :

Study of the results of organic fertilizers on changes in soil nutrient content of experimental

organic riceberry rice planted in the organic field (Block C), responsible area of agronomy farm,

agronomy field. Agriculture Committee Mae Jo University with Randomized Complete Block Design:

RCBD has 3 iterations, 6 methods (experiments), method 1, no fertilizer use (Control), method 2,

composting organic fertilizer from cow manure, method 3 . Add organic fertilizer, compost from

chicken manure. Method 4 Add organic fertilizer, compost from pellets. ( Ready- made organic

fertilizers) Method 5 Compost organic fertilizers from cow manure. (Ready-made organic fertilizers)

Method 6: Add chemical fertilizers with formula 46-0-0 and fertilizer formula 16-20-0, which will be

divided into 2 times at the age of 40 and 70 days. The results showed that the 4 application of organic

fertilizers fermented from pellet chicken droppings of Annona brand resulted in riceberry rice. Has the

best growth and the highest yield. This may be because the aforementioned organic fertilizers is a pellet

form of organic fertilizers. Which the production process needs to digest the fertilizer to be as small as

possible to be able to form pellets Adding this type makes rice can absorb such fertilizers better than

other fertilizers. As for the analysis of soil nutrient content, it was found that soil samples in the plots

from local cow manure composting (T2) showed the highest increase in organic matter content. This

may be because organic manure compost takes more time to decompose than other types of organic

fertilizers. Therefore, the remaining residue in the soil more than other types of organic fertilizers.

Keyword : Organic fertilizers, Soil nutrients, Riceberry
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 นายสัมพันธ์ ตาติวงค์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : ไม่ระบุ
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะผลิตกรรมการเกษตร / สำนักงานคณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร / งานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา
ผู้วิจัยหลัก
(2562)
80 ไม่ระบุ
2 อาจารย์ ดร.ธิดารัตน์ ศิริบูรณ์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะผลิตกรรมการเกษตร
ผู้วิจัยร่วม
10 ไม่ระบุ
3 นายเสกสรร สงจันทึก
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : ไม่ระบุ
หน่วยงานต้นสังกัด : สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร / กองบริหารงานบริการวิชาการ / งานปรับปรุงและขยายพันธุ์พืช และสัตว์
ผู้วิจัยร่วม
10 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2562
1/10/2561 ถึง 30/9/2562
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
244,750.00
   รวมจำนวนเงิน : 244,750.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023