การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพซินไบโอติกส์ที่มีผลต่อการเจริญเติบโต การยับยั้งโรคติดเชื้อ กิจกรรมของเอนไซม์ย่อยอาหาร และการตอบสนอง ต่อระบบภูมิคุ้มกัน ในปลานิลวัยอ่อน

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-62-01-011.5
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2562
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพซินไบโอติกส์ที่มีผลต่อการเจริญเติบโต การยับยั้งโรคติดเชื้อ กิจกรรมของเอนไซม์ย่อยอาหาร และการตอบสนอง ต่อระบบภูมิคุ้มกัน ในปลานิลวัยอ่อน
บทคัดย่อ :

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพซินไบโอติกส์ที่มีผลต่อการเจริญเติบโต การยับยั้งโรคติดเชื้อกิจกรรมของเอนไซม์ย่อยอาหาร และการตอบสนองต่อระบบภูมิคุ้มกันในปลานิลวัยอ่อน ในปีแรก (2562) ทาการศึกษาเชื้อจุลินทรีย์โปรไบโอติกส์เฉพาะถิ่นในระบบทางเดินอาหารของปลานิลจากฟาร์มเลี้ยงปลานิลในจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดเชียงรายรวม 4 แหล่ง โดยส่วนใหญ่ลักษณะการเลี้ยงแบบผสมผสานและเชิงเดี่ยว สามารถคัดเลือกเชื้อโปรไบโอติกส์ที่มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมการเจริญเติบโตและยับยั้งเชื้อก่อโรคดีที่สุด 2 ไอโซเลทคือ CR4-1 และ CR10-5

การศึกษาศักยภาพของเยื่อหุ้มเมล็ดกาแฟ (วัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตร) ในการเป็นพรีไบโอติกส์และสารกระตุ้นการเจริญเติบโตและระบบภูมิคุ้มกันในลูกปลานิล โดยศึกษาการใช้เยื่อหุ้มเมล็ดกาแฟเสริมลงในอาหารลูกปลานิลวัยอ่อน วางแผนการทดลองแบบ CRD จานวน 3 ซ้า แบ่งชุดการทดลองออกเป็น 7 ชุด โดยใช้อาหารสาเร็จรูปเป็นชุดควบคุม อาหารที่เสริมด้วยเยื่อหุ้มเมล็ดกาแฟแบบผง 0.25%, 0.5% และ 1% ของน้าหนักอาหาร และอาหารที่เสริมสารสกัดด้วยเยื่อหุ้มเมล็ดกาแฟ 0.25%, 0.5% และ 1% ของน้าหนักอาหาร ทาการเลี้ยงปลาเป็นระยะเวลา 60 วัน เมื่อสิ้นสุดการทดลอง พบว่า อัตราการเจริญเติบโตจาเพาะ (SGR) ในอาหารที่เสริมเยื่อหุ้มเมล็ดกาแฟทั้ง 6 สูตร มีค่าสูงกว่าชุดควบคุม อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนอัตราการแลกเนื้อ (FCR) ของอาหารเสริมทั้ง 7 สูตร มีความแตกต่างอย่างไม่มีนัยสาคัญทางสถิติ (p>0.05)

การทดสอบสมบัติความเป็นสารพรีไบโอติกส์ที่ได้จากการหมักเยื่อหุ้มเมล็ดกาแฟด้วยเอนไซม์เซลลูเลส U Ltra cone (CSSp-L)โดยผลต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์โปรไบโอติกส์ (Bacillus subtilis) พบว่า CSSp-L ช่วยส่งเสริมการเจริญของจุลินทรีย์โปรไบโอติกส์ (Bacillussubtilis) ที่แสดงกิจกรรมการเพิ่มขึ้นของการเจริญของแบคทีเรียเทียบเท่ากับการเติมผงบุก (กลูโคแมนแนน: MOS 1%) และเจริญเติบโตได้สูงกว่าเมื่อเทียบกับพรีไบโอติกส์ทางการค้า (ฟรุกโตโอลิโกแซกคาไรด์: FOS 1%) และอาหารชุดควบคุม (p<0.05) ในขณะที่ความสามารถในการยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ก่อโรค Aeromonas hydrophila และ Streptococcus agalactiae โดยการวัดค่าการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่น 600 นาโนเมตร พบว่า การเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรค Aeromonas hydrophila ในชุดการทดลอง CSSp-L มีการเจริญเติบโตน้อยกว่าชุดควบคุม MOS 1% และ FOS 1% ในขณะที่ชุดการทดลอง CSSw-L มีการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ก่อโรค Aeromonas hydrophila สูงกว่าชุดควบคุมและ FOS 1% ส่วนจุลินทรีย์ก่อโรค Streptococcus agalactiae ที่ชุดการทดลอง CSSp-L และ CSSw-L มีการเจริญเติบโตน้อยกว่าชุดการทดลอง MOS 1% และ FOS 1% แต่มีการเจริญเติบโตสูงกว่าชุดควบคุม

จากผลการทดลองที่ได้จากปี 62 ได้ถูกนามาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ซินไบโอติกส์ เพื่อช่วยในการเจริญเติบโต เสริมภูมิคุ้มกันและยับยั้งการติดเชื้อจากเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคในปลานิลวัยอ่อน คาดว่าในปี 63 ผลการนาไปใช้จะสามารถเพิ่มผลผลิตปลาเชิงพาณิชย์และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันได้เป็นอย่างดีให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลอีกด้วย

คำสำคัญ : ปลานิล , ซินไบโอติกส์ , โปรไบโอติกส์ , พรีไบโอติกส์ , การเจริญเติบโต , เอนไซม์ย่อยอาหาร , ภูมิคุ้มกันแบบไม่จาเพาะ
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Development of synbiotics bioproducts, effect on growth performance, disease resistance, digestive enzyme activity and immunological response in fry Nile tilapia
Abstract :

The development of synbiotics bioproducts, effect on growth performance, disease resistance, digestive enzyme activity and immunological response in fry Nile tilapia, in the first year experiment (2019), were done. Study of endemic probiotic bacteria in the digestive system of fry Nile tilapia from Nile tilapia farms in Chiang Mai and Chiang Rai provinces, consisting of 4 farms. Effective probiotic isolates, CR4-1 and CR10-5, were selected to promote growth and inhibit pathogens.

The potential of coffee silver skin (CSS; agricultural wastes) was used as prebiotic and growth and immune stimulant in Tilapia larvae. CSS was added to supplement in fish feed for raring fry Nile tilapia. The CRD experimental designs were divided into 7 experiments and 3 replicates. First experiment was control, 2nd- 4th experiments were supplemented with CSS 0.25, 0.5 and 1% of dry weight feed, respectively. The 5th-7th experiments were supplemented with CSS extract 0.25, 0.5 and 1% of dry weight feed, respectively. All experiments were cultured for 60 days. At the end of the experiment, the specific growth rate (SGR) of fish cultured with the diet supplemented with CSS of all 6 formulas was higher than the control (p <0.05). Besides, the feed conversion ratio (FCR) of all 7 formulas was none statistically significant difference (p> 0.05).

Prebiotic properties of the CSS fermentation using U Ltra cone (CSSp-L) cellulase were tested. They have affect to the growth of probiotics (Bacillus subtilis). CSSp-L promoted the growth of probiotics which increased bacterial growth activity equivalent to the addition of glucomannan (1% MOS) and increased higher when compared to commercial prebiotics (Fructo-oligosaccharide: FOS 1%) and control diet (p<0.05). The inhibition of the pathogen growth, Aeromonas hydrophila and Streptococcus agalactiae, by measuring at 600 nm, was done. In the CSSp- L experiment showed the growth of Aeromonas hydrophila was less than control diet, 1% MOS and 1% FOS. While, Aeromonas hydrophila growth rate of CSSw-L experiment had higherthan control diet and 1% FOS. The growth of Streptococcus agalactiae in the CSSp-L and CSSw-L experiments showed less than 1% MOS and 1% FOS experiments but higher than control diet.

The first year results have been developed to be synbiotics product to promote the growth, enhance immunity and inhibit the pathogenic infection in fry Nile tilapia. The expected result will increase the commercial tilapia production and gain the potential in the market competition for Nile tilapia farmers.

Keyword : Aquaculture, Tilapia, Synbiotics, Probiotics, Prebiotics, Growth, Digestive enzymes, Non-Specific Immunity
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
ชุดโครงการ : โครงการวิจัยนี้เป็นงานวิจัยภายใต้งานวิจัย มจ.1-62-01-011 : การผลิตสัตว์เศรษฐกิจเพิ่มความมั่นคงและปลอดภัยทางอาหาร
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุดมลักษณ์ สมพงษ์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ผู้วิจัยหลัก
(2562)
80 ไม่ระบุ
2 ดร.ภัสสร์พัณณ์ ศรีวิชัย
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : ไม่ระบุ
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ / สำนักงานคณบดีคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ / งานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา
ผู้วิจัยร่วม
10 ไม่ระบุ
3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุดาพร ตงศิริ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ผู้วิจัยร่วม
10 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2562
1/10/2561 ถึง 30/9/2562
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
508,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 508,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023