การประมาณค่าทางพันธุกรรมและการศึกษาระดับโมเลกุลเพื่อการพัฒนาสายพันธุ์ปลานิลจากระบบไบโอฟลอคเข้าสู่การเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์โดยการคัดเลือก

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-62-01-011.1
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2562
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การประมาณค่าทางพันธุกรรมและการศึกษาระดับโมเลกุลเพื่อการพัฒนาสายพันธุ์ปลานิลจากระบบไบโอฟลอคเข้าสู่การเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์โดยการคัดเลือก
บทคัดย่อ :

การประมาณค่าอัตราพันธุกรรมของน้ำหนักปลานิลอินทรีย์ภายใต้การเลี้ยงในระบบไบโอ

ฟลอค โดยการประมาณค่าจากประชากรปลานิลเริ่มต้น 109 ครอบครัว องค์ประกอบความ

แปรปรวนถูกประมาณค่าด้วยวิธี Restricted Maximum Likelihood (REML) โดยใช้ Average

Information (AI) algorithm ร่วมกับแบบจำลองสัตว์ (animal model) พบว่าค่าอัตราพันธุกรรมของ

น้ำหนักปลานิลมีความแตกต่างไปตามช่วงอายุ โดยที่อายุ 2-3 เดือนค่าอัตราพันธุกรรมของน้ำหนัก

ตัวมีค่าเท่ากับ 0.05?0.03 ซึ่งมีค่าต่ำ ที่อายุ 4-5 เดือนที่อายุ 4-5 เดือนค่าอัตราพันธุกรรมของน้ำหนัก

ตัวมีค่า 0.40 ? 0.15 ซึ่งมีค่าสูงและมีค่ามากกว่าที่อายุ 2-3 เดือน ที่อายุ 6-8 เดือนค่าอัตราพันธุกรรม

ของน้ำหนักตัวมีค่า 0.46 ? 0.14 ซึ่งมีค่าสูงและมีค่ามากกว่าที่อายุ 2-3 และ 4-5 เดือน ค่าอัตรา

พันธุกรรมของความยาวตัวทั้งหมดที่อายุ 6-8 เดือนมีค่าเท่ากับ 0.53 ? 0.14 ซึ่งมีค่าสูงเช่นเดียวกัน

กับค่าอัตราพันธุกรรมของน้ำหนักตัวที่อายุ 6-8 เดือน และมีค่าสหสัมพันธ์กับน้ำหนักตัวสูงด้วย

เช่นกัน โดยค่าสหสัมพันธ์ของลักษณะปรากฏของน้ำหนักตัวและความยาวตัวทั้งหมดมีค่าเท่ากับ

0.92 ส่วนค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของน้ำหนักตัวและความยาวตัวทั้งหมดมีค่าเท่ากับ 0.96

แสดงให้เห็นว่า มีความสัมพันธ์กันสูงระหว่างน้ำหนัก และความยาวตัวทั้งหมด ซึ่งแสดงให้เห็นว่า

สามารถปรับปรุงพันธุ์โดยวิธีการคัดเลือกให้มีน้ำหนักตัวและความยาวตัวที่เพิ่มขึ้นได้

การศึกษาอิทธิพลร่วมระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม จากค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรม

(genotypic correlation) ของ น้ำหนักปลาแต่ละครอบครัวที่ถูกเลี้ยงด้วยอาหารต่างชนิด มีค่าเท่ากับ

0.99 ซึ่งมีค่าสูง แสดงให้เห็นว่าไม่มีอิทธิพลร่วมระหว่างพันธุกรรมกับสิ่งแวดล้อมการศึกษาในระดับโมเลกุลที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต ได้แก่ ประสิทธิภาพของระบบ

เลือด ประสิทธิภาพของเอนไซม์ย่อยโปรตีน และยีนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตในตับและ

กล้ามเนื้อ พบว่า ปลากลุ่มที่เลี้ยงด้วยแหนเป็ ดและมีการเจริญเติบโตต่ำ (T2Low) มีค่าเลือด ค่า

กิจกรรมของเอนไซม์ และปริมาณยีนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต ในช่วงที่ต่ำกว่ากลุ่มอื่นๆ อย่าง

มีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนปลากลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารเม็ดสำเร็จรูปอินทรีย์และมีการ

เจริญเติบโตสูง (T1High) มีค่าระดับโมเลกุลที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตต่างๆ และคุณค่าการผสม

พันธุ์สูงกว่ากลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)

คำสำคัญ : ปลานิล , ปรับปรุงสายพันธุ์ , การคัดพันธุ์ , เครื่องหมายพันธุกรรม , ไบโอฟลอค
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Genetic parameter estimation and molecular marker for genetic improvement in nile tilapia from biofloc system to organic aquaculture by selection
Abstract :

In this study, heritability was estimated for total weight at 2 -3 4 -5 and 6-8months after

hatching. Estimation was made on data from 109 full-sib families. The analysis of variance was

performed using a mixed linear animal model and variance components were analyzed following

an animal model using Restricted Maximum Likelihood procedure (REML) employing average

information (AI) algorithm. Heritability estimates (h2) for growth related traits varied considerably

with ages. At 2-3 months old, h2 for body weight (BW;0.05?0.03.) were low. At 4-5 months old,

h2 of BW (BW; 0.40 ? 0.15) were higher than those estimated at 2-3 months old. At 6-8 months

old, h2 of BW (BW; 0.46 ? 0.14) were higher than those estimated at 2-3 and 4-5 months old. The

heritabilities, h2 of total length (TL; 0.53 ? 0.14) were high. The correlations between BW and TL

(Phenotypic correlation; 0.92, Genotypic correlation; 0.996) were high as well. These showed good

prospective for selective breeding of body weight and total length.

Genetic correlations for HW and TL between different feed (Organic certified pellets and

duck weed) was 0. 99, conclusion was that there was no significant evidence for genotype by

environmental interaction.

For molecular level that involving growth, efficiencies of blood and protein digestive

enzymes and genes in liver and muscle were investigated. It was resulted that group of fishes fed

with duck weed and low growth (T2Low) showed significantly the lowest values of all parameters

( p<0. 05) . While group of fishes fed with organic pellet and high growth (T1High) showed

significantly the highest values of all parameters (p<0.05).

Keyword : nile tilapia, genetic improvement, selection, genetic marker, biofloc
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
ชุดโครงการ : โครงการวิจัยนี้เป็นงานวิจัยภายใต้งานวิจัย มจ.1-62-01-011 : การผลิตสัตว์เศรษฐกิจเพิ่มความมั่นคงและปลอดภัยทางอาหาร
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิสรา กิจเจริญ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ผู้วิจัยหลัก
(2562)
60 ไม่ระบุ
2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิราพร โรจน์ทินกร
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ผู้วิจัยร่วม
20 ไม่ระบุ
3 นางสาวปุชรัศมิ์ มีแก้ว
ประเภทบุคคล : บุคคลภายนอก
หน่วยงานต้นสังกัด : -
ผู้วิจัยร่วม
10 ไม่ระบุ
4 นายนเรศ ใหม่ดี
ประเภทบุคคล : บุคคลภายนอก
หน่วยงานต้นสังกัด : -
ผู้วิจัยร่วม
10 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2562
1/10/2561 ถึง 30/9/2562
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
3,255,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 3,255,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023