การผลิตสัตว์เศรษฐกิจเพิ่มความมั่นคงและปลอดภัยทางอาหาร

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-62-01-011
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2562
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การผลิตสัตว์เศรษฐกิจเพิ่มความมั่นคงและปลอดภัยทางอาหาร
บทคัดย่อ :

งานวิจัย เรื่อง การผลิตสัตว์เศรษฐกิจเพื่อความมั่นคงและปลอดภัยทางอาหาร ประกอบด้วย 8 โครงการ ได้แก่ 1) การประมาณค่าอัตราพันธุกรรมของน้าหนักปลานิลอินทรีย์ภายใต้การเลี้ยงในระบบไบโอฟลอค 2) ผลของอาหารผสมสารสกัดกระเทียมต่อการเหนี่ยวนาให้เป็นเพศผู้ 3) ประสิทธิภาพของสารสกัดกระเทียมเสริมอาหารในการเลี้ยงปลานิล 4) ศักยภาพของพืชสมุนไพรไทยและจุลินทรีย์โปรไบโอติกต่อการเจริญเติบโตและภูมิคุ้มกันของปลานิล 5) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพซินไบโอติกส์ที่มีผลต่อการเจริญเติบโต การยับยั้งโรคติดเชื้อ กิจกรรมของเอนไซม์ย่อยอาหารและการตอบสนองต่อระบบภูมิคุ้มกันในปลานิลวัยอ่อน 6) การปรับปรุงคุณภาพไข่ไก่ด้วยสาหร่ายไปรูลิน่า 7) การบริหารจัดการการผลิตและสุขภาพปลานิลเพื่อรับมือต่อการเปลี่ยน แปลงสภาพอากาศเพื่อความมั่นคั่งและยั่งยืนของธุรกิจ 8) รูปแบบที่เหมาะสมในการใช้เศษเหลือปลาจากกระบวนการผลิตปลาส้มและหอยเชอรี่เป็นอาหารเลี้ยงปลาช่อนในระบบน้าหมุนเวียนแบบอะควาโปนิคส์ เข้าสู่การเลี้ยงสัตว์น้าอินทรีย์ ซึ่งผลที่ได้จากการศึกษาวิจัยปีที่ 1 มีดังนี้ การปรับปรุงพันธุ์ปลานิลอินทรีย์ภายใต้การเลี้ยงในระบบไบโอฟลอค โดยวิธีการคัดเลือกให้มีน้าหนักตัวและความยาวตัวที่เพิ่มขึ้นได้ โดยค่าสหสัมพันธ์ของลักษณะปรากฏของน้าหนักตัวและความยาวตัวทั้งหมดมีค่าเท่ากับ 0.92 ส่วนค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของน้าหนักตัวและความยาวตัวทั้งหมดมีค่าเท่ากับ 0.96 ส่วนการศึกษาอิทธิพลร่วมระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม จากค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรม (genotypic correlation) ของ น้าหนักปลาแต่ละครอบครัวที่ถูกเลี้ยงด้วยอาหารต่างชนิด มีค่าเท่ากับ 0.99 ซึ่งมีค่าสูง แสดงให้เห็นว่าไม่มีอิทธิพลร่วมระหว่างพันธุกรรมกับสิ่งแวดล้อม อาหารผสมสารสกัดกระเทียม 50 เปอร์เซ็นต์ มีแนวโน้มทาให้ลูกปลานิลมีประสิทธิภาพการเจริญเติบโตดีที่สุด ส่วนอาหารผสมฮอร์โมน 17? -MT มีค่าอัตราการแปลงเป็นเพศผู้ดีที่สุด (99.00?0.89 เปอร์เซ็นต์) อย่างไรก็ตามลูกปลานิลที่ได้รับอาหารผสมสารสกัดกระเทียม 50 เปอร์เซ็นต์ มีค่าอัตราแปลงเพศ ใกล้เคียงอาหารผสมฮอร์โมน 17?-MT คือ 89.50?1.00 เปอร์เซ็นต์ ปลานิลที่ได้รับสารสกัดกระเทียม 0.5%(w/w) เป็นเวลา 16 สัปดาห์ ช่วยเพิ่มผลผลิตปลานิลที่เลี้ยงด้วยอาหารอินทรีย์อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p<0.05) สามารถใช้สารสกัดจากมะขามป้อมเสริมในอาหารทดลองเลี้ยงปลานิลแทนการใช้วิตามินซี และ การใช้ยีสต์ S. cerevisiae และ การใช้ S. cerevisiae ร่วมกับ L. acidophilus ผสมในอาหารทดลอง ช่วยเสริมประสิทธิภาพการเจริญเติบโตและภูมิคุ้มกันแบบไม่จาเพาะในการเลี้ยงปลานิลโดยไม่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต องค์ประกอบทางเคมีในเนื้อปลาและภูมิคุ้มกันแบบไม่จาเพาะ นอกจากนี้สามารถคัดเลือกเชื้อโปรไบโอติกส์ที่มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมการเจริญเติบโตและยับยั้งเชื้อก่อโรคดีที่สุด จากระบบทางเดินอาหารของปลานิลจากฟาร์มเลี้ยงปลานิลในจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดเชียงรายรวม 4 แหล่ง ได้จานวน 2 ไอโซเลทคือ CR4-1 และ CR10-5 ซึ่งจะนาไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ซินไบโอติกส์ โดยผสมร่วมกับเยื่อหุ้มเมล็ดกาแฟ (วัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตร) ที่มีคุณสมบัติเป็นพรีไบโอติกส์ มีสารกระตุ้นการเจริญเติบโตและระบบภูมิคุ้มกันในลูกปลานิล โรคติดเชื้อแบคทีเรีย 3 ชนิดหลักที่ตรวจพบในปลานิล ได้แก่ Flavobacterium columnare, Streptococcus agalactiae และ Aeromonas hydrophila โดยการตายของปลามักจะเกิดรอยต่อระหว่างปลายฤดูร้อนถึงฤดูฝน นับตั้งแต่เดือนมีนาคมจนถึงเดือนกรกฎาคมของทุกปี ส่วนปรสิตเห็บระฆังจะแทรกเข้ามาเมื่อปลามีความอ่อนแอ ปัญหาปลาน๊อคตายยังเป็นปัญหาประจาทุกปีเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและน้าอย่างฉับพลัน มีการรวมกลุ่มของเกษตรกรทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ เพื่อประโยชน์ในการจัดหาลูกพันธุ์ จัดซื้ออาหารสาเร็จรูปและจาหน่ายผลผลิต การขาดบริหารจัดการที่ดีตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้าที่ดี (GAP) ตั้งแต่โรงเพาะฟัก การอนุบาล ตลอดจนถึงกระบวนการเลี้ยงปลานิลยังมีน้อย เพราะเกษตรกรขาดแรงจูงใจที่จะพัฒนาฟาร์มให้ได้มาตรฐาน เนื่องจากราคาจาหน่ายปลานิลที่ได้มาตรฐานไม่ได้สูง สาหร่ายสไปรูลิน่าช่วยปรับปรุงคุณภาพไข่ไก่ โดยระดับการใช้ที่เหมาะสมคือ 0.15 % และสามารถนาไข่ไก่จากแม่ไก่ที่ได้รับอาหารที่มีการเสริมสาหร่ายสไปรูลิน่า 0.15 % ไปพัฒนาเป็นอาหารสุขภาพหรืออาหารฟังก์ชั่น (Functional food) สาหรับการตอบสนองความต้องการเป็นพิเศษของผู้บริโภคได้ สามารถใช้แหล่งโปรตีนจากเศษเหลือปลาที่ผ่านกระบวนการผลิตปลาส้มและหอยเชอรี่เพื่อทดแทนปลาป่นในสูตรอาหารสาหรับเลี้ยงปลาช่อนได้สูงถึง 50%

คำสำคัญ : ปลานิล ปรับปรุงสายพันธุ์ การคัดพันธุ์ เครื่องหมายพันธุกรรม ไบโอฟลอค การแปลงเพศ สารสกัดกระเทียมอาหารอินทรีย์ สารสกัดสมุนไพรไทย การเจริญเติบโต โปรไบโอติก พืชสมุนไพร ภูมิคุ้มกันแบบไม่จาเพาะ องค์ประกอบทางเคมีในเนื้อปลา ซินไบโอติกส์ พรีไบโอติกส์ เอนไซม์ย่อยอาหาร สุขภาพปลานิล การบริหารจัดการการผลิต การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ไก่ไข่ ผลผลิตไข่ คุณภาพไข่ สไปรูลิน่า ปลาช่อน อะควาโปนิคส์ หอยเชอรี่ เศษเหลือปลา
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Economic Animal Production for Food Security and Safety
Abstract :

There were 8 projects in the Economic Animal Production for Food Security and Safety Research including 1) Genetic parameter estimation and molecular marker for genetic improvement in Nile tilapia from biofloc system to organic aquaculture by selection 2) Effect of garlic extract on sex reversal of production Nile Tilapia 3) Efficacy of Garlic Extract Added Feed in Nile Tilapia Culture 4) Potential of Thai herbs and probiotics on growth and nonspecific immune response in organic Tilapia culture system 5) Development of synbiotics bioproducts affecting on growth performance, disease resistance, digestive enzyme activity and im?munological response in fry Nile tilapia 6) Production and Health Management of Tilapia for Prosperous and Sustainable Business 7) Egg quality improvement by using Spirulina platensis 8) Suitable use of fermented fish by-product and snail in diets for fish in aquaponics system to organic aquaculture. The first-year results were as follows; The genetic improvement in Nile tilapia from biofloc system to organic aquaculture by selection showed an increase of both body weight (BW) and total length (TL). The correlations between BW and TL (Phenotypic correlation; 0.92, Genotypic correlation; 0.996) were high. Genetic correlations for BW and TL between different feeds (Organic certified pellets and duck weed) was 0.99 implying that no significance in genotype by environmental interaction. The 50 percent garlic extract additive feed tended to provide the best growth performances in tilapia fingerlings. The 17?-MT provided the best sex reversal rate (99.00?0.89 % Male), while the Nile tilapia larvae fed with 50 percent garlic extracts were quite similar (89.50?1.00 % Male). Tilapia received 0.5%(w/w) garlic extract additive feed for 16 weeks were significantly increased in production (p<0.05). Phyllanthus emblica extract can supplement in diet replaced vitamin C and diets supplemented with Saccharomyces cerevisiae 0.2% (YS) and Lactobacillus acidophilus 0.2% + Saccharomyces cerevisiae 0.2% (LY) without adverse effects on growth parameters, non-specific immune response and carcass compositions of tilapia. In addition, two isolates of probiotic bacteria, CR4-1 and CR10-5, in the digestive system of fry Nile tilapia from four Nile tilapia farms in Chiang Mai and Chiang Rai provinces were selected to promote growth and inhibit pathogens. These will be used to produce a synbiotics combined with coffee silver skin (agricultural wastes) which was used as prebiotic and growth and immune stimulant in Tilapia larvae. Three major fish bacterial pathogens include Flavobacterium columnare, Streptococcus agalactiae, and Aeromonas hydrophila. Fish death usually occurs during season change from late summer to rainy season; March – July. In cases of fish stress, Trichodina may become pathogenic ectoparasite interferingwith feeding and respiration of small fish. The massive deaths of cage cultured tilapia due to the abrupt changes in weather and water quality were reported every year. Tilapia farmers' associations have been formally and informally set up in order to get the benefit from seed and commercial feed buying as well as product selling. There are still a room for Good Aquaculture Practices (GAP) including hatchery, nursery, and on-farm culture because most farmers lack of the motivation to improve their farms due to the GAP fish product is not high. The eggs from the laying hen fed 0.15% Spirulina platensis can develop to be functional food for the specific need of the consumer. The fermented fish by-product and snail can 50% partially replace dietary protein from fishmeal in Snake head fish culture.

Keyword : Nile tilapia (Oreochromis niloticus), genetic improvement, selection, genetic marker, biofloc, Sex reversal, Garlic extracts, organic feed, Thai-herb extracts, growth, Probiotic; Plant herb; Non-specific immune; Carcass composition, Aquaculture, Synbiotics, Prebiotics, Digestive enzymes, Tilapia Health, Tilapia Diseases, Fish Farm Management, Climate Change, laying hen, egg production, egg quality, Spirulina platensis, Snake head fish, Aquaponics, fermented fish by-product, Snail
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
ชุดโครงการ : แผนงาน หรือชุดโครงการ
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 รองศาสตราจารย์ ดร.ชนกันต์ จิตมนัส
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ผู้วิจัยหลัก
(2562)
50 ไม่ระบุ
2 นางสาววาสนา กองสมบัติ
ประเภทบุคคล : บุคคลภายนอก
หน่วยงานต้นสังกัด : -
ผู้วิจัยร่วม
8 ไม่ระบุ
3 นายเทพพิทักษ์ บุญทา
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : ไม่ระบุ
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ / สำนักงานคณบดีคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ / งานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา
ผู้วิจัยร่วม
6 ไม่ระบุ
4 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เทพรัตน์ อึ้งเศรษฐพันธ์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ผู้วิจัยร่วม
6 ไม่ระบุ
5 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิสรา กิจเจริญ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ผู้วิจัยร่วม
6 ไม่ระบุ
6 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิราพร โรจน์ทินกร
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ผู้วิจัยร่วม
6 ไม่ระบุ
7 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุดมลักษณ์ สมพงษ์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ผู้วิจัยร่วม
6 ไม่ระบุ
8 น.ส.น้ำเพชร ประกอบศิลป์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : ไม่ระบุ
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ / สำนักงานคณบดีคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ / งานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา
ผู้วิจัยร่วม
6 ไม่ระบุ
9 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัวเรียม มณีวรรณ์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้วิจัยร่วม
6 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2562
1/10/2561 ถึง 30/9/2562
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
189,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 189,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023