รูปแบบนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่ เพื่อการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-62-02-001.2
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2562
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : รูปแบบนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่ เพื่อการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่
บทคัดย่อ :

จุดมุ่งหมายของการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจบทบาทความร่วมมือของผู้มี

ส่วนได้ส่วนเสียทั้งภาครัฐ เอกชน ชุมชนและภาคประชาชนด้านรูปแบบนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่เพื่อ

การจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ตลอดจนเพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมใน

โดยการบรรยายถึงการเชื่อมโยงเครือข่ายความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตสินค้าเกษตร รวมทั้งเกษตรกร

หน่วยงานภาครัฐและวิสาหกิจ และผู้ประกอบการธุรกิจภาคเอกชนในพื้นที่ที่มีการพัฒนาการ

ท่องเที่ยวเชิงเกษตร ทั้งนี้ได้ศึกษาข้อมูลจากผู้นำชุมชน ผู้จัดการ เจ้าของธุรกิจ และสมาชิกที่เกี่ยวข้อง

กับการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร จำนวนทั้งสิ้น 280 คน ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ข้อมูลได้

รวบรวมในช่วงเดือนตุลาคม 2561 – กันยายน 2562 ทั้งนี้ได้รวบรวมข้อมูลจากหลากหลายวิธีการ

เช่น 1) การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 2) การอภิปรายกลุ่ม 3)การสังเกตจากคณะผู้วิจัย 4) การเปิด

เวทีชาวบ้าน และ 5) การใช้แบบสอบถาม และนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติแบบบรรยาย

ผลการศึกษาทำให้ทราบว่า นวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

นั้น เป็นการเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรมหรือธุรกิจ 2 ประเภทเข้าด้วยกัน คือ อุตสาหกรรมที่มี

การเกษตรเป็นพื้นฐาน รวมทั้งอุตสาหกรรมการบริการ และยังได้ผนวกเอาความรู้รวมทั้ง

ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากการไปเยี่ยมชมหรือสัมผัสกิจกรรมต่าง ๆ ในฟาร์มของผู้ประกอบการด้าน

การเกษตรนั้น ๆ หรือตามตลาดการเกษตร เทศกาลการเกษตรต่าง ๆ ทั้งในระดับชุมชนท้องถิ่นหรือ

ประเทศชาติในช่วงวันหยุดของเทศกาลเหล่านั้น อาจรวมไปถึงการเที่ยวชมสวนต่าง ๆ ทั้งของภาครัฐ

และเอกชน การจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเป็นเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างประชาชนที่มีชีวิตอยู่ใน

เมืองและชนบท ซึ่งเป็นโอกาสให้ครอบครัวของเกษตรกรได้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ให้

เป็นรายได้ที่หลากหลายยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ด้วยการช่วยให้มีกิจกรรมใหม่ ๆ หรือผลผลิตทางการเกษตรใหม่

ๆ จำหน่ายและเพิ่มมูลค่าทางสินค้าได้มากยิ่งขึ้น และในบางกรณีก็ยังช่วยให้คนวัยรุ่นหนุ่มสาวได้มี

ความหวังในการประกอบอาชีพในชุมชนของตนเอง และไม่ต้องออกไปแสวงหาอาชีพในเมืองหรือที่

ห่างไกลอีกต่อไป ตลอดจนยังเป็นปัจจัยที่ช่วยทำให้เศรษฐกิจของชุมชนชนบทได้มีการกระจายเพิ่มมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจัยสำคัญในการที่จะก่อให้เกิดความสำเร็จและยั่งยืนของการจัดการการ

ท่องเที่ยวเชิงเกษตรนั้น ขาดไม่ได้ซึ่งเครือข่ายความร่วมมือของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน ให้มา

เป็นพันธมิตรที่เกื้อกูลและเกื้อหนุนกันอย่างเหมาะสม

ดังนั้น จะเห็นได้ว่ากระบวนการดำเนินงานของเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของ

กลุ่มต่าง ๆ ที่เข้าร่วมกันนั้น จะมาด้วยความมุ่งหวังที่ท้าทายในการพัฒนาดังตัวอย่างคือ 1) การนำเอา

ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรในแต่ละประเภท และระดับที่แตกต่างกันใน

การพัฒนาการลงทุน และจุดมุ่งหมายมาหาข้อตกลงร่วมกันในการพัฒนาที่มีเป้าหมายเดียวกัน

กำหนดวัตถุประสงค์และโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในภาพรวมของกลุ่ม 2) กระบวนการ

เรียนรู้ร่วมกัน โดยเฉพาะทางการตลาดและความก้าวหน้าของธุรกิจ และที่สำคัญก็คือผู้ประกอบการ

ธุรกิจเพียงแห่งเดียวหรือประเภทใดประเภทหนึ่งจะอยู่ไม่ได้ถ้าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนไม่เข้า

มาร่วมกัน ทั้งนี้ เนื่องจากความต้องการซื้อในกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรนั้นเป็นลูกค้าหรือตลาด

เฉพาะที่ต้องมีความเข้าใจกันอย่างแท้จริง เพราะการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเป็นเพียงแต่แนวคิดและใน

เชิงปฏิบัติจริง ๆ อาจก่อให้เกิดผลกระทบทางลบได้เช่นกัน ถ้าไม่ร่วมกันวางแผนให้ดีนั่นเอง 3) ผลการ

ดำเนินงานทางด้านอุตสาหกรรมท่องเที่ยว โดยทั่วไปของผู้ประกอบการในพื้นที่ยังไม่ให้ความสำคัญ

กับการท่องเที่ยวของตนเท่าที่ควรจะเป็น และ 4) ถ้าไม่มีการรวมกลุ่มหรือการสร้างและพัฒนา

เครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในพื้นที่ หรือแม้แต่ขาดกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในการเข้าร่วมเครือข่ายไป ก็

อาจทำให้ธุรกิจไม่ยั่งยืนได้ ดังนั้นทุกฝ่ายจะต้องมาร่วมกันปรับเปลี่ยนหรือยืดหยุ่นความต้องการของ

ตนและขององค์กรร่วมกัน ซึ่งเป็นสิ่งท้าทายที่จะให้ทุกภาคส่วนมาเปิดใจพูดคุยและมีข้อตกลงร่วมกัน

ของเครือข่ายอย่างจริงจังนั่นเอง

คำสำคัญ: นวัตกรรมเกษตร, การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

คำสำคัญ : รูปแบบนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่ , การจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Modern Innovative Agricultural Model for Sustainable Tourism Management in Chiang Mai Province, Thailand
Abstract :

The main purpose of this research paper are aims to explore the

cooperative role of stakeholders in the public, private, community and public sectors

in the development of agricultural tourism networks in Chiang Mai. As well as to

study the level of participation in the development of an agro-tourism management

network and to evaluate the efficiency of cooperation networks in agro-tourism

management in Chiang Mai Province also to describe how developing linkages amongagriculture producers as government sector, private sector and famers who were

needed there to become tourism destination. The 280 respondents of this research

as all leaders, managers, owners, and members of agro-tourism activities in Chiang

Mai Province. Data collection during October 2015 - September 2016 was analyzed

by descriptive statistics using the following methods; 1) structured interview, 2) group

discussion, 3) observation by researcher 4) group forum and 5) questionnaire.

Agro-tourism is a marriage between two major industries. It is a

collection of Agricultural-based attractions, events and services that include

experiences like farm visits and tours, farmer’s market, agriculture festivals and fairs,

country vacation farms, guest ranches and market gardens. Agro-tourism can help to

bridge the gap between urban and rural populations. It is also one opportunity for

farm families to diversify revenues sources for their operation. It provides new market

opportunities and adds value to what they are already producing. In some cases the

addition of an agro-tourism venture has been known to assist in succession planning,

encouraging the younger generation to say or the farm and add enough revenue to

support more than one generation. Variable farms contribute to variable rural

economics. An agro-tourism cluster was defined as a group of like-minded

stakeholders and operators who come together to increase the profile for their

operations and geographic area along an agro-tourism theme. A flexible process such

as the agro-tourism cluster development initiative does not come without its

challenges. For example: 1) bringing together different players who are at different

level of development and commitment, and who have different needs, can present

a strangle when trying to find common ground. Even when common goals and

objectives are set, groups can sometime lose size of these as projects develop and

evolve, 2) learning tends to happen or an incremental level and marketing continues

to be a learning progression. Marketing strategizing and tracking have presented a

significant uphill learning curve, not only for operators, but also for stakeholders as

the specific market demands for agro-tourism are still in the process of being realized

and understood. In fact, the concept of agro-tourism can still carry a somewhat

negative stigma among some conventional or traditional players in both the tourism

and agriculture industries, as any emerging sector often does, 3) the result of an

industry still in its infancy stages is that there are operators who do not even realizethey have something to offer in agro-tourism and thereby don’t consider themselves

a part of the industry and 4) with the exception of one cluster group, most have

opted to maintain a fairly loose business structure. Although the flexibility can be

beneficial for changing players and needs, it can also present a challenge when

issues arise or the need for a formal body is required to apply for funding or speak to

the group needs.

Keywords: Agricultural Innovation, Sustainable Tourism

Keyword : Modern Innovative Agriculture Model, Sustainable Tourism Management
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 อาจารย์ ดร.วินิตรา ลีละพัฒนา
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : วิทยาลัยนานาชาติ
ผู้วิจัยหลัก
(2562)
60 ไม่ระบุ
2 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : วิทยาลัยนานาชาติ
ผู้วิจัยร่วม
40 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2562
1/10/2561 ถึง 30/9/2562
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
290,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 290,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023