การรับรู้นวัตกรรมเชิงนิเวศของผู้ประกอบการธุรกิจฟาร์มสมัยใหม่และนักท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดเชียงใหม่

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-62-02-001.1
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2562
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การรับรู้นวัตกรรมเชิงนิเวศของผู้ประกอบการธุรกิจฟาร์มสมัยใหม่และนักท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดเชียงใหม่
บทคัดย่อ :

การวิจัยเกี่ยวกับการรับรู้นวัตกรรมเชิงนิเวศของผู้ประกอบการธุรกิจฟาร์มเกษตรสมัยใหม่และนักท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดเชียงใหม่ มุ่งตอบประเด็นปัญหา คือ 1) ปัจจัยใดที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้นวัตกรรมเชิงนิเวศของผู้ประกอบการธุรกิจฟาร์มเกษตรสมัยใหม่ และนักท่องเที่ยวเชิงเกษตรมากที่สุด และ 2) การรับรู้นวัตกรรมเชิงนิเวศของผู้ประกอบการฟาร์มเกษตรสมัยใหม่มีความแตกต่างกับนักท่องเที่ยวเชิงเกษตรหรือไม่ อย่างไร โดยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากร ซึ่งเป็นผู้ประกอบการธุรกิจฟาร์มเกษตรสมัยใหม่ จำนวน 55 ราย และนักท่องเที่ยวเชิงเกษตรซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จำนวน 275 ราย ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึงตุลาคม พ.ศ. 2562 ด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจฟาร์มเกษตรสมัยใหม่ที่ผ่านการทดสอบค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.708 และแบบสอบถามนักท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.994 ทั้งนี้ ได้วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ X2-test สำหรับข้อมูลที่เป็น Nominal และ Ordinal Scale และได้ใช้ t-test สำหรับข้อมูลที่เป็น Interval และ Ratio Scale

ผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างประเภทกลุ่มของผู้ประกอบการฟาร์มเกษตรสมัยใหม่ และระดับการรับรู้นวัตกรรมเชิงนิเวศ พบว่า ผู้ประกอบการธุรกิจฟาร์มเกษตรสมัยใหม่ทั้ง 8 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มตลาดนัดเกษตรอินทรีย์ 2) กลุ่มแปรรูปผลผลิตเกษตร 3) กลุ่มฟาร์มเกษตรอินทรีย์ 4) กลุ่มที่พักเกษตรแบบออร์แกนิค 5) กลุ่มสวนผักเกษตรอินทรีย์ 6) กลุ่ม Agro-tourism 7) กลุ่มธุรกิจการเกษตร และ 8) กลุ่มสมาร์ทฟาร์ม มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญอย่างยิ่งทางสถิติที่ 0.001 กับระดับการรับรู้นวัตกรรมเชิงเกษตรในกลยุทธ์ด้านการพัฒนากระบวนการเพื่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในกระบวนการนำเสนอผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติที่ 0.01 ในกลยุทธ์ด้านรูปแบบการจัดการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในประเด็นการศึกษาหรือสำรวจความต้องการของลูกค้าด้านสิ่งแวดล้อมอย่างสม่ำเสมอ

ผลการศึกษายังพบว่า ปัจจัยทั้ง 3 ด้าน คือ 1) แรงกดดันของผู้ประกอบการ 2) การมุ่งเน้นการตลาดหรือธุรกิจของผู้ประกอบการ และ 3) ความรู้ความเข้าใจในด้านสิ่งแวดล้อมของผู้ประกอบการ มีอิทธิพลต่อระดับการรับรู้นวัตกรรมเชิงนิเวศอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติที่ 0.001 ทั้ง 3 กลยุทธ์ คือ 1) กลยุทธ์ด้านการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เชิงนิเวศ 2) กลยุทธ์ด้านการพัฒนากระบวนการเพื่อสิ่งแวดล้อม และ 3) กลยุทธ์ด้านรูปแบบการจัดการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่นกัน

สำหรับผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคล สังคม และเศรษฐกิจ กับระดับการรับรู้นวัตกรรมเชิงนิเวศของนักท่องเที่ยวเชิงเกษตร พบว่า ลักษณะของเพศ ระดับการศึกษา อาชีพ ระดับรายได้และคุณสมบัติผลิตภัณฑ์ใหม่ มีความสัมพันธ์กับระดับการรับรู้นวัตกรรมเชิงนิเวศในด้านนวัตกรรมด้านภาพลักษณ์ ตราผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และด้านตัวกระตุ้นด้วยสื่อโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่าง ๆ อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05

นอกจากนี้ ผลการวิจัยได้พบว่า ผู้ประกอบการธุรกิจฟาร์มเกษตรสมัยใหม่มีการรับรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมใน 3 ด้าน คือ 1) กลยุทธ์ด้านการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เชิงนิเวศ 2) กลยุทธ์ด้านการพัฒนากระบวนการสิ่งแวดล้อม และ 3) กลยุทธ์ด้านรูปแบบการจัดการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม น้อยกว่าระดับการรับรู้นวัตกรรมเชิงนิเวศของนักท่องเที่ยวเชิงเกษตรในด้านนวัตกรรม ด้านภาพลักษณ์ ตราผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และด้านตัวกระตุ้นด้วยสื่อโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่าง ๆ อย่างมีนัยสำคัญอย่างยิ่งทางสถิติที่ 0.001

คำสำคัญ : การรับรู้นวัตกรรมเชิงนิเวศ , ผู้ประกอบธุรกิจฟาร์มสมัยใหม่ , นักท่องเที่ยวเชิงเกษตร
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : The Perception on Eco-innovativeness of Modern Agricultural Farms and Agrotourists in Chiang Mai Province, Thailand
Abstract :

This research in the topic of the perception on eco-innovativeness of modern agricultural farm entrepreneurs and agrotourists in Chiang Mai province, Thailand to answering two problems are 1) what factors are mostly effecting to the perception on eco-innovativeness of modern agricultural farms entrepreneurs and agrotourists? 2) Are different between the perception on eco-innovativeness of modern agricultural farm entrepreneurs and agrotourists and How? The data wascollected from 55 respondents who are modern agricultural farms entrepreneurs and other 275 agrotourists by accidental random sampling during June – October 2019. The instruments were semi-structural interview for modern agricultural farm entrepreneurs with reliability was 0.708 and questionnaire for agrotourists with 0.994 of reliability. Research hypotheses have been analyzed by X2-test for nominal and ordinal scale and t-test for interval and ratio scale.

The relationship between the type of modern agricultural farm entrepreneurs was found that all 8 types of modern agricultural farm entrepreneurs are 1) organic marketing group 2) agricultural processing group 3) organic farm group 4) organic homestay group 5) organic vegetable group 6) agro-tourism group 7) agricultural business group and 8) smart farm group are highly significate relationship to eco-innovativeness perception in environmental processing development strategy especially on processing of product presentation and environmental technology at 0.001 and high significate relationship to environmental friendly management strategy especially on study or survey of customer need for environmental conservation at 0.01.

The result pointed that all 3 factors are 1) pressure of tourism entrepreneurs 2) marketing and business oriented of entrepreneurs and 3) knowledge of environmental and understanding of farm entrepreneurs were effected to the perception of eco-innovativeness at 0.001 in three strategies as follow: 1) creatively eco-products strategy 2) environmental processing development strategy and 3) environmental friendly management strategy.

The relationship between personal social and economic characteristics and eco-innovativeness perception of agrotourists were founded that sex, educational level, occupation, monthly average income and new products’ quality were significant related to eco-innovativeness perception of agrotourists in innovation in image and brand of environmentally friendly products and stimulators or public relation advertise channel at 0.05.

Furthermore, the result of this research evident that the perception on eco-innovativeness of modern agricultural farm entrepreneurs in all of the three strategies including 1) creatively eco products strategy 2) environmental processing development strategy and 3) environmental friendly management strategy was highlysignificant lower than the perception on eco-innovativeness of agrotourists in innovation, image and brand of environmental friendly products, and advertise stimulators or public relation channel at 0.001.

Keyword : Eco-innovativeness perception, Modern Agricultural Farms, Agrotourist
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : วิทยาลัยนานาชาติ
ผู้วิจัยหลัก
(2562)
60 ไม่ระบุ
2 อาจารย์ ดร.วินิตรา ลีละพัฒนา
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : วิทยาลัยนานาชาติ
ผู้วิจัยร่วม
30 ไม่ระบุ
3 น.ส.รดาพร ทองมา
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : ไม่ระบุ
หน่วยงานต้นสังกัด : วิทยาลัยนานาชาติ / สำนักงานคณบดีวิทยาลัยนานาชาติ
ผู้วิจัยร่วม
10 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2562
1/10/2561 ถึง 30/9/2562
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
290,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 290,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023