การศึกษาการผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดซิลิกอนแบบกึ่งโปร่งแสงเพื่อใช้ร่วมกับอาคารประหยัดพลังงาน

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-61-112
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : กำลังดำเนินการ
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2560 ถึง 30 กันยายน 2561
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การศึกษาการผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดซิลิกอนแบบกึ่งโปร่งแสงเพื่อใช้ร่วมกับอาคารประหยัดพลังงาน
บทคัดย่อ :

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแผงเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดผลึกรวมซิลิกอนแบบกึ่งโปร่งแสงสาหรับการใช้ประโยชน์ทั้งจากพลังงานไฟฟ้าและแสงธรรมชาติภายในอาคาร โดยมีรูปแบบของการเว้นระยะห่างระหว่างเซลล์มีค่าเท่ากับ 1 2.5 และ 4 cm (แผงที่ 1-3) ตามลาดับ เซลล์แสงอาทิตย์เหล่านี้ถูกแบบต่ออนุกรมบนกระจกใสขนาด 78 ? 88 cm2 ทาการติดตั้งแผงดังกล่าวบนผนังของอาคารแบบจาลอง ในแนวตั้งฉากและหันส่วนของผนังด้านที่ทาการติดแผงเซลล์แสงอาทิตย์ไปยังทิศใต้ จากการทดสอบการใช้งานพบว่าแผงเซลล์แสงอาทิตย์หมายเลข 1-3 มีประสิทธิภาพการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าเท่ากับ 7.27 7.00 และ 6.78% ตามลาดับ และสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ 64.6 50.8 และ 43.8 Wh/day ส่วนผลการทดสอบทางด้านแสงสว่างจากธรรมชาติในอาคารแบบจาลอง โดยใช้งานแผงเซลล์แสงอาทิตย์หมายเลข 1-3 ร่วมกับอาคาร พบว่าแผงเซลล์แสงอาทิตย์หมายเลข 3 ที่มีพื้นที่ส่วนโปร่งแสงสูงที่สุดมีค่าความสว่างเฉลี่ยสูงสุด 2,964 lux ในขณะที่แผงเซลล์แสงอาทิตย์หมายเลข 1 และ 2 ที่มีพื้นที่ส่วนโปร่งแสงน้อยลง มีค่าความสว่างภายในอาคารเพียง 1,049 และ 1,330 lux ตามลาดับ สาหรับการประเมินการใช้พลังงานสุทธิของอาคารที่ทาการทดสอบจะพิจารณาพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงเซลล์แสงอาทิตย์และพลังงานไฟฟ้าที่ต้องใช้สาหรับแสงสว่างในช่วงเวลาที่มีค่าความสว่างภายในอาคารมีค่าน้อยกว่า 500 lux ผลการทดสอบพบว่าการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์หมายเลข 1 มีพลังงานไฟฟ้าสุทธิเท่ากับ 25.6 Wh/day ในขณะที่กรณีของแผงหมายเลข 2 และ 3 มีพลังงานไฟฟ้าสุทธิใกล้เคียงกัน 43.1 และ 41.6 Wh/day ซึ่งแผงเซลล์แสงอาทิตย์หมายเลข 2 มีพลังงานไฟฟ้าสุทธิสูงที่สุด จึงถือได้ว่าการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดซิลิกอนแบบผลึกรวมจานวน 35 เซลล์ ที่มีการเว้นระยะห่างระหว่างเซลล์แสงอาทิตย์เท่ากับ 2.5 cm เหมาะสมกับการติดตั้งร่วมกับอาคารในสาหรับกรณีที่พิจารณาปริมาณไฟฟ้าสุทธิจากพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ และปริมาณการใช้พลังงานด้านแสงสว่างร่วมกัน

คำสำคัญ : แผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบกึ่งโปร่งแสง การใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ร่วมกับอาคาร ประสิทธิภาพ และความสว่าง
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Study of Semi-Transparent Silicon Solar Panels Production for Energy-Saving Building Integration
Abstract :

The purpose of this research is to develop a polycrystalline semi-transparent silicon solar panel for building integration by varying the spacing between solar cells from 1, 2.5 and 4 cm, respectively (3 panels). These solar cells were then connected in series using floated glass (88 ? 78 cm2) as a substrate. The testing results of all solar panels showed that module 1, 2 and 3 has energy conversion efficiency of 7.27, 7.00 and 6.87% and the energy generation was estimated to be 64.6, 50.9 and 43.8 Wh/day, respectively. For daylight testing aspect, it was found that module 3 provided the maximum internal illuminance level of 2,946 lux, while module 1 and 2, which has less transparent area, also provided less internal illuminance of 1,049 and 1,330 Lux, respectively. Evaluation of the net energy of the testing room where the consideration of electricity generation and lighting energy consumption when the internal illuminance lower than 500 Lux is taken into account. The result revealed that the net energy of 25.6 Wh/day, 43.2 Wh/day and 41.5 Wh/day was approximated when the wall was installed with panel 1, 2 and 3, respectively. It was seen that panel 2 offers the highest net energy and it is, therefore, suitable to be used with the building in order to maximize the benefit from electricity generation and natural light.

Keyword : Semitransparent solar cell, building integrated solar cell, efficiency and illuminance
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สราวุธ พลวงษ์ศรี
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : วิทยาลัยพลังงานทดแทน
ผู้วิจัยหลัก
(2561)
40 ไม่ระบุ
2 รองศาสตราจารย์ ดร.อัครินทร์ อินทนิเวศน์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : วิทยาลัยพลังงานทดแทน
ผู้วิจัยร่วม
30 ไม่ระบุ
3 นางสาวปิยะวัชร์ แข่งขัน
ประเภทบุคคล : บุคคลภายนอก
หน่วยงานต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ผู้วิจัยร่วม
30 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2561
1/10/2560 ถึง 30/9/2561
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
287,600.00
   รวมจำนวนเงิน : 287,600.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023