ความเป็นไปได้ในการใช้ไส้เดือนน้ำจืดกำจัดของเสียบ่อเลี้ยงปลาดุก ภายใต้ เงื่อนไขระบบการเลี้ยงสัตว์น้ำที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-60-062/61-084.3
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2560 ถึง 30 กันยายน 2561
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : ความเป็นไปได้ในการใช้ไส้เดือนน้ำจืดกำจัดของเสียบ่อเลี้ยงปลาดุก ภายใต้ เงื่อนไขระบบการเลี้ยงสัตว์น้ำที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
บทคัดย่อ :

การศึกษาความหลากหลายและจำแนกชนิดไส้เดือนน้ำจืดในประเทศไทยจาก 2 แหล่งที่มา คือ ร้านขายไส้เดือนน้ำจืดในเขตภาคกลางและลำเหมืองสาธารณะในเขตตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่โดยลักษณะทางภายนอก พบว่า ไส้เดือนน้ำจืดที่มีแหล่งที่มาจากภาคกลางจำแนกได้ 4 วงศ์ 5 สกุล คือ Tubifex sp. (Tubificidae) คิดเป็นร้อยละ 38.64 รองลงมาคือ Nais sp. (Naididae) คิดเป็นร้อยละ 30.85, Aeolosoma sp. (Aeolosomatidae) คิดเป็นร้อยละ 22.55, Branchiura sowerbyi (Tubificidae) คิดเป็นร้อยละ 4.86 และ Haplotaxis sp. (Haplotaxidae) คิดเป็นร้อยละ 3.10 ซึ่งมากกว่าไส้เดือนน้ำจืดที่มีแหล่งที่มาจากจังหวัดเชียงใหม่ที่มี 3 วงศ์ 3 สกุล คือ Aeolosoma sp. (Aeolosomatidae) คิดเป็นร้อยละ 85.81 รองลงมาคือ Branchiura sowerbyi (Tubificidae) คิดเป็นร้อยละ 11.23 และ Nais sp. (Naididae) คิดเป็นร้อยละ 2.96

การศึกษาอาหารที่เหมาะสมที่ใช้เลี้ยงไส้เดือนน้ำจืดด้วยอาหารทดลอง 4 ชุดการทดลองๆ ละ 3 ซ้ำ คือ เนื้อปลาบดละเอียด เศษผักที่เน่าเปื่อย ยีสต์ และเจลลี่ เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ทำการชั่งน้ำหนักรวมของไส้เดือนน้ำจืดทุกสัปดาห์ เพื่อดูการเจริญเติบโตทางด้านน้ำหนักของไส้เดือนน้ำจืด สรุปได้ว่า ไส้เดือนน้ำจืดที่เลี้ยงด้วยยีสต์มีแนวโน้มการเจริญเติบโตดีที่สุดแม้ว่าจะมีน้ำหนักลดลงเรื่อยๆ แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติระหว่างไส้เดือนน้ำจืดที่เลี้ยงด้วยเศษผักที่เน่าเปื่อยและยีสต์ (p>0.05) แต่เมื่อทำการทดลองใหม่โดยทำการชั่งน้ำหนักรวมของไส้เดือนน้ำจืดก่อนและสิ้นสุดการทดลอง พบว่า ไส้เดือนน้ำจืดที่เลี้ยงด้วยยีสต์มีแนวโน้มการเจริญเติบโตดีที่สุดและมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ไม่แตกต่างกันทางสถิติกับไส้เดือนน้ำจืดที่เลี้ยงด้วยเศษผักที่เน่าเปื่อย (p>0.05) แต่มีน้ำหนักมากกว่าไส้เดือนน้ำจืดที่เลี้ยงด้วยเจลลี่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05)

การศึกษาความเป็นไปได้ในการนำไส้เดือนน้ำจืดมากำจัดของเสียที่พื้นก้นบ่อเลี้ยงปลาภายใต้เงื่อนไขระบบการเลี้ยงสัตว์น้ำที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยทดลองเลี้ยงปลาดุกร่วมกับไส้เดือนน้ำจืดในปริมาณที่แตกต่างกัน 4 ชุดการทดลองๆ ละ 3 ซ้ำ ทดลองเป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่า สามารถนำไส้เดือนน้ำจืดมาเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการกำจัดของเสียที่พื้นก้นบ่อเลี้ยงปลา เนื่องจากปริมาณสารอินทรีย์รวมในดินและแอมโมเนียในน้ำระหว่างการเลี้ยงปลาดุกร่วมกับไส้เดือนน้ำจืดลดลงแตกต่างจากการเลี้ยงปลาดุกเพียงอย่างเดียวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)

คำสำคัญ : ไส้เดือนน้ำ , ปลาดุก , ระบบเลี้ยงสัตว์น้ำแบบน้ำหมุนเวียน , เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : POSSIBILITY OF USING AQUATIC WORMS TO GET RID OF FISH POND WASTES UNDER AQUACULTURE SYSTEM WITH SUSTAINABLE AND ENVIRONMENTALLY FRIENDLY CONDITION
Abstract :

Diversity identification of aquatic worms found in Thailand from 2 sources including pet shop in the central region and natural ditch at Sansai district, Chiang Mai province was conducted by external morphological features concluded that there are different aquatic worm species per region. Aquatic worms from central region had 4 Families 5 Genus such as 38.64% Tubifex sp. (Tubificidae), 30.85% Nais sp. (Naididae), 22.50% Aeolosoma sp. (Aeolosomatidae), 4.86% Branchiura sowerbyi (Tubificidae) and 3.10% Haplotaxis sp. (Haplotaxidae) respectively. Aquatic worms from Chiang Mai province had 3 Families 3 Genus such as 85.81% Aeolosoma sp. (Aeolosomatidae), 11.23% Branchiura sowerbyi (Tubificidae) and 2.96% Nais sp. (Naididae) respectively.

A study was conducted on a proper diet to feed aquatic worms (4 treatments, each treatments had 3 replications) using minced fish, decayed vegetable, yeasts and jellies for 4 weeks. It was concluded that aquatic worms fed with yeast had the best growth even through decline growth curve but no different fed with decayed vegetables (p>0.05). Aquatic worms fed with decayed vegetables and yeast had a higher growth rate than those fed with minced fish and jellied (p<0.05). Weight checking at aquatic worm 2 times (before and after demonstration), it was found that aquatic worm fed with yeast had the best growth and an increased growth curve but no different fed with decayed vegetables (p>0.05) and growth higher than jellied (p<0.05)

The study was conducted on the possibility of using aquatic worms to dispose of waste at the bottom of fish pond under aquaculture system with sustainable and environmentally friendly condition from culture catfish using 4 different quantities of aquatic worms (4 treatments 3 replications) for 12 weeks. It was concluded that compared with using only culture catfish (p<0.05) the additional use of aquatic worms to dispose of waste at the bottom of the pond because decreased organic matter in the soil and deceased ammonia in the water.

Keyword : Aquatic worms, Catfish, Recirculated-Aquaculture System, Environmentally friendly
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
ชุดโครงการ : แผนงาน หรือชุดโครงการ
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประจวบ ฉายบุ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ผู้วิจัยหลัก
(2561)
70 ไม่ระบุ
2 นายสุฤทธิ์ สมบูรณ์ชัย
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : ไม่ระบุ
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ / สำนักงานคณบดีคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ / งานบริการวิชาการและวิจัย
ผู้วิจัยร่วม
10 ไม่ระบุ
3 น.ส.น้ำเพชร ประกอบศิลป์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : ไม่ระบุ
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ / สำนักงานคณบดีคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ / งานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา
ผู้วิจัยร่วม
10 ไม่ระบุ
4 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.อานุภาพ วรรณคนาพล
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ผู้วิจัยร่วม
10 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2561
1/10/2560 ถึง 30/9/2561
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
0.00
   รวมจำนวนเงิน : 0.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
2 มกราคม 2561
วารสารที่ตีพิมพ์ : วารสารวิจัยเทคโนโลยีการประมง 
ฉบับที่ : 1
หน้า :
ระดับการนำเสนอ : ระดับชาติ
เจ้าของวารสาร : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัยพากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
0.8
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023