แนวทางการปรับปรุงคุณภาพของไส้ไก่สดที่ใช้เป็นแหล่งโปรตีนในฟาร์มเลี้ยงปลาดุกและลดการปล่อยน้ำเสีย

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-60-062/61-084.2
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2560 ถึง 30 กันยายน 2561
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : แนวทางการปรับปรุงคุณภาพของไส้ไก่สดที่ใช้เป็นแหล่งโปรตีนในฟาร์มเลี้ยงปลาดุกและลดการปล่อยน้ำเสีย
บทคัดย่อ :

ศึกษาความเหมาะสมของการใช้ไส้ไก่เป็นวัตถุดิบในการผลิต silage เพื่อใช้เป็นอาหารในการเลี้ยงปลาดุกอัฟริกัน (Clarias gariepinus) โดยในขั้นตอนแรก ศึกษาประสิทธิภาพของกรด citric ในความเข้มข้นที่ต่างกัน (4% 6% 8% และ 10%) ในการหมักไส้ไก่สดที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 30 วัน ผลการทดลองพบว่า โปรตีนและไขมันใน silage ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเทียบกับไส้ไก่สด ในทุกระดับความเข้มข้นของกรด citric อย่างไรก็ตามการหมักไส้ไก่ด้วยกรด citricที่ความเข้มข้น 8% และ 10% มีปริมาณโปรตีนใน silage สูงกว่าการหมักที่ความเข้มข้น 4% และ 6% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในการทดลองต่อมา เพื่อผลิตอาหาร silage แห้ง ใช้ silage ที่ได้จากการหมักไส้ไก่ด้วยกรดซิติก 8% ผสมกับวัตถุดิบอาหารสัตว์ ได้แก่ รำละเอียด และ กากถั่วเหลือง โดยผสมรำละเอียดลงใน silage ที่ระดับ 10% 20% 30% 40% และ 50% (RB10, RB20, RB30, RB40 และ RB50 ตามลำดับ) และผสมกากถั่วเหลืองลงใน silage ที่ระดับ 20% 30% 40% และ 50% (SB20, SB30, SB40 และ SB50 ตามลำดับ) พบว่า โปรตีนและไขมันใน อาหาร silage ผสมรำละเอียดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในทุกระดับของการผสม แต่ โปรตีนใน อาหาร silage ผสมกากถั่วเหลืองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในทุกระดับของการผสม ในขณะที่ไขมันลดลงในทุกระดับของการผสม การทดลองสุดท้าย ใช้อาหารจากการทดลองที่สอง ที่ผสม silage กับ รำละเอียด ที่ระดับ 10% 20% 30% และ 40% (RB10, RB20, RB30 และ RB40) หรือ ผสมกากถั่วเหลือง ที่ระดับ 20% 30% 40% และ 50% (SB20, SB30, SB40 และ SB50) โดยใช้อาหารสำเร็จรูปปลาดุกเป็นอาหารควบคุม (Contr) เลี้ยงปลาดุกอัฟริกัน จำนวน 3 ซ้ำ ซ้ำละ 30 ตัว (น้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ย 16.05 ก.) ระยะเวลาทดลอง 60 วัน เมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่า ปลาดุกอัฟริกันที่เลี้ยงด้วยอาหาร Contr มีน้ำหนักเพิ่ม อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ (SGR) สูงกว่า และ อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ (FCR) ต่ำกว่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เปรียบเทียบกับปลาที่เลี้ยงด้วยอาหาร silage ผสม รำละเอียดทุกระดับ (RB10, RB20, RB30 และ RB40) และ อาหาร silage ผสมกากถั่วเหลืองบางระดับ ได้แก่ SB30, SB40 และ SB50 ตามลำดับ (p<0.05) แต่ไม่แตกต่างกับปลาที่เลี้ยงด้วยอาหาร SB20 (p>0.05) อัตรารอดของปลาในการทดลองไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ระดับโปรตีนในเนื้อปลาเมื่อสิ้นสุดการทดลองไม่ได้รับผลกระทบจากอาหารทดลอง (p>0.05) แต่ระดับไขมันในเนื้อปลาที่เลี้ยงด้วยอาหาร silage ผสมกากถั่วเหลืองทุกระดับ (SB20, SB30, SB40 และ SB50) มีค่าต่ำกว่าปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตรอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) การทดลองครั้งนี้สรุปได้ว่า สามารถใช้กากถั่วเหลืองผสม silage ได้ไม่เกิน 20% ในการผลิตอาหารเลี้ยงปลาดุกอัฟริกัน (Clarias gariepinus)

คำสำคัญ : ไส้ไก่ , การหมัก , ปลาดุกอัฟริกัน , กรด citric , by-product
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Improvement nutritional quality of poultry viscera utilization as protein source for catfish farm and reduction of wastewater effluent
Abstract :

Experiments were carried out to investigate the suitability of using chicken intestine as raw material for silage production and the effect of silage blended with rice bran or soybean meal in the diet of African catfish (Clarias gariepinus). In the first stage, to evaluate the efficiency of different concentration of citric acid to fermented chicken intestine at room temperature for 30 days. Acid silages were prepared using chicken intestine supplemented with four different concentrations (4% 6% 8% and 10%) of citric acid. After 30 days of fermentation, results indicated that protein and lipid in silages showed a declining trend significantly (p<0.05). However, protein content in silage fermented with citric acid 8% and 10% were significantly (p<0.05) higher than those fermented with 4% and 6%. In the next stage, Eight experimental diets containing various levels of rice bran (RB10, RB20, RB30 and RB40) or soybean meal (SB20, SB30, SB40 and SB50) were mixed in liquid silage and a commercial catfish feed was used as a control diet (Contr). Triplicate groups of 30 fish (initial weight: 16.05 g) were fed daily at 5% body weight for 60 days. Significant higher (p<0.05) in weight gain, specific growth rate (SGR) and lower feed conversion ratio (FCR) were observed in fish fed on Contr diet compared to those fed rice bran inclusion in the diets (RB10, RB20, RB30 and RB40) and some soybean meal inclusion diets (SB30, SB40 and SB50). However, the growth performance was similar in fish fed Contr and SB20 (p>0.05). No significant differences were detected in survival rates among fish fed all treatments (p>0.05). The carcass protein content were similar in all treatments (p>0.05). Lipid contents in fish fed soybean meal inclusion diets (SB20, SB30, SB40 and SB50) were significantly lower (p<0.05) than those of the rest diets. The study demonstrated that up to 20% of soybean meal could be incorporated in silage diets of Clarias gariepinus.

Keyword : chicken viscera, fermentation, citric acid, African catfish, by-product
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
ชุดโครงการ : แผนงาน หรือชุดโครงการ
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เทพรัตน์ อึ้งเศรษฐพันธ์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ผู้วิจัยหลัก
(2561)
80 ไม่ระบุ
2 รองศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.จงกล พรมยะ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ผู้วิจัยร่วม
20 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2561
1/10/2560 ถึง 30/9/2561
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
0.00
   รวมจำนวนเงิน : 0.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
11 ธันวาคม 2561
วารสารที่ตีพิมพ์ : บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ
ฉบับที่ : 1
หน้า :
ระดับการนำเสนอ : ระดับชาติ
เจ้าของวารสาร :
0.2
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023