การพัฒนาฟาร์มต้นแบบเกษตรอัจฉริยะบนระบบไอโอที ของการเลี้ยงปลากะพงขาวความหนาแน่นสูงในระบบปิดให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืน

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-63-01-001
รหัสอ้างอิง วช. : 63A111000015
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 30 เมษายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การพัฒนาฟาร์มต้นแบบเกษตรอัจฉริยะบนระบบไอโอที ของการเลี้ยงปลากะพงขาวความหนาแน่นสูงในระบบปิดให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืน
บทคัดย่อ :

จุดประสงค์หลักของงานวิจัยนี้คือการพัฒนาต้นแบบเกษตรอัจฉริยะบนระบบไอโอที IoT (Internet of Thing) ของการเลี้ยงปลากะพงขาวความหนาแน่นสูงในระบบปิดให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืน เพื่อนำเทคโนโลยี ไอโอที IoT (Internet of Thing) มาใช้ร่วมกับการจัดการของการเลี้ยงปลาในบ่อพลาสติกในระบบปิด การทดลองศึกษาที่ 1 (ปีที่ 1) แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 การออกแบบฮาร์ดแวร์และเซนเซอร์ ส่วนที่ 2 การออกแบบแอปพลิเคชันบนมือถือ ประสิทธิภาพการจัดการคุณภาพน้ำด้วยระบบ IoT (Internet of Thing) ประกอบด้วยพารามิเตอร์ที่สำคัญในการเลี้ยงสัตว์น้ำ 4 พารามิเตอร์ คือ ปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำ Dissolved Oxygen (DO) กรด-ด่าง (pH) อุณหภูมิ และ ความขุ่นในน้ำ(Turbidity) โดยระบบใช้เซนเซอร์ที่เป็นไมโครคอนโทรลเลอร์ และแอปพลิเคชันบนมือถือสำหรับจัดการข้อมูล และติดตามผลการวัดค่าของข้อมูล ระบบการแจ้งเตือนจะถูกส่งไปยังผู้ใช้ระบบ เมื่อพารามิเตอร์ตัวใดตัวหนึ่ง มีค่าผิดปกติ คือ เมื่อมีค่าสูงกว่า หรือต่ำกว่า ค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ให้เหมาะสมกับสัตว์น้ำ บอร์ด Arduino Nano ถูกใช้เป็นตัวควบคุมการทำงานในการอ่านค่าอนาล็อกจากเซนเซอร์แต่ละตัว เทคโนโลยีไอโอที IoT (Internet of Thing) แบบไร้เซิร์ฟเวอร์ ถูกสร้างขึ้นโดยใช้ Firebase Realtime Database (RTDB) และ ESP8266 การทดสอบระบบของงานวิจัยนี้จัดทำขึ้นที่ฟาร์มสาธิต คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ทำการทดสอบและปรับปรุงระบบให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งานในพื้นที่จริงในการทดลองจากการเลี้ยงปลาทั้งหมดจำนวน 9 บ่อ เป็นระยะ เวลา 5 เดือน ตรวจวัดค่าปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำและค่าพารามิเตอร์อื่น ๆ ตลอด 24 ชั่วโมง ช่วยลดความเสี่ยงในสภาวะเกิดระดับที่ออกซิเจนต่ำกว่าระดับที่เหมาะสม และค่าพารามิเตอร์อื่น ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น รวมถึงสามารถปรับค่าพารามิเตอร์ได้ด้วยผู้ใช้งานเอง แอปพลิเคชันมือถือได้รับการพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยี React Native เพื่อรองรับทั้งระบบปฏิบัติการ ไอโอเอส (iOS) และ แอนดรอยด์ (Android) โดยข้อมูลเหล่านี้จะถูกส่งผ่านทางแอปพลิเคชันทุก 5 นาที และต้องทำความสะอาดหัว โพรบวันละ 1 ครั้ง และผ้ากรองทุก ๆ 2 - 3 วัน โดยผู้ดูแล

คำสำคัญ : เกษตรอัจฉริยะ ระบบไอโอที การเลี้ยงปลาในระบบปิด
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Development of smart farm prototype using IoT for high density sea bass farming in closed systems for environmentally-friendly and sustainable
Abstract :

The main purpose of the research was to develop a smart farm prototype using IoT for high density sea bass farming in closed systems for environmentally friendly and sustainable purposes. This paper presented a water quality monitoring system by using IoT technology for aquaculture (i.e., sea bass culture management in plastic pond). The first experiment (first year) consisted of two parts; first part to design hardware and sensor while the second part to develop mobile application. For water quality sensors under the IoT (Internet of Thing), there were four water quality parameters. These parameters included Dissolved Oxygen (DO), potential hydrogen (pH) level, temperature, and turbidity. The system used sensors, micro controllers, and a mobile application for acquiring and monitoring data. The notification would be sent to users when those parameters were above or below the standard values. The Arduino Nano was used as controller unit to read the analog values from the sensors. Serverless IoTs was created using Firebase Realtime Database (RTDB) and ESP8266. The experiment has been conducted at Faculty of Fisheries Technology and Aquatic Resources, Maejo University. The system was determined and improved to suit the conditions of use in the real area by rearing 9-pond fish for 5 months. The dissolved oxygen was measured every 5 minutes throughout the experiments to reduce the risk in conditions where oxygen levels were below optimal levels, same as other parameters. Mobile application was developed using React Native technology to support both iOS and Android operation system. It can monitor water quality parameters every 5 minutes in real-time. For maintenance the sensor, the sensor probe must be cleaned once a day and a filter cloth must be cleaned every 2-3 days.

Keyword : smart farm; Internet of Thing; closed systems
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Green
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สายัณห์ อุ่นนันกาศ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยหลัก
(2563)
50 ไม่ระบุ
2 อาจารย์ ดร.จอมสุดา ดวงวงษา
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ผู้วิจัยร่วม
40 ไม่ระบุ
3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เทพรัตน์ อึ้งเศรษฐพันธ์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ผู้วิจัยร่วม
10 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2563
1/10/2562 ถึง 30/9/2563
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
1,200,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 1,200,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
1 พฤษภาคม 2564
วารสารที่ตีพิมพ์ : บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ
ฉบับที่ :
หน้า :
ระดับการนำเสนอ :
เจ้าของวารสาร :
0.4
1 มีนาคม 2565
วารสารที่ตีพิมพ์ : แก่นเกษตร 
ฉบับที่ : 2
หน้า : 348-361
ระดับการนำเสนอ : ระดับชาติ
เจ้าของวารสาร : คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
0.8
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
วันที่ดำเนินการรายละเอียด
13 มกราคม 2565
ลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์ : เชิงพาณิชย์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023