การบำบัดน้ำเสียจากอุตสาหกรรมการผลิตผ้าหม้อห้อมด้วยการใช้เชื้อจุลินทรีย์ผสม

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-63-03-002
รหัสอ้างอิง วช. : 63A111000029
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 30 เมษายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การบำบัดน้ำเสียจากอุตสาหกรรมการผลิตผ้าหม้อห้อมด้วยการใช้เชื้อจุลินทรีย์ผสม
บทคัดย่อ :

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบำบัดน้ำเสียจากอุตสาหกรรมการผลิต

ผ้าหม้อห้อมด้วยการใช้เชื้อจุลินทรีย์ที่คัดแยกได้จากตัวอย่างน้ำเสียที่ผ่านกระบวนการฟอกย้อม และดิน

บริเวณอุตสาหกรรมการผลิตผ้าหม้อห้อมที่มีการปนเปื้ อนของสีย้อมจำนวน 12 ตัวอย่าง ได้เชื้อจุลินทรีย์

จำนวน 12 ไอโซเลท จากนั้นคัดเลือกเชื้อจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการกำจัดสีน้ำเสียจาก

อุตสาหกรรมการผลิตผ้าหม้อห้อม โดยทดสอบความสามารถในการกำจัดสีในอาหารแข็ง nutrient agar

(NA) ที่มีสีย้อมสิ่งทอเป็ นองค์ประกอบ พบว่า เชื้อจุลินทรีย์จำนวน 6 ไอโซเลท ได้แก่ เชื้อจุลินทรีย์

S2B, S3E, S4A, S4E, S7A และ S7B มีความสามารถในการกำจัดสีย้อมในน้ำเสียสังเคราะห์ที่มีการเติม

สีย้อม พบว่า เชื้อจุลินทรีย์จำนวน 3 ไอโซเลท ได้แก่ เชื้อจุลินทรีย์ไอโซเลท S2B, S3E และ S7A

สามารถกำจัดสีได้สูง เชื้อจุลินทรีย์ทั้ง 3 ไอโซเลท เป็นเชื้อแบคทีเรียที่มีลักษณะเป็นท่อน ติดสีแกรม

บวก และเมื่อศึกษาลำดับเบสของยีน 16S rRNA พบว่าเชื้อจุลินทรีย์ไอโซเลท S7A, S2B และ S3E มี

ลำดับเบสของยีน 16S rRNA ที่คล้ายกับ Bacillus thruringiensis ร้อยละ 99.66, Bacillus cereus ร้อยละ

99.86 และ Bacillus cereus ร้อยละ 99.59 ตามลำดับ การทดสอบหาสภาวะที่เหมาะสมต่อการกำจัดสีใน

น้ำเสียสังเคราะห์ของเชื้อจุลินทรีย์ไอโซเลท S7A คือ สภาวะที่มีน้ำตาลซูโครส 2.0 กรัมต่อลิตร ปุ๋ยยูเรีย

2.5 กรัมต่อลิตร ปุ๋ยสูตรเสมอ 1.0 กรัมต่อลิตร ค่าความเป็นกรด-ด่าง เริ่มต้นเท่ากับ 10.0 และปริมาณเชื้อ

เริ่มต้นร้อยละ 10.0 มีความสามารถในการกำจัดสีได้ร้อยละ 76.32 และมีประสิทธิภาพในการลดค่าความสกปรก (FCOD) ได้ร้อยละ 42.5 ในวันที่ 4 ของการทดลอง มีประสิทธิภาพในการกำจัดสีในน้ำ

เสียจริงของน้ำเสียจากอุตสาหกรรมการผลิตผ้าหม้อห้อมภายใต้สภาวะที่เหมาะสมร้อยละ 41.6 และมี

ประสิทธิภาพในการลดค่าความสกปรก (FCOD) ร้อยละ 22.3 ที่ระยะเวลา 4 วัน

คำสำคัญ : การบำบัดน้ำเสีย หม้อห้อม เชื้อจุลินทรีย์ผสม
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Wastewater Treatment of Mohom Textile Industry Using Consortia of Microorganism
Abstract :

This research had the objective to study the waste water treatment from the mohom textile

manufacturing industry by using microorganisms that could be separated from 1 2 bleached waste

water samples and mohom textile manufacturing dye-colored contaminated soil. In this case, 1 2

isolated microorganisms were obtained. Then, the microorganisms that were capable of removing the

colored waste water from the mohom textile manufacturing industry were selected from a test on the

capability of removing nutrient agar (NA), which contained the textile dyes. It was found that there

were six isolated microorganisms comprising S2 B, S3 E, S4 A, S4 E, S7 A, and S7 B that had the

capability to remove dyes in synthetic waste water with colored dye added. It was also found that

three isolated microorganism consisting of S2B, S3E, and S7B had a high ability to remove color. All

three microorganism isolates were rod-shaped bacteria with a gram-positive color. After studying the

16S rRNA gene sequencing, it was found that the S7A, S2B, and S3E isolates had the 16S rRNA

sequence that was 99.66% similar to Bacillus thruringiensis, 99.86% Bacillus cereus, and 99.59%

Bacillus cereus, respectively. The testing on the optimum condition for color removal in synthetic

waste water of the S7A microbial isolates was the condition with sucrose of 2.0 grams per liter, urea

fertilizer for 2.5 grams per liter, equal fertilizer for 1.0 gram per liter, the initial acid-based solution

was 10.0, and the initial germ was 10.0%. In this case, the capability of color removal was 76.32%,

and it was effective in reducing the fouling factor (FCOD) by 42.5% on Day 4 of the experiment.

Furthermore, it was effective in removing the color from the waste water from the mohom textile

manufacturing industry under suitable conditions of 4 1 .6% . It was also effective in reducing the

fouling value (FCOD) by 22.3% in four days.

Keyword : Wastewater treatment, mohom textile, consortia of microorganisms
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Green
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วุฒิกานต์ ปุระพรหม
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม
ผู้วิจัยหลัก
(2563)
50 ไม่ระบุ
2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิราภรณ์ ชื่นบาล
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
40 ไม่ระบุ
3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐปน ชื่นบาล
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
10 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2563
1/10/2562 ถึง 30/9/2563
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
350,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 350,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
วันที่ดำเนินการรายละเอียด
1 ตุลาคม 2564
ลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์ : การพัฒนาสาธารณะ
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023