การยกระดับสินค้าและบริการในธุรกิจร้านอาหารด้วยอณูศิลปวิทยาการ: กรณีศึกษาร้านอาหาร Medium Rare จ. เชียงใหม่

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-62-01-002.7
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2562
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การยกระดับสินค้าและบริการในธุรกิจร้านอาหารด้วยอณูศิลปวิทยาการ: กรณีศึกษาร้านอาหาร Medium Rare จ. เชียงใหม่
บทคัดย่อ :

โครงการวิจัยเรื่อง การยกระดับสินค้าและบริการในธุรกิจร้านอาหารด้วยอณูศิลป

วิทยาการ: กรณีศึกษาร้านอาหาร Medium Rare จ. เชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ1) พัฒนา

เครือข่ายความร่วมมือระหว่างนักวิทยาศาสตร์ นักพัฒนาการท่องเที่ยว ผู้เชี่ยวชาญด้านการปรุง

อาหารและนักออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อออกแบบนวัตกรรมอาหาร 2) พัฒนาต้นตำรับอาหารที่ดึง

คุณค่าของใบอ่อนข้าวได้มากที่สุด เพื่อให้ได้อาหารเชิงหน้าที่หรืออาหารเชิงสุขภาพโดยใช้

เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ในการประกอบอาหาร และ 3) ยกระดับสินค้าและบริการในธุรกิจ

ร้านอาหารในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่

ผลการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างนักวิทยาศาสตร์ นัก

พัฒนาการท่องเที่ยว ผู้เชี่ยวชาญด้านการปรุงอาหาร (Chef) และนักออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อ

ออกแบบนวัตกรรมอาหารสามารถสร้างเครือข่ายความร่วมมือและร่วมกันพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม

การปรุงประกอบอาหารขั้นพื้นฐาน Basic Cookery ซึ่งเป็นการบูรณาการองค์ความรู้และนวัตกรรม

เข้ากับศาสตร์การประกอบอาหาร เป็นฐานปฏิบัติการทางการศึกษาในการสร้างนวัตกรรมการแปร

รูปอาหารเพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้ภาคบริการ โดยการพัฒนารายการอาหารเชิงนวัตกรรมใน

งานวิจัยชิ้นนี้ ได้ใช้ใบอ่อนข้าว ผงใบข้าวหอม และน้ำคลอโรฟิลล์จากใบข้าวเพื่อเพิ่มความสามารถ

ในการต้านอนุมูลอิสระสำหรับกลุ่มผู้ป่ วย ผู้สูงอายุ และผู้บริโภคที่ต้องการเปิดประสบการณ์ในการ

รับประทานอาหารเชิงสร้างสรรค์ โดยทั้งสองกลุ่มมีผลการวิเคราะห์สารอาหารและความสามารถ

ในการต้านอนุมูลอิสระในระดับสูง ร้าน Medium Rare จึงสามารถนำเสนอเป็นตำรับอาหารต้าน

อนุมูลอิสระ อาหารต้านความชรา หรืออาหารส่งเสริมสุขภาพ ประกอบกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์

ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การจัดตกแต่งเป็นชุดอาหาร (Set Menu) และจัดเสิร์ฟให้เหมาะสม เป็น

สินค้าและบริการที่มีคุณภาพเพื่อส่งมอบให้กับผู้บริโภค กลุ่มตำรับอาหารทั้งสองกลุ่มจึงเหมาะแก่

การนำไปใช้ประชาสัมพันธ์ รวมถึงการสร้างมูลค่าให้กับร้านอาหาร Medium Rare ได้

คำสำคัญ : อณูศิลปวิทยาการอาหารอณูการปรุงประกอบอาหาร
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : To Promote Tourism Product and Service in Restaurant Business with Gastronomy: A Case Study of Medium Rare Restaurant Chiangmai
Abstract :

This research is aimed to 1) Promote tourism product and service in restaurant business

with gastronomy: A case study of Medium Rare restaurants, Chiang Mai. The research objectives

are; 1) to develop corporation networks between scientist, tourism developer, chef and packaging

designer to develop food innovation. 2) To develop menus that can extract nutrition from young

rice leaves, to create functional and healthy food using scientific tools in cooking process, and 3)

To enhance products and service level in the restaurant business in Chiang Mai area.

The result of research on the development of cooperation networks between scientist,

tourism developer, chef and packaging designer to design food innovation, is resulted in Basic

Cookery training course as an educational platform to create innovative agricultural product by

creating innovative recipe from young rice leaves, aroma rice powder and chlorophyll water from

rice leaves. This is in order to increase the antioxidant capacity in food recipes for the elderly,

patient and customers who want to understand new dining experience. The result of the research

shows that the recipes have high level of nutrient and antioxidant capacity. Medium Rare

restaurant can presented the recipes in set menu decoration with environmentally friendly

packaging design, as an antioxidant menu, anti-aging and health promoting food, and to create

value for restaurants as high quality product and service to deliver to consumers.

Keyword : Molecular gastronomy, Molecular colinary
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Green
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 อาจารย์ ดร.มนสิชา อินทจักร
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะพัฒนาการท่องเที่ยว
ผู้วิจัยหลัก
(2562)
20 ไม่ระบุ
2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุติมา คงจรูญ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
30 ไม่ระบุ
3 อาจารย์ ดร.วลัยลดา ถาวรมงคลกิจ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะพัฒนาการท่องเที่ยว
ผู้วิจัยร่วม
20 ไม่ระบุ
4 ฐาปกร อุปกุล
ประเภทบุคคล : บุคคลภายนอก
หน่วยงานต้นสังกัด : -
ผู้วิจัยร่วม
20 ไม่ระบุ
5 เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์
ประเภทบุคคล : บุคคลภายนอก
หน่วยงานต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ผู้วิจัยร่วม
10 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2562
1/10/2561 ถึง 30/9/2562
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
283,200.00
   รวมจำนวนเงิน : 283,200.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
31 ธันวาคม 2564
วารสารที่ตีพิมพ์ : วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ 
ฉบับที่ : 14 (2)
หน้า : 119-128
ระดับการนำเสนอ : ระดับชาติ
เจ้าของวารสาร : คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
0.6
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
วันที่ดำเนินการรายละเอียด
1 ตุลาคม 2564
ลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์ : การพัฒนาสาธารณะ
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023