การศึกษาผลของระดับกรดอะมิโนไลซีนและเมทไธโอนีนในอาหารต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต ลักษณะซาก และคุณภาพเนื้อของไก่กระดูกดำช่วงอายุ 0-12 สัปดาห์

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-60-014
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 30 กันยายน 2559 ถึง 1 ตุลาคม 2560
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การศึกษาผลของระดับกรดอะมิโนไลซีนและเมทไธโอนีนในอาหารต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต ลักษณะซาก และคุณภาพเนื้อของไก่กระดูกดำช่วงอายุ 0-12 สัปดาห์
บทคัดย่อ :

การศึกษาผลของระดับกรดอะมิโนไลซีนและเมทไธโอนีนในอาหารต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโต องค์ประกอบซาก และคุณภาพเนื้อในไก่กระดูกดำ โดยใช้อาหารพื้นฐานที่มีข้าวโพด-กากถั่วเหลือง คำนวณให้มีปริมาณกรดอะมิโนไลซีนและเมทไธโอนีนในอาหารทดลองที่ระดับ 80, 90, 100 และ 110% ของคำแนะนำสำหรับไก่กระทงโดย NRC (1994) ตามลำดับ แบ่งออกเป็น 3 การทดลอง ได้แก่ การทดลองที่ 1 ช่วงอายุ 0-4 สัปดาห์ อาหารมีโปรตีน 20% พลังงาน 3,000 kcal ME/kg การทดลองที่ 2 ช่วงอายุ 4-8 สัปดาห์ อาหารมีโปรตีน 17% พลังงาน 3,000 kcal ME/kg และการทดลองที่ 3 ช่วงอายุ 8-12 สัปดาห์ อาหารมีโปรตีน 15% พลังงาน 3,000 kcal ME/kg แต่ละการทดลองใช้ไก่จำนวน 240 ตัว วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอดสมบูรณ์ (Completely Randomized Design, CRD) 4 กลุ่มทดลอง ๆ ละ 4 ซ้ำ ๆ ละ 15 ตัว ผลการทดลอง ดังนี้ การทดลองที่ 1 ช่วงอายุ 0-4 สัปดาห์ พบว่า น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นและประสิทธิภาพการใช้อาหาร (FCR) ในแต่ละกลุ่มทดลองไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) อย่างไรก็ตาม ไก่กระดูกดำกลุ่มที่ 3 (ไลซีน : เมทไธโอนีน เท่ากับ 1.10% : 0.50%) มีแนวโน้มทำให้ค่าปริมาณอาหารที่กินเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มอื่น ส่วนของเนื้อหน้าอก น่อง และสะโพกของไก่กระดูกดำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามการเพิ่มระดับของกรดอะมิโนในอาหาร แต่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) การทดลองที่ 2 ช่วงอายุ 4-8 สัปดาห์ พบว่า ปริมาณอาหารที่กินและประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหาร (FCR) ในแต่ละแต่ละกลุ่มทดลองไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) อย่างไรก็ตาม ไก่กระดูกดำกลุ่มที่ 3 (ไลซีน : เมทไธโอนีน เท่ากับ 1.00% : 0.38%) มีแนวโน้มทำให้น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มอื่น ในส่วนของปีกและสะโพก มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามการเพิ่มระดับกรดอะมิโนในอาหาร แต่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) การทดลองที่ 3 ช่วงอายุ 8-12 สัปดาห์ พบว่า ปริมาณอาหารที่กินในแต่ละกลุ่มทดลองไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) แต่อย่างไรก็ตาม ไก่กระดูกดำกลุ่มที่ 4 (ไลซีน : เมทไธโอนีน เท่ากับ 1.10% : 0.42%) มีแนวโน้มทำให้น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นและประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารดีขึ้นกว่ากลุ่มอื่น ในส่วนของปีก น่อง และเนื้ออกนอกของไก่กระดูกดำกลุ่มที่ 3 (ไลซีน : เมทไธโอนีน เท่ากับ 1.00% : 0.38%) และกลุ่มที่ 4 (ไลซีน : เมทไธโอนีน เท่ากับ 1.10% : 0.45%) มีแนวโน้มที่จะมีค่ามากกว่ากลุ่มอื่น (P>0.05) อย่างไรก็ตาม การศึกษาคุณภาพเนื้อด้าน pH สีของเนื้อ พบว่า ไม่มีผลที่แน่นอนอันเนื่องมาจากระดับกรดอะมิโนในอาหาร

จากการศึกษาครั้งนี้ สามารถสรุปได้ว่า ระดับกรดอะมิโนไลซีนและเมทไธโอนีนในอาหารที่เหมาะสมสำหรับสมรรถภาพการเจริญเติบโต และองค์ประกอบซาก ของไก่กระดูกดำในช่วงอายุ 0-4, 4-8 และ 8-12 สัปดาห์ มีค่าเป็น 100%, 100% และ 110% ตามคำแนะนำสำหรับไก่กระทงโดย NRC (1994) หรือ มีปริมาณกรดอะมิโนไลซีน : เมทไธโอนีนเท่ากับ 1.10 : 0.50%, 1.00 : 0.38% และ 1.10 : 0.45% ตามลำดับ

คำสำคัญ : ไก่กระดูกดำ กรดอะมิโน ลักษณะซาก คุณภาพเนื้อ
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Studies on the effect of lysine and methionine levels on growth performance, carcass characteristics and meat quality of Black-boned chicken during 0-12 week of age
Abstract :

Effect of dietary lysine and methionine levels on growth performance, carcass composition and meat quality in Black-boned chicken was studied. The basal diets with corn - soybean meal was use by calculate the levels of amino acids lysine and methionine in experimental diets at levels 80, 90, 100 and 110% of recommendations for broiler chickens by NRC (1994), respectively. First experiment (0-4 week), the diet was CP 20%, energy 3,000 kcal ME/kg. The second experiment (4-8 weeks) CP content was 17%, energy 3,000 kcal ME/kg, and experiment 3 (8- 12 weeks) diet was contains 15% protein, 3,000 kcal ME/kg energy. Each experiment containing 240 chicks by using Completely Randomized design (CRD) 4 treatments, 4 replications with 15 chicks per each. The results showed that Experiment 1, ranged from 0-4 weeks of age, showed no significant difference in body weight and FCR in each treatment group (P> 0.05). Group 3 (Lysine : Methionine : 1.10% : 0.50%) have meat, breasts, thigh and legs of chickens tend to increase as the levels of amino acids in the diet increased. There were no statistically significant differences (P> 0.05). Experiment 2 was conducted at the age of 4-8 weeks of age. There was no significant difference in feed intake and FCR in each treatment group (P> 0.05). Group 3 (Lysine : Methionine : 1.00% : 0.38%) the body weight have a tendency to increase more than others. The wings and thighs showed a tendency to increase with increasing the level of amino acids in diets. However, there were no statistically significant differences (P> 0.05). In experiment 3 (8-12 weeks of age), there was no statistically significant difference (P> 0.05). Group 4 (Lysine : Methionine : 1.10% : 0.42%) was more likely to increase body weight and good feed conversion efficiency than that of the other, also Group 3 (Lysine : Methionine is 1.00% : 0.38%) and Group 4 (Lysine: Methionine is 1.10% : 0.45%), likely to be higher than others ( P> 0.05). However, in this study, can be concluded that levels of amino acids, lysine and methionine in diets suitable for growth performance and carcass composition for Black-boned chicken aged 0-4, 4-8, and 8-12 weeks were 100%, 100% and 110% as recommended by the NRC (1994) or the amino acid Lysine : Methionine is 1.10 : 0.50%, 1.00 : 0.38% and 1.10 : 0.45%, respectively.

Keyword : Black-boned chicken, amino acids, carcass characteristics, meat quality
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้วิจัยหลัก
(2560)
60 ไม่ระบุ
2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุฬากร ปานะถึก
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้วิจัยร่วม
20 ไม่ระบุ
3 รองศาสตราจารย์ ดร.สุกิจ ขันธปราบ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน
หน่วยงานต้นสังกัด :
ผู้วิจัยร่วม
20 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2560
1/10/2559 ถึง 30/9/2560
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินแม่โจ้
350,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 350,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
วันที่ดำเนินการรายละเอียด
1 พฤษภาคม 2564
ลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์ : การพัฒนาสาธารณะ
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023