การบำบัดน้ำทิ้งจากฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำด้วยพืชน้ำและสาหร่าย

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-53-060
รหัสอ้างอิง วช. : 2553A11102089
สถานะการดำเนินการ : กำลังดำเนินการ
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2552 ถึง 30 กันยายน 2554
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การบำบัดน้ำทิ้งจากฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำด้วยพืชน้ำและสาหร่าย
บทคัดย่อ :

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาถึงการใช้ระบบบึงประดิษฐ์ แบบน้ำไหลใต้ดินตามแนวดิ่ง (vertical subsurface flow constructed wetland) ในการบำบัดน้ำเสียจากบ่อเลี้ยงปลา โดยศึกษาถึงประสิทธิภาพในการบำบัดของบึงประดิษฐ์ด้วยพืชโผล่พ้นน้ำ 2 ชนิดคือ บอน (Colocasia esculenta (L.) Schott) ผักบุ้ง (Ipomoea aquatica Forsk) และสาหร่าย 1 ชนิดคือสาหร่าย Phormidium sp. ซึ่งได้จากการคัดแยกและคัดเลือกจากบ่อเพาะเลี้ยงปลานิล โดยการสร้างแบบจำลองระบบบึงประดิษฐ์จำนวน 4 บ่อ บ่อที่ 1 และ 2 ปลูกพืช 2 ชนิด บอนและผักบุ้ง ตามลำดับ บ่อที่ 3 เป็นสาหร่าย Phormidium sp. ในขณะที่บ่อที่ 4 เป็นระบบควบคุมไม่ปลูกพืชเลย ทำการตกตะกอนน้ำทิ้งจากบ่อปลาในถังตกตะกอนเป็นเวลา 24 ชั่วโมงก่อนเข้าระบบบึงประดิษฐ์ ระยะเวลาในการกักเก็บ 3 วัน ผลการทดลองพบว่า ระบบบึงประดิษฐ์ที่ปลูกต้นพืชและสาหร่ายจะมีประสิทธิภาพในการบำบัดได้ดีกว่าระบบที่ไม่ทีพืช โดยที่ระบบสาหร่ายและระบบต้นพืชแต่ละชนิดจะมีประสิทธิภาพในการลดปริมาณสารอินทรีย์ สารอาหาร ของแข็งแขวนลอย และ จุลินทรย์ที่ต่างกัน การตกตะกอนของน้ำทิ้งก่อนเข้าระบบจะทำให้ระบบมีประสิทธิภาพมากขึ้น 30 % ผลการทดลองสรุปได้ว่าพืชที่แตกต่างกันและสาหร่ายช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดในระบบบึงประดิษฐ์ได้แตกต่างกัน

คำสำคัญ : สาหร่าย ฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ น้ำทิ้ง พรรณไม้น้ำ
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Aquaculture Wastewater Treatment by Aquatic Plant and Algae
Abstract :

This study was conducted to use vertical subsurface flow constructed wetland treating wastewater from fish culture. The treatment efficiency of constructed wetland was study with 2 emergent plants, Colocasia esculenta (L.) Schott, Ipomoea aquatica Forsk and 1 floating algae, Phormidium sp., that were identified and selected from Nile Tilapia culture. The lab-scale constructed wetlands were built in 4 units. Two type of plants, cocoyam and swamp morning glory, were planted in unit 1 and unit 2, respectively. Phormidium sp. was planted in unit 3 while unplanted system was a control unit in unit 4. The untreated fish culture wastewater was passed through sedimentation tanks for 24 hours before pass through the constructed wetlands. Retention time (HRT) was 3 day. The results showed that the constructed wetlands with algae and plant systems gave better in the treatment efficiency than unplant system. Algae system and each plant system had difference removal efficiency in organic loading, nutrient, suspended solids and microorganism. Influent sedimentation was increase treatment efficiency 30%. The experiment results conclude that difference plant and algae gave difference increased treatment efficiency in construction wetland system.

Keyword : algae, aquaculture, waste water, aquatic plant
รูปแบบงานวิจัย : งานวิจัยเชิงคุณภาพ
ประเภทงานวิจัย : การวิจัยประยุกต์
สาขางานวิจัย : สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : กิจกรรมด้านการวิจัย
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิราภรณ์ ชื่นบาล
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยหลัก
(2553)
40 นักวิจัยรุ่นเก่า
2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐปน ชื่นบาล
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
35 ไม่ระบุ
3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรีกาญจนา คล้ายเรือง
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
25 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2553
1/6/2553 ถึง 31/5/2554
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
100,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 100,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
วันที่ดำเนินการรายละเอียด
1 ตุลาคม 2564
ลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์ : การพัฒนาสาธารณะ
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023