การศึกษาภาวะการมีงานทำและผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา สาขาการจัดการ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.2-67-052
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การศึกษาภาวะการมีงานทำและผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา สาขาการจัดการ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ :

บัณฑิตที่ตอบแบบสอบถามภาวะการมีงานทำส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง โดยมีภูมิลำเนาอยู่ใน ภูมิภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ คะแนนเฉลี่ยตลอดหลักสูตร (GPA) ของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา อยู่ในช่วงระหว่าง 2.51 – 3.50 หลังจบการศึกษาส่วนใหญ่มีงานทำเป็นพนักงานบริษัท/เอกชน ตำแหน่งพนักงานการเงิน/บัญชี รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่ำกว่า 15,000 บาท ทราบแหล่งข่าวการรับสมัครงานจากเว็บไซต์ประกาศรับสมัครงานทั่วไป ส่วนใหญ่ได้งานทำภายใน 1 - 3 เดือน และได้นำความรู้จากสาขาวิชาที่เรียนมาประยุกต์ใช้กับการทำงานในระดับปานกลาง บัณฑิตที่ยังไม่ว่างงาน/ ยังไม่มีงานทำ ส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่าตนเองยังไม่ประสงค์ทำงานและมีความต้องการศึกษาในระดับปริญญาโท ซึ่งเป็นความต้องการของตนเอง ทั้งนี้บัณฑิตส่วนใหญ่ไม่มีปัญหา/ อุปสรรคในการศึกษาต่อ ส่วนบัณฑิตที่มีปัญหา/ อุปสรรคในการศึกษาต่อ คือ เรื่องขาดแคลนเงินทุน

ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตร นักศึกษาส่วนใหญ่ คิดเห็นว่าได้รับการพัฒนาคุณลักษณะในระดับมากที่สุด จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ รองลงมาคือ ด้านการพัฒนาศักยภาพธุรกิจ, ด้านทักษะทางปัญญาและ ด้านคุณธรรมและจริยธรรม สำหรับการพัฒนาคุณลักษณะในระดับมาก มีจำนวน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้และด้านทักษะวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ตามลำดับ ระดับผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้ที่คาดหวังในหลักสูตร (PLOs) ที่อยู่ ในระดับ มากที่สุด ได้แก่ PLO 3: บัณฑิตสามารถประยุกต์ความรู้ทางด้านบริหารธุรกิจเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ปัญหา และทางเลือกในการตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างถูกต้อง, PLO 4: บัณฑิตมีภาวะ ความเป็นผู้นำ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และมีความรับผิดชอบต่อการดำเนินงานอย่างเป็นมืออาชีพ และ PLO 6: บัณฑิตสามารถนำเสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพด้านการบริหารธุรกิจอย่าง สร้างสรรค์ นักศึกษาส่วนใหญ่ให้ความสำคัญของปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในหลักสูตรใน ระดับมากที่สุดทุกปัจจัย โดยปัจจัยที่มีระดับมากที่สุดคือ ด้านอาจารย์ รองลงมาคือ ด้านการจัดการเรียนการสอน, ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก/สื่อ/อุปกรณ์การเรียนการสอนและด้านหลักสูตร ตามลำดับ และยังเห็นว่า คุณภาพหลักสูตรที่ได้เรียนมาเป็นไปตามความคาดหวังของนักศึกษา และได้ให้ข้อเสนอแนะว่าหลักสูตรควรเพิ่มรายวิชาหรือความรู้เรื่องใดที่จำเป็นต่อการทำงานของนักศึกษา ในอนาคตในด้านการใช้งานคอมพิวเตอร์ มากที่สุด

คำสำคัญ : ภาวะการมีงานทำ , ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา , หลักสูตร , บริหารธุรกิจ , การจัดการ
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title :
Abstract :
Keyword :
รูปแบบงานวิจัย : งานวิจัยเชิงคุณภาพ
ประเภทงานวิจัย : การวิจัยพื้นฐาน
สาขางานวิจัย : สาขาการศึกษา
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : กิจกรรมวิชาการ
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 อาจารย์อัมรินทร์ คีรีแก้ว
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะบริหารธุรกิจ
ผู้วิจัยหลัก
(2567)
20 ไม่ระบุ
2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธิดารัตน์ ชลประเสริฐสุข
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะบริหารธุรกิจ
ผู้วิจัยร่วม
20 ไม่ระบุ
3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปกรณ์ อุดมธนะสารสกุล
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะบริหารธุรกิจ
ผู้วิจัยร่วม
20 ไม่ระบุ
4 อาจารย์ ดร.พนมพร เฉลิมวรรณ์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะบริหารธุรกิจ
ผู้วิจัยร่วม
20 ไม่ระบุ
5 อาจารย์ณัฏฐ์ณิชชา ขยาย
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะบริหารธุรกิจ
ผู้วิจัยร่วม
20 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2567
1/10/2566 ถึง 30/9/2567
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในหน่วยงาน
งบประมาณส่วนงาน
10,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 10,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023