ผลกระทบของการรายงานความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) และการควบคุมโดยครอบครัวต่อคุณภาพกำไร: หลักฐานจากประเทศไทย

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.2-67-011
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : ผลกระทบของการรายงานความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) และการควบคุมโดยครอบครัวต่อคุณภาพกำไร: หลักฐานจากประเทศไทย
บทคัดย่อ :

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการควบคุมโดยครอบครัวและคุณภาพกำไรของบริษัท และศึกษาผลกระทบของการรายงานข้อมูลความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและบรรษัทภิบาล (ESG) ที่มีต่อความสัมพันธ์นี้ ทดสอบบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระหว่างปี 2562-2566 ประมาณค่าตัวแปรคุณภาพกำไรจากรายการคงค้างรวมที่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้บริหาร ทดสอบสมมุติฐานการวิจัยโดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และวิธีการวิเคราะห์การถดถอยกำลังสองน้อยที่สุดชนิดสองขั้นตอน (2SLS) ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัยพบว่า บริษัทที่มีระดับการควบคุมโดยครอบครัวที่สูงกว่าจะมีคุณภาพกำไรที่ต่ำกว่า ผลการศึกษาถึงตัวแปรกำกับการรายงานข้อมูล ESG พบว่าระดับการรายงานข้อมูล ESG ที่สูงขึ้น ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างการควบคุมโดยครอบครัวและคุณภาพกำไรในเชิงบวก ผลการศึกษายืนยันแนวคิดของทฤษฎีตัวแทนที่ว่า บริษัทที่มีระดับการควบคุมโดยครอบครัวที่สูงกว่าจะมีต้นทุนตัวแทนที่สูงกว่าส่งผลให้คุณภาพกำไรของบริษัทลดลง ผลการศึกษาเชิงประจักษ์จากงานวิจัยนี้ ให้แนวทางกับคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสภาวิชาชีพบัญชี ในการพัฒนาหลักเกณฑ์และแนวทางในการรายงานข้อมูลความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและบรรษัทภิบาล

คำสำคัญ : คุณภาพกำไร , บริษัทครอบครัว , การกำกับดูแลกิจการ , การจัดการกำไร
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : The Impact of Environmental, Social and Governance (ESG) Reporting and Family Control on Earnings Quality: Evidence from Thailand
Abstract :

This study aims to examine the relationship between family control and earnings quality, while simultaneously investigating the moderating effect of environmental, social and governance (ESG) reporting on this relationship. The sample comprises companies listed on the Stock Exchange of Thailand during 2019 to 2023. The measure of degree of earnings quality is proxies by accrual-based earnings management. The multiple regression analysis and two-stage least-squares (2SLS) regression was utilized. The result from hypothesis testing found that family control firms would demonstrate lower earnings quality. In addition, it was found that an increase in degree of ESG Reporting significantly moderates the relationship between family control and earnings quality in a positively manner. This result supports the agency theory which explains that highly family-controlled lead to higher agency costs which would consequently lead to reduced earnings quality. Furthermore, this empirical study provides the Securities and Exchange Commission and the Federation of Accounting Professions with important information to consider when developing regulations and guideline for the environmental, social and governance (ESG) reporting for firms.

Keyword : Earnings Quality, Family-Owned Business, Corporate Governance, Earnings Management
รูปแบบงานวิจัย : งานวิจัยเชิงปริมาณ
ประเภทงานวิจัย : การวิจัยพื้นฐาน
สาขางานวิจัย : สาขาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัชนียา บังเมฆ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะบริหารธุรกิจ
ผู้วิจัยหลัก
(2567)
100 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2567
1/10/2566 ถึง 30/9/2567
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในหน่วยงาน
งบประมาณส่วนงาน
20,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 20,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023