คุณลักษณะผู้นำท้องถิ่นที่พึงประสงค์ของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : ชพ.64-นศ.-006
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : คุณลักษณะผู้นำท้องถิ่นที่พึงประสงค์ของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร
บทคัดย่อ :

วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาระดับความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อคุณลักษณะผู้นำท้องถิ่นที่พึงประสงค์ 2) เปรียบเทียบความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อคุณลักษณะผู้นำท้องถิ่นที่พึงประสงค์ และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะของประชาชนที่มีต่อคุณลักษณะผู้นำท้องถิ่นที่พึงประสงค์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่อาศัยในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลละแม จำนวน 360 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าเฉลี่ยสถิติด้วย (T-test) แบบความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) โดยกำหนดในความสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง โดยมีอายุ 61 ปีขึ้นไป มีสถานภาพสมรส ส่วนใหญ่มีระดับการศึกษามากที่สุดอยู่ในระดับประถมศึกษา ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขายเป็นจำนวนมากที่สุด และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 10,001–15,000 บาท ผลการศึกษา พบว่า ความคาดหวังของประชาชน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (คิดเป็นค่าเฉลี่ย (X=4.43) โดยเรียงลำดับจากค่ามากไปค่าน้อย คือ ด้านมนุษย์สัมพันธ์ รองลงมา ด้านจริยธรรม ด้านการบริหาร ด้านความรู้ความสามารถและด้านบุคลิกภาพ ตามลำดับ จากการเปรียบเทียบเป็นรายบุคคลได้แก่ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในส่วนของ เพศ อายุ สถานภาพ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง

สถิติที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะประชาชนส่วนใหญ่ยังมีความคาดหวังในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับประชาชน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยเสริมสร้างความเป็นผู้นำให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

คำสำคัญ : คุณลักษณะ , ผู้นำท้องถิ่น , ความคาดหวัง
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Desirable characteristics of local leaders of the community in Lamae Sub- District Municipality, Chumphon Province
Abstract :

This research aimed to ( 1) study and ( 2) compare population’ s expectation toward desirable characteristics of local leaders, and (3) investigate the recommendations of local people. This quantitative research collected data from 360 people who live in Lamae Municipality, Chumphon Province. Questionnaires and research statistics, such as frequency distribution, percentage, mean, and standard deviation were used as analytical tools. Statistical mean was discovered by (T-test) with One-way ANOVA in statistically significant at 0.05. Most participants are female with are over 61 years old and have marital status The educational levels of participants are mostly elementary which their occupation is vendor and the highest average monthly income is 10,001- 15,000 The results of the study show that the overall people's expectations toward local leadership characteristics are at the highest level (??=4.43), which can be respectively classified as human relations, morality, ethics, knowledge management, and personality. According to an individual

comparison in education, occupation, and monthly income, the study finds that there is a statistically

significant difference at .05. In terms of sex, age, and status, there is no statistically significant difference at .05. In the part of recommendations, most of people suggested that the leaders should have an interpersonal relation in order to build the confidence to the people in communities, which will strengthen the leadership to those leaders.

Keyword : local leader, characteristic, expectation
รูปแบบงานวิจัย : งานวิจัยเชิงปริมาณ
ประเภทงานวิจัย : การวิจัยพื้นฐาน
สาขางานวิจัย : สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ศศิพร ปานทิพย์
ประเภทบุคคล : นักศึกษา
หน่วยงานต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร รัฐศาสตร์
ผู้วิจัยหลัก
(2564)
40 ไม่ระบุ
2 อาจารย์ ดร.เชษฐ์ ใจเพชร
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร
ผู้วิจัยร่วม
30 นักวิจัยรุ่นเก่า
3 สุรีพร อ่อนจันทร์อม
ประเภทบุคคล : นักศึกษา
หน่วยงานต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร รัฐศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
20 ไม่ระบุ
4 เกศกมล โนวัฒน์
ประเภทบุคคล : นักศึกษา
หน่วยงานต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร รัฐศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
10 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2564
1/1/2564 ถึง 30/9/2564
ประเภทแหล่งทุน : ทุนส่วนตัว ส่วนตัวของผู้วิจัย
0.00
   รวมจำนวนเงิน : 0.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
8 กรกฎาคม 2564
วารสารที่ตีพิมพ์ : บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ
ฉบับที่ : -
หน้า : 1925-1932
ระดับการนำเสนอ : ระดับชาติ
เจ้าของวารสาร :
0.2
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023