ผลของการใช้เปลือกปูม้าป่นต่อการเจริญเติบโตของไมโครกรีน

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : ชพ.64-นศ.-001
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 มิถุนายน 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2564
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : ผลของการใช้เปลือกปูม้าป่นต่อการเจริญเติบโตของไมโครกรีน
บทคัดย่อ :

ศึกษาผลของการใช้เปลือกปูป่นในอัตราที่ต่างกัน ต่อการเจริญเติบโต ผลผลิตด้านความสูง น้ำหนักสด น้ำหนักแห้ง และปริมาณโคโรฟิลล์ ของไมโครกรีน 3 ชนิด ได้แก่ ไควาแระ ทานตะวัน และผักโขมแดง โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design ; CRD) แบ่งเป็น 4 กรรมวิธี ดังนี้ กรรมวิธีที่ 1 ไม่ใส่เปลือกปูป่นผสมในดินปลูก 1 กิโลกรัม กรรมวิธีที่ 2 ใส่เปลือกปูป่น 0.5 ขีด ผสมในกินปลูก 1 กิโลกรัม กรรมวิธีที่ 3 ใส่เปลือกปูป่น 1 ขีด ผสมในกินปลูก 1 กิโลกรัม และกรรมวิธีที่ 4 ใส่เปลือกปูป่น 2 ขีด ผสมในดินปลูก 1 กิโลกรัม พบว่าความเป็นกรดด่าง (pH) และการเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าในของเหลว (EC) ของไควาแระ ทานตะวัน และผักโขมแดง กรรมวิธีที่ใส่เปลือกปูป่นที่อัตรา 0.5 ขีด มีค่า pH ที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากต้นอ่อนจะเจริญเติบโตได้ดี อยู่ในช่วง pH ระหว่าง 7.66-8.66 และกรรมวิธีที่ใส่เปลือกปูป่น 0.5 ขีด ต่อดินปลูก 1 กิโลกรัม มีค่า EC ที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากต้นอ่อนจะเจริญเติบโตได้ดี อยู่ในช่วงค่า EC ระหว่าง 93.33-499.20 uS/cm ต้นอ่อนไควาแระ ในกรรมวิธีที่ไม่ผสมเปลือกปูป่น ให้ค่าเฉลี่ยในด้านการเจริญเติบโตความสูงของต้น น้ำหนักสด น้ำหนักแห้ง และปริมาณคลอโรฟิลล์ แตกต่างกันสถิติกับกรรมวิธีอัตรา 2 ขีด ผสมในดินปลูก 1 กิโลกรัม ที่ให้ค่าเฉลี่ยความสูง และปริมาณคลอโรฟิลล์ มากที่สุด ส่วนกรรมวิธีที่อัตรา 0.5 และ 1 ขีด ให้ค่าเฉลี่ยด้านน้ำหนักสด และน้ำหนักแห้ง มากที่สุด ไม่แตกต่างกันทางสถิติ ต้นอ่อนทานตะวัน กรรมวิธีที่ไม่ผสมเปลือกปูป่น ให้ค่าเฉลี่ยด้านการเจริญเติบโตความสูงของต้น ไม่แตกต่างกันทางสถิติกับกรรมวิธีที่ผสมเปลือกปูป่น อัตรา 0.5, 1 และ 2 ขีด ต่อ 1 กิโลกรัม กรรมวิธีที่ผสมเปลือกปูป่นอัตรา 1 ขีด ต่อดิน 1 กิโลกรัม ให้ค่าเฉลี่ยด้านน้ำหนักสด และปริมาณค่าคลอโรฟิลล์มากที่สุด ส่วนกรรมวิธีที่ไม่ผสมเปลือกปูม้าแตกต่างกันทางสถิติกับกรรมวิธีที่อัตรา 0.5, 1 และ 2 ขีด ต่อดินปลูก 1 กิโลกรัม ไม่แตกต่างกันทางสถิติ ต้นอ่อนผักโขมแดง ในกรรมวิธีที่ไม่ผสมเปลือกปูม้าป่นให้ค่าเฉลี่ยด้านการเจริญเติบโตความสูงของต้น น้ำหนักสด และน้ำหนักแห้ง ไม่แตกต่างกันทางสถิติกับกรรมวิธีที่อัตรา 0.5, 1 และ 2 ขีด ต่อดินปลูก 1 กิโลกรัม

คำสำคัญ : ไมโครกรีน เปลือกปูม้า การส่งเสริมการเจริญเติบโต
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Effect of Blue Crab Shell on MicroGreen Yield
Abstract :
Keyword :
รูปแบบงานวิจัย : งานวิจัยเชิงคุณภาพ
ประเภทงานวิจัย : การวิจัยพื้นฐาน
สาขางานวิจัย : สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : กิจกรรมด้านการวิจัย
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 กนกกานต์ แสนคำ
ประเภทบุคคล : บุคคลภายนอก
หน่วยงานต้นสังกัด : สาขาการผลิตพืช คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ผู้วิจัยหลัก
(2564)
30 ไม่ระบุ
2 นิตระวี รอดน้อย
ประเภทบุคคล : บุคคลภายนอก
หน่วยงานต้นสังกัด : สาขาการผลิตพืช คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ผู้วิจัยหลัก
(2564)
30 ไม่ระบุ
3 อาจารย์ ดร.พรพิมล พิมลรัตน์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร
ผู้วิจัยร่วม
20 นักวิจัยรุ่นเก่า
4 พิมพรรณ พิมลรัตน์
ประเภทบุคคล : บุคคลภายนอก
หน่วยงานต้นสังกัด : สาขาการผลิตพืช คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ผู้วิจัยร่วม
20 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2564
1/6/2564 ถึง 31/12/2564
ประเภทแหล่งทุน : ทุนส่วนตัว ส่วนตัวของผู้วิจัย
0.00
   รวมจำนวนเงิน : 0.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
25 มกราคม 2565
วารสารที่ตีพิมพ์ : แก่นเกษตร 
ฉบับที่ : -
หน้า : 556-561
ระดับการนำเสนอ : ระดับชาติ
เจ้าของวารสาร : คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
0.8
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023