การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตรชุมชนเกษตรตำบลห้วยทราย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : -- ไม่ระบุ --
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 16 ตุลาคม 2563 ถึง 29 ธันวาคม 2564
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตรชุมชนเกษตรตำบลห้วยทราย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
บทคัดย่อ :

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาศักยภาพของชุมชนเกษตรตาบลห้วยทรายเพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตร 2)ศึกษาระดับความพึงพอใจด้านศักยภาพของชุมชนเกษตรตาบลห้วยทรายเพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและ 3) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาศักยภาพภาคการเกษตรของชุมชนตาบลห้วยทรายเพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืน การศึกษาครั้งนี้ได้ดาเนินการวิจัยแบบผสมผสาน ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ซึ่งงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้ศึกษาศักยภาพของชุมชนเกษตรกร ศึกษาข้อมูลจากภาคเอกสาร ลงสารวจพื้นที่กรณีศึกษาด้วยวิธีการวิเคราะห์ SWOT และการวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจด้านศักยภาพของชุมชนเกษตรตาบลห้วยทรายเพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยใช้กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คือ กลุ่มตัวอย่างนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ จานวน 120 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือสถิติพรรณนา โดยการวิเคราะห์ด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อบรรยายข้อมูลเชิงพรรณนา

ผลการศึกษาพบว่า ศักยภาพของชุมชนเกษตรตาบลห้วยทรายเพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตร มีจุดแข็งและโอกาส พบว่า พื้นที่ตั้งมีสภาพอากาศที่ดี มีความสวยงามของวิวธรรมชาติ และมีความเป็นส่วนตัวความเงียบสงบ กลุ่มท่องเที่ยวเชิงเกษตรมีสมาชิกที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการผลิต การตลาด มีหน่วยงานและสถาบันการศึกษาเข้ามาช่วยสนับสนุนในด้านการจัดการ มีการจัดการขั้นตอนในการผลิตสินค้าเกษตรที่ครบวงจร เน้นการทาเกษตรอินทรีย์โดยไม่มีการใช้สารเคมีในทุกขั้นตอนการผลิต ส่วนจุดอ่อนและอุปสรรค พบว่า พื้นที่ยังมีเส้นทางในการเดินทางค่อนข้างซับซ้อน ไม่มีป้ายบอกทางหรือพิกัดที่ชัดเจน อีกทั้งการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนยังมีน้อย ยังขาดความรู้ในด้านการจัดการวางแผนกิจกรรม ด้านการจัดการด้านความปลอดภัยกรณีเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน ตลอดจนขาดการประชาสัมพันธ์ทางด้านการตลาด และสภาพอากาศส่งผลต่อฤดูกาลท่องเที่ยว

ผลการศึกษาระดับความพึงพอใจด้านศักยภาพของชุมชนเกษตรห้วยทรายเพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตร พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อวิเคราะห์รายมิติ นอกจากนี้ผลการศึกษารายมิติ พบว่า ด้านศักยภาพการให้บริการของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านศักยภาพการรองรับของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอยู่ในระดับมาก ด้านศักยภาพการบริหารจัดการของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอยู่ในระดับปานกลาง ด้านศักยภาพการดึงดูดใจของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอยู่ในระดับน้อย และด้านศักยภาพการจัดการตลาดของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอยู่ในระดับน้อยที่สุด

ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพภาคการเกษตรของชุมชนตาบลห้วยทรายเพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืน ควรเริ่มจากการพัฒนาด้านการตลาด เป็นลาดับแรก แล้วจึงนาข้อมูลไปสู่การประชาสัมพันธ์กิจกรรมหรือประเด็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรของชุมชนซึ่งมีเอกลักษณ์ หรืออัตลักษณ์ที่น่าดึงดูดใจมากน้อยเพียงใด จากนั้นจัดทากิจกรรมเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว เพิ่มศักยภาพการให้บริการ ในระดับของการสร้างความประทับใจในแหล่งท่องเที่ยวและการบริการ โดยเฉพาะจุดเด่นที่สาคัญของแหล่งท่องเที่ยว อาหาร การบริการห้องพัก เป็นต้น จนลูกค้ารู้สึกถึง ความประทับใจและอยากหวนกลับมาอีกครั้ง

คำสำคัญ : การพัฒนา , ชุมชนเกษตร , ศักยภาพ , การท่องเที่ยวเชิงเกษตร
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Developing the Potential of Agricultural Community in Huay Sai Sub-District Maerim District Chiang Mai Province
Abstract :

This research aims to study on 1) the potential of the Huay Sai Sub-district agricultural community for agrotourism 2) to understand the satisfaction level of the potential of Huay Sai Sub-district agricultural community for agrotourism and 3) tourism find ways to develop the potential of the agricultural sector of the Huay Sai Sub-district community for sustainable agrotourism. This study was conducted in a combination of research both qualitative and quantitative research. The qualitative research used to study the potential of the farmers in the community. The documentary also for study all information needed. The SWOT analysis technique also used for understanding the area condition. The quantitative research used to study the satisfaction level of the potential in the Huay Sai Sub-district Agricultural Community for agrotourism. 120 undergraduate students from Chiang Mai Rajabhat University are the specific sample of this study by using questionnaires for data collection. The statistics used for data analysis were descriptive statistics, frequency, percentage, mean, and standard deviation. The study found that there are strengths and opportunities in the potential of the Huay Sai Sub-district Agricultural Community for agrotourism. In Huay Sai has good weather with the beauty of nature views, having privacy, quietness, the agro-tourism group has members with expertise in production, marketing, agencies and educational institutes to support management. There is a comprehensive management of the production process of agricultural products, to focus on organic farming without the use of chemicals in every production process. As for the weaknesses and obstacles, it was found that the route to travel is quite complicated. There are no clear signs or coordinates. In addition, the lack of participation of the people in the community, people lacking knowledge in event planning management, safety management in case of emergency as well as the lack of public relations in marketing, and also the weather affects the tourist season. The results of the study on the satisfaction level of the Huay Sai Agricultural Community for agrotourism were found that the overall picture was at the medium level by studying in the dimension. In addition, the dimension of the study found that the service potential of agrotourism sites was at the highest level, followed by the capacity of agrotourism attractions at the high level. The management potential of agrotourism sites was at a moderate level. The attractiveness of agrotourism attractions was at a low level and the market management potential of agrotourism sites was at the lowest level. The results of the study on the development of agricultural potential of the Huay Sai Sub-district community for sustainable agrotourism found that should start with marketing development first and then bring information to public relations activities or issues of unique community agrotourism sites. Then, organize activities to increase the capacity of tourism attractions and increase service potential by creating an impression of attractions and services, especially the important highlights of tourist attractions, food, service, rooms, etc., until customers feel impression and want to come back again.

Keyword : Development, Agricultural Community, Potential, Agro-Tourism
รูปแบบงานวิจัย : งานวิจัยเชิงคุณภาพ
ประเภทงานวิจัย : การวิจัยประยุกต์
สาขางานวิจัย : สาขาสังคมวิทยา
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : กิจกรรมบริการสังคม และชุมชน
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 อาจารย์ ดร.ขัตติยา กลัญทกะปกรณ์
ประเภทบุคคล : บุคคลภายนอก
หน่วยงานต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ผู้วิจัยหลัก
(2020)
40 นักวิจัยรุ่นเก่า
2 อาจารย์ ดร.วินิตรา ลีละพัฒนา
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : วิทยาลัยนานาชาติ
ผู้วิจัยร่วม
(2020)
30 นักวิจัยรุ่นเก่า
3 อาจารย์ ดร.สุธีรา สิทธิกุล
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : วิทยาลัยนานาชาติ
ผู้วิจัยร่วม
(2020)
30 นักวิจัยรุ่นเก่า
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2564
16/10/2563 ถึง 29/12/2563
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายนอกสถาบัน งานวิจัยระดับชาติ
0.00
   รวมจำนวนเงิน : 0.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023