ประเทศไทยเป็นประเทศอุตสาหกรรมการเกษตร ถือเป็นเส้นเลือดใหญ่ของอุตสาหกรรมห่วงโซ่
อาหารที่สาคัญของโลก ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้า
เป็นอุตสาหกรรมที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและเป็นแหล่งอาหารที่มีขนาดใหญ่ และส่วนใหญ่มีแหล่งการ
ผลิตอยู่ในทวีปเอเชีย ประเทศไทยประสบความสาเร็จในด้านการพัฒนาการประมงจนสามารถติดอันดับหนึ่งใน
สิบของโลกที่มีผลผลิตสูง และยังติดอันดับต้นๆ ของผู้ส่งออกสินค้าประมงมาตั้งแต่ปี 2535[1] แต่การผลิตภาค
เกษตรของประเทศมีการหดตัวร้อยละ 1.5 ปรับตัวดีขึ้นจากที่หดตัวร้อยละ 2.1 ในไตรมาสที่ 4/2558 ปัจจัย
สาคัญที่ทาให้การผลิตภาคการเกษตรของประเทศดีขึ้นมาจากสาขาประมงที่ขยายตัวได้ร้อยละ 9.1 (ไตรมาสที่
1/2559) มีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 0.9 (QoQ SA) [2] ซึ่งเป็นการพัฒนาตามแนวคิด “การ
พัฒนากระแสหลัก” (mainstream development) ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อการตลาดและการ
ส่งออก (market & export-oriented economy) ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรและความยั่งยืนของ
สิ่งแวดล้อม